
วิกฤตทางใจ!!! กับภาวะหมดไฟของบุคลากรทางการแพทย์
เผยแพร่
Burnout หรือภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟในการทำงานไม่ใช่เพียงพนักงานออฟฟิศเท่านั้นที่ Work From Home ที่จะเสี่ยงต่อภาวะ Burnout แต่บุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลทำงานดันหน้าในสถานการณ์ โควิด-19 ก็เสี่ยงต่อภาวะเบิร์นเอ้าท์เช่นเดียวกันคำว่าเบิร์นเอ้าท์ในบุคลากรทางการแพทย์อาจจะมีคำที่แตกต่างจากอาชีพอื่นๆเพราะมีวิธีการทำงานที่แตกต่างกัน
ยกตัวอย่างเช่น 2 คำนี้ คำแรกคือ Compassion Fatigue หรือความเหนื่อยล้าต่อการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นหมายถึงความเหนื่อยล้าที่มาจากการปฎิบัติงานที่ต้องสัมผัสกับอารมณ์และให้ความเห็นอกเห็นใจกับผู้อื่นจนเสียสมดุลย์กับตัวเอง มักเกิดขึ้นกับผู้ที่ทำงานบริการบุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่ทำงานอาสาสมัครเพื่อสังคม เมื่อมีภาวะนี้คุณจะรู้สึกว่าคุณเห็นอกเห็นใจผู้อื่นได้ยากขึ้นรู้สึกว่าได้อุทิศตนเองให้กับผู้อื่นจนหมดพลังรู้สึกเหนื่อยทั้งกาย และใจอารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดง่าย ความรู้สึกเหล่านี้อาจจะมีสาเหตุมาจากชั่วโมงการทำงานที่มากเกินไป หรือการขาดทรัพยากรบางอย่างที่จำเป็นในการทำงาน
เตือน! เครียดจากงาน เสี่ยงภาวะ“โรคหมดไฟ” แนะ นอนดูหนัง-ฟังเพลง-ชอปปิ้ง
องค์การอนามัยโลก รับรองภาวะ “หมดไฟในการทำงาน” เป็นอาการป่วย
คำที่สองคือ Moral injury หรือภาวะบีบคั้นทางจริยธรรมภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลหนึ่งมีความจำเป็นต้องกระทำพบเห็นหรือไม่สามารถป้องกันในเหตุการณ์บางอย่างซึ่งการกระทำนั้นขัดแย้งอย่างยิ่งต่อศีลธรรมและความเชื่อทำให้บุคคลนั้นนั้นรู้สึกอับอายและรู้สึกผิดตัวอย่างเช่นทหารที่ต้องต่อสู้กับข้าศึกแล้วเกิดความสูญเสียต่อผู้บริสุทธิ์หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องปฎิบัติหน้าที่ภายใต้ข้อจำกัดไม่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างถึงที่สุดภาวะนี้อาจนำไปสู่โรคซึมเศร้าหรือโรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันอันตรายได้ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่เริ่มเห็นว่าตนเองอาจจะมีภาวะ Compassion Fatigue หรือ Moral injury ก็สามารถปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาแนวทางแก้ไขได้
แนวทางเบื้องต้นที่สามารถเริ่มทำได้ทันที
1. กลับมาใส่ใจสุขภาพกลับมาเติมพลังงานให้กับร่างกายของเราด้วยการพักผ่อนและการนอนที่มีประสิทธิภาพการจัดเวลาพักผ่อนอย่างจริงจังทั้งในระหว่างวันและระหว่างสัปดาห์รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
2. ผ่อนคลายร่างกายระหว่างวันเช่นการคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ฝ่ามือหรือใบหน้าโดยอาศัยช่วงเวลาสั้นสั้นก่อนเริ่มงานหรือว่าหลังเลิกงานรวมถึงเวลาสั้นสั้นระหว่างวันก็ได้เช่นก่อนเข้าประชุมหรือขณะกำลังรอขึ้นลิฟท์การทำกิจกรรมแบบนี้จนเป็นกิจวัตรมีส่วนช่วยให้เราผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจช่วยให้เราจดจ่อมากยิ่งขึ้นและยังเป็นการฝึกฝนทักษะความใส่ใจและเมตตาในตนเองหรือ Self-Compassion
3. Emotional Support หรือการ Support อารมณ์ความรู้สึกของกันและกันหัวหน้าทีมและเพื่อนร่วมงานที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกันมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพจิตใจของบุคลากรทางการแพทย์การ Support อารมณ์ความรู้สึกซึ่งกันและกันการรับฟังโดยไม่ตัดสินรวมถึงการหมั่นเช็กความรู้สึกของคนในทีมก็จะมีส่วนช่วยเสริมกำลังใจให้กับผู้ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่
ในช่วงโควิด-19 สุขภาพใจก็สำคัญไม่แพ้สุขภาพกายขอเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านผ่านพ้นช่วงวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยสุขภาพใจที่แข็งแรงมีความสุขและได้ทำงานที่รักอย่างมีความหมาย
กรมสุขภาพจิต เผย แพทย์-พยาบาล เครียดสูง 10 เท่า ดูแลผู้ป่วยโควิด
บุคลากรทางการแพทย์ กับความเสี่ยงไวรัสโควิด-19 เมื่อครั้งอู่ฮั่น
ขอบคุณข้อมูล : บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) : BDMS
อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline