สรรพากรเปิดวิธีคำนวณภาษีนำเข้าวัคซีนโควิด-19 ทางเลือก


โดย PPTV Online

เผยแพร่




วิธีคำนวณภาษีนำเข้าวัคซีนโควิดทางเลือก สรรพากร ยืนยันเสียภาษี 2 เด้ง 14% ไม่เป็นความจริง

ตามที่มีสื่อมวลชนรายงานข่าวกรณีการนำเข้าวัคซีนทางเลือกเข้ามาใช้ในประเทศ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มรวม ๒ ครั้ง 14% ส่งผลให้วัคซีนมีต้นทุนที่สูงขึ้น นั้น 

ด่วน!! ศบค.สยบข่าวลือ แชร์ว่อนโซเชียล เตือนอย่าเชื่อ อย่าแชร์

อย.ไทยประกาศขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 ของโมเดอร์นา

นางสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกิจพลังงาน) ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร ชี้แจงว่า มีความคลาดเคลื่อนที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดกับสาธารณชน เนื่องจากในการคำนวณตามระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT คือ ภาษีขายหักภาษีซื้อ พร้อมยกตัวอย่างวิธีคำนวณ

 

เช่น ผู้นำเข้าวัคซีนได้นำเข้าวัคซีนมาในราคา 100 บาท มีภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT จากการนำเข้า 7%  คิดเป็นภาษีซื้อ 7 บาท (ซึ่งภาษีซื้อนี้ผู้นำเข้าสามารถนำมาขอคืนได้หรือเอาไปหักออกจากภาษีขายได้) และเมื่อผู้นำเข้าขายวัคซีนออกไปในราคา 100 บาท เช่นกัน (กรณีไม่มีการชาร์ต  10% ตามที่เป็นข่าว) ก็จะเสียภาษีขาย 7% คืน 7 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณได้ คือ ภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ ( 7 บาท –  7 บาท) =  0 บาท  ดังนั้น ที่รายงานข่าวว่าเสียภาษีซื้อ  7 บาท บวกภาษีขายอีก 7 บาท รวมเป็น 17 บาท จึงไม่ถูกต้องแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นายแพทย์วิฑูรย์  ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม เปิดเผยผ่านการแถลงข่าวผ่านระบบ Microsoft Teams เมื่อวันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่านมา ถึงการดำเนินการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ให้โรงพยาบาลเอกชนนั้น ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการรวบรวมความต้องการวัคซีน จากโรงพยาบาลเอกชนต่าง ๆ เท่านั้น เพื่อที่ทางองค์การเภสัชกรรมจะได้ยืนยันคำสั่งซื้อแจ้งจำนวนความต้องการไปยังบริษัทผู้นำเข้าและเป็นผู้ได้รับอนุญาตทะเบียนยา ในขณะนี้ยังไม่ได้มีการคิดเรื่องต้นทุนและราคาที่จะขาย

โดยองค์การฯ เป็นเพียงหน่วยงานอำนวยความสะดวกในการซื้อวัคซีนให้แก่โรงพยาบาลเอกชน ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่าง ๆ เช่น ค่าจัดเก็บ ค่าจัดส่ง ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ ประมาณ  3% - 5% และรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม  7%

ด้าน ศ.ดร.นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน กล่าวเสริมว่า ต้นทุนวัคซีนที่จะนำเข้ามาแต่ละตัวจะไม่เท่ากัน โดยขณะนี้ยังไม่ทราบว่าจะเป็นตัวไหน จึงยังไม่สามารถระบุราคาแพคเกจได้ เพราะการคิดค่าบริการจากต้นทุนวัคซีน ค่าบริการ ค่าสังเกตอาการหลังการฉีด และค่าประกัน คือตัวแปรสำคัญ คือ ต้นทุนวัคซีนที่จะนำเข้าแต่ละตัว

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ