โจทย์ด่วนกรมวิทย์ ศึกษาฉีดวัคซีนชั้นผิวหนัง

โดย PPTV Online

เผยแพร่

ประเด็นการบริหารจัดการวัคซีนโควิดด้วยการเปลี่ยนวิธีการฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อมาเป็นการฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังตามที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคอุบัติเหตุออกมาให้คำแนะนำ

 อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยในการแถลงข่าววานนี้ ( 19 ส.ค.)ว่า ประเด็นนี้เป็นโจทย์เร่งด่วนที่กำลังเร่งศึกษา หากมีผลวิจัยยืนยันจะเป็นประโยชน์มากต่อการบริหารจัดการวัคซีน

ในการแถลงข่าวของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกับศิริราช นอกจากเปิดผลข้อมูลล่าสุดวัคซีนสลับ หรือการฉีดไขว้ ซึ่งสรุปผลจากกลุ่มตัวอย่างคนที่ได้รับวัคซีน ซิโนแวค+แอสตร้าเซนเนก้า จะให้ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตา ดีพอ ๆ กับการฉีดวัคซีน แอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม แต่ใช้เวลาสั้นลงแล้ว ยังเผยผลการศึกษาวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 ด้วย

แอสตร้าเซนเนก้า แนะให้ฉีดห่างจากวัคซีนอื่น 2 สัปดาห์ป้องกันทำปฏิกิริยา

กทม. ชวนลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด-19 “ผู้ป่วยติดเตียง-ผู้สูงอายุ” มีทีมสาธารณสุขฉีดให้ถึงบ้าน

สรุปว่า การฉีดกระตุ้นด้วยแอสตร้าเซนเนก้า หลังฉีดวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็มสามารถกระตุ้มภูมิคุ้มกันได้ดีมากกับสายพันธุ์เดลตา ส่วนการฉีดกระตุ้มเข็ม 3 ด้วยวัคซีนซิโนฟาร์มหลังรับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม ภูมิสูงขึ้นแต่ยังน้อยกว่าการกระตุ้นด้วยวัคซีนต่างชนิด

คำถามสำคัญคือ การฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 หรือ บูสเตอร์โดส สำหรับประชาชนจะต้องฉีดหรือไม่ และเมื่อไร ไปฟังคำตอบจากผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์

กรมวิทยาศาตร์การแพทย์ระบุว่า การศึกษาครั้งนี้เป็นการเปิดเผยข้อมูลครั้งแรกของประเทศในการใช้ไวรัสสายพันธุ์เดลตาจริง ๆ ไปทดสอบกับ ซีรั่มของอาสาสมัคร ซึ่งเป็นภูมิจริง ๆ ในห้องชีวนิรภัยระดับ 3 ซึ่งเปรียบเสมือนการติดเชื้อตามธรรมชาติ โดยวิธีการนี้เป็นโกลด์สแตนดาร์ดที่ทั่วโลกยอมรับ ส่วนผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์จะมีการตีพิมพ์เพื่อใช้อ้างอิงทางวิชาการต่อไป

นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ เฟซบุ๊ก ผลการศึกษา ประสิทธิภาพวัคซีน ไฟเซอร์ และแอสตร้าเซนเนก้า จากทีมวิจัย Oxford ร่วมกับ Office of National Statistics ข้อมูลจากการติดตามโอกาสที่จะตรวจพบการติดเชื้อโควิดจำนวนมาก เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่ได้ แอสตร้าเซนเนก้า เทียบกับ ไฟเซอร์       

ใจความระบุว่า แม้ประสิทธิผลของวัคซีนไฟเซอร์จะสูงกว่าแอสตร้าเซนเนก้าในช่วงแรก แต่เมื่อติดตามไปเรื่อย ๆ พบว่าอัตราการลดลงของวัคซีนไฟเซอร์เร็วกว่าแอสตร้าฯ จนวัคซีนทั้งสองชนิดเริ่มมีค่าเท่า ๆ กันที่ 3 เดือนหลังฉีด  

ช่วงท้ายโพสต์ของนพ.มานพ บอกว่า คงจะบอกว่าวัคซีนไฟเซอร์กลับด้อยกว่า หรือ แอสตร้าฯ ดีกว่าไม่ได้ จนกว่าจะเห็นข้อมูลมากกว่านี้ แต่อย่างน้อยสิ่งที่ยืนยันได้คือ ประสิทธิผลของวัคซีนไฟเซอร์ลดลงเร็วกว่าจริง สอดคล้องกับข้อมูลก่อนหน้านี้

ไทยติดโควิดสะสม 1,009,710 ราย ยอดวันนี้ลดลงต่ำกว่า 2 หมื่น เสียชีวิต 240 คน

เช็กเลย! เงินเยียวยา 2,500 เข้าพร้อมเพย์วันนี้ ตรวจสอบสิทธิมาตรา 33 ผู้ประกันตน - นายจ้าง ตกหล่นทบทว...

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ