ปรับยุทธศาสตร์ฉีดวัคซีนโควิด-19 เน้น "ผู้สูงอายุ โรคเรื้อรัง" สกัดป่วยหนัก-ตาย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ในการเสวนา “วัคซีนโควิด ไทยจะเดินต่อไปอย่างไร” หมอแนะปรับยุทธศาสตร์ฉีดวัคซีนโควิด-19 จากปูพรมมาเน้นให้คนสูงอายุ กลุ่มโรคเรื้อรัง ลดอัตราการป่วยหนัก ลดใช้ไอซียู และเสียชีวิต นำไปสู่การบริหารจัดการระบบเตียงและห้องไอซียูในโรงพยาบาล

ตอนหนึ่งในการเสวนา “วัคซีนโควิด ไทยจะเดินต่อไปอย่างไร” นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญในด้านระบาดวิทยา ที่ปรึกษาด้านวิชาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ประเทศไทยกกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ ช่วงสามเดือนนี้ คือ ก.ค. ส.ค. ก.ย. ไทยกำลังก้าวสู่การเปิดประเทศหรือยิ่งถลำลึกลงไปอีก

อภ.ส่งร่างสัญญาสั่งซื้อวัคซีนโมเดอร์นาให้อัยการสูงสุดแล้ว บ่ายวันที่ 2 ก.ค.

หมอนคร เผย ไฟเซอร์มาไตรมาส 4 กรมควบคุมโรคกำลังร่างหนังสือสัญญาฯ

ซึ่งในความเป็นจริง ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่า ถ้าสถานการณ์ยังคงเป็นแบบนี้ ประกอบกับมีสายพันธุ์เดลตาเข้ามายึดครองมากขึ้น (ปัจจุบันร้อยละ 40 ในกทม.) จะได้เห็นปรากฏการณ์

จากยอดผู้เสียชีวิตใน เดือน มิ.ย. มีคนเสียชีวิตจากโควิด-19 จำนวน 992 คน  ถ้าสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้

เดือน ก.ค.            จะมีคนเสียชีวิต 1,400 ราย

เดือน ส.ค.            จะมีคนเสียชีวิต  2,000 ราย 

และ  เดือน ก.ย.    จะมีคนเสียชีวิต  2,800 ราย 

และเมื่อไปดูข้อมูลพบว่า  ร้อยละ 80 ของผู้เสียชีวิต เป็น ผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว โรคเรื้อรัง ดังนั้น ถ้าเราสามารถปกป้องคนกลุ่มนี้จะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตให้อยู่ในจุดที่ระบบสาธารณสุขรับมือได้ 

 

 

และด้วยศักยภาพของวัคซีนส่วนใหญ่ทุกยี่ห้อ  ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อ 100% และเมื่อไปดูข้อมูลตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศ แต่ช่วยลดการเสียชีวิตและนอนไอซียู  จึงแนะนำว่า "ประเทศไทยปรับยุทธศาสตร์จากเดิมการปูพรมสร้างภูมิคุ้มกันหมู่มาเป็นแบบกลุ่มเป้าหมาย (ผู้สูงอายุ กลุ่มโรคเรื้อรัง) เหมือนเดิม"

ประเทศไทยใช้ยุทธศาสตร์ที่จะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ คือฉีดแบบปูพรมเพื่อให้คนไทยได้ฉีดวัคซีนร้อยละ 70  เพื่อหวังว่าถ้าเป็นแบบนั้นจริงทุกคนจะมีการติดเชื้อน้อยลง คนตายน้อยลง แต่การที่จะเป็นแบบนั้นได้ เรามั่นใจไหมว่าร้อยละ 70 จะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้

เพราะอย่างในสหราชอาณาจักรวิธีการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่  ต้องใช้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพที่ดีมาก และฉีดให้ได้ร้อยละ 90 แต่ถ้าเผื่อวางเป้าหมายว่า "ต้องการลดการเสียชีวิต"แนะนำให้เปลี่ยนยุทธศาสตร์เป็นแบบมุ่งเป้าตามกลุ่มเป้าหมาย

 

" จากเดิมไทยใช้ 2 ยุทธศาสตร์ คือ ฉีดให้กลุ่มสูงอายุ และโรคเรื้อรัง แต่ตอนหลังเรามีความต้องการเยอะมาก ต้องการให้ภาคโรงงาน   ควบคุมการระบาดในชุมชน  ต้องการเปิดโรงเรียน  ต้องการเปิดแหล่งท่องเที่ยว ก็เป็นความคิดที่ดี แต่การจะแบบนั้นได้ต้องมีเงื่อนไขสำคัญคือ เราต้องมีวัคซีนไม่จำกัดมากเพียงพอ เพราะฉะนั้นเพื่อให้รับมือกับสถานการณ์การกลายพันธุ์ได้ทัน

คือเปลี่ยนเอาวัคซีนที่มีอยู่ในมือ ระดมฉีดให้ ผู้สูงอายุ และ กลุ่มโรคเรื้อรังก่อน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 16 ล้านคน ตอนนี้ฉีดได้ 2 กว่าล้านคน โดยภายในกรกฎาคมนี้ต้องฉีดให้ได้ 50% คือ 8 ล้านคน ดังนั้น ต้องฉีดให้ จบภายใน ส.ค. เท่ากับวัคซีนที่เรามีเพียงพอตอนนี้ 

จะลดการเสียชีวิตจากหลักพันในเดือน ก.ค. เดือน ส.ค. เสียชีวิต 800 คน เดือน ก.ย. 600-700 คน  เท่ากับเฉลี่ยวันละประมาณ 20  คน 

ในจำนวนการฉีดวัคซีน กว่า 10 ล้านโดส เป็นผู้สูงอายุ ร้อยละ 10  ถ้าเราเดินแบบนี้ต่อไปเรื่อย เราอาจต้องใช้เวลา 7-8 เดือนที่จะป้องกันคนสูงอายุได้ ซึ่งช้าเกินไปและระบบการรับมือของสาธารณสุขจะรับไม่ไหว จึงเสนอ ศบค. นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี  ผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ปรับยุทธศาสตร์การฉีดวัคซีนเร่งฉีดให้กลุ่มผู้สูงอายุและ 7 โรคเรื้อรังก่อนดังที่กล่าวไป

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ