วิธีปฏิบัติเมื่อต้องเจอกับ “ยุงลาย” ระหว่างรักษาโควิดที่โรงพยาบาลสนาม

โดย PPTV Online

เผยแพร่

ช่วงหน้าฝนอย่างนี้ ถือเป็นฤดูกาลระบาดของโรคไข่เลือดออก และถ้าเราต้องอยู่รักษาตัวโควิดด้วยและต้องประสบปัญหาเป็นไข้เลือดออกด้วยจะยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ ดังนั้นจึงควรมีวิธีป้องกันยุงลาย

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้ป่วยโควิด 19 หลายคนต้องรักษาตัวภายในข้างนอกบ้าน อาทิโรงพยาบาลสนาม มีทั้งอยู่ในอาคารถาวร และสร้างเป็นอาคารชั่วคราว ประกอบกับช่วงนี้เป็นฤดูฝน จึงอาจมีแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยเฉพาะยุงลายเพิ่มขึ้น ดังนั้นการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงจึงควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพราะหายุกไปกัดหากผู้ป่วยโรคโควิด 19 และนำเชื้อไข้เลือดออก หรือ  โรคไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหรือทรุดลงอย่างรวดเร็ว การรักษาจะมีความซับซ้อนและยุ่งยากมากยิ่งขึ้น และอาจเสียชีวิตได้

ประกาศ!  10 ม.ค. 63  “วิ่งไล่ยุง”  ปลุกคนไทยตื่นตัวกำจัดพาหะนำโรคไข้เลือดออก

สายตรวจพิชิตโรค : ทำหมันยุงลาย หวังยุติ 4 โรคร้าย

 

 

 

ดังนั้น กรมควบคุมโรค จึงได้มีการจัดทำโครงการ “โรงพยาบาลสนามปลอดยุงลาย” เพื่อเป็นแนวปฏิบัติป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลาย ไม่ให้เกิดซ้ำเติมกับผู้ป่วยโรคโควิด 19  โดยแนวทางนี้ถูกแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ 

รูปแบบที่ 1. สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานและผู้ป่วยโรคโควิด 19  
    1.1 ใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ปิดแขนขาให้มิดชิด เพื่อลดโอกาส โดนยุงกัด  
    1.2 ทายากันยุงทุก 6 ชั่วโมง โดยปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด  
    1.3 ทิ้งภาชนะบรรจุอาหารและแก้วน้ำลงถังขยะ โดยเทน้ำหรือน้ำแข็งออกก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันยุงลายวางไข่

รูปแบบที่ 2 ใช้สำหรับผู้บริหารโรงพยาบาลสนาม 
    2.1 ให้มีการพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัยภายนอกอาคารผู้ป่วยอย่างน้อย 1 วัน ก่อนเริ่มรับผู้ป่วย และทุก 2 สัปดาห์หลังรับผู้ป่วย หรือตามความจำเป็น ด้วยเครื่องพ่นชนิดฝอยละออง (ULV) โดยผู้ชำนาญการด้านการพ่นสารเคมี  
    2.2 กำหนดบุคลากรดำเนินการสำรวจและกำจัดภาชนะขังน้ำทั้งภายในและภายนอกอาคารในรัศมี 100 เมตร อย่างน้อย 1 วันก่อนเริ่มรับผู้ป่วย และทุกสัปดาห์หลังรับผู้ป่วย หรืออาจใช้ทรายกำจัดลูกน้ำใส่ในภาชนะใส่น้ำใช้ 
    2.3 จัดบริเวณที่พักผู้ป่วยให้ปลอดโปร่ง ไม่ให้เป็นที่เกาะพักของยุงลาย  
    2.4 ปิดฝาถังขยะให้มิดชิดและกำจัดขยะทุกวัน เพื่อไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 
    2.5 จัดหายาทากันยุงให้ผู้ป่วยและบุคลากรในโรงพยาบาลสนาม และใช้อย่างระมัดระวัง โดยผลิตภัณฑ์ยาทากันยุงกลุ่มตะไคร้หอมห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี และผลิตภัณฑ์สารเคมีทั่วไปห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี 
    2.6ในกรณีที่โรงพยาบาลสนามไม่มีมุ้งลวดหรือไม่มีเครื่องปรับอากาศ ให้แจกมุ้งให้ผู้ป่วยเพื่อป้องกันยุงกัด  
    2.7 เฝ้าระวังผู้ป่วยที่อาจเป็นโรคไข้เลือดออกร่วมกับโรคโควิด 19  หากพบผู้ป่วยสงสัย เช่น มีไข้สูงลอยติดต่อกันหลายวัน มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง หน้าแดง ให้แพทย์ประเมินอาการและเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจด้วยชุดตรวจแบบรวดเร็ว เอ็นเอสวัน แอนติเจน เทส คิท (NS1 antigen test kit) เพื่อตรวจว่าติดเชื้อไข้เลือดออกหรือไม่ และแพทย์จะสามารถให้การดูแลรักษาได้อย่างทันท่วงที 

 

ข้อมูลจาก : กองโรคติดต่อนำโดยแมลง/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค
 

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ