ฉีดวัคซีนหญิงตั้งครรภ์ กรมอนามัยแนะควรฉีดหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรมอนามัย แนะหญิงตั้งครรภ์ควรฉีดวัคซีน หลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ลดอาการเจ็บป่วยรุนแรง-ลดโอกาสคลอดก่อนกำหนด ที่อาจเกิดผลแทรกซ้อนในระยะยาวต่อเด็ก

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยขณะนี้มีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในเขตกทม.-ปริมณฑล พบการติดเชื้อในกลุ่มแรงงาน ชุมชนแออัด และในครอบครัว และข้อมูลการสำรวจของกรมอนามัย วันที่ 28 มิถุนายน 64 พบหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อ 519 ราย  ส่วนใหญ่มีอาการเล็กน้อยหรือไม่มีอาการ แต่พบว่ามีหญิงตั้งครรภ์เสียชีวิตแล้ว 8 ราย ส่วนใหญ่หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อมาจากสถานที่ทำงานและจากบุคคลในครอบครัว พบทารกเสียชีวิต 4 ราย ทารกติดเชื้อ 36 ราย

“หมอธีระวัฒน์” ชี้ ฉีดวัคซีน 2 โดสอาจไม่พอ เมื่อต้องเผชิญโควิดกลายพันธุ์

"ไฟเซอร์" เริ่มการทดลองฉีดวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์

บราซิลขอประชาชนอย่าเพิ่ง “ตั้งท้อง” ชี้สถานการณ์โควิด-19 ยังวิกฤต

 

 

จากการศึกษาทบทวนข้อมูลการศึกษาของหลายประเทศทั่วโลกพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ติดโรคโควิด-19 มีความเสี่ยงที่โรคจะรุนแรงกว่าคนทั่วไป องค์การต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นองค์การอนามัยโลก (WHO) ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC) รวมทั้งราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ทุกรายควรได้รับวัคซีนเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป เพราะถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรง  เมื่อติดเชื้อทั้งแม่และเด็กในครรภ์ โดยให้รับวัคซีนในช่วงหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์เป็นต้นไป เพื่อลดความกังวล ต่อการเกิดความพิการของทารก และเนื่องด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดอย่างมากในขณะนี้ การได้รับวัคซีนถือว่ามีประโยชน์มากกว่าเมื่อเทียบกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากวัคซีน โดยหญิงตั้งครรภ์ที่ฉีดวัคซีนสามารถลดการเจ็บป่วย ลดโอกาสคลอดก่อนกำหนดซึ่งจะเกิดผลแทรกซ้อนระยะยาวต่อเด็ก และลดโอกาสแพร่เชื้อไปยังสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัว โดยเฉพาะหากมีเด็กเล็กอยู่ด้วย

 

คอนเทนต์แนะนำ
"ไฟเซอร์" เริ่มการทดลองฉีดวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์

​“ทั้งนี้ แม้ว่าหญิงตั้งครรภ์จะได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแล้ว แต่ยังต้องไปตามนัดหมายตรวจครรภ์ หรือการตรวจสุขภาพของลูกในท้องทุกครั้ง โดยต้องดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัดเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระหว่างนั่งรอตรวจหรือรับยา หากสงสัยว่าตนเองเป็นกลุ่มเสี่ยง หรือไปในพื้นที่เสี่ยงต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบทุกครั้งเมื่อไปตรวจครรภ์  และต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ให้เว้นระยะห่างจากผู้อื่น อย่างน้อย 2 เมตร เมื่อกลับถึงบ้านให้ถอดหน้ากากทิ้งอย่างถูกวิธี ล้างมือ เปลี่ยนเสื้อผ้าทันที งดใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกันภายในบ้าน และให้สังเกตอาการผิดปกติของการตั้งครรภ์ด้วย” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

คอนเทนต์แนะนำ
แม่ตั้งครรภ์หากติด โควิด-19 อันตรายทั้งแม่และลูก

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ