วันนี้ 30 ส.ค. 2564 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) แถลงว่าหลังจากที่ข้อกำหนดออกตามความมาตรา 9 แห่งพ.ร.ก.การบริหารราชการสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 32 ) ก็จะยังคงแบ่งพื้นที่ตามเดิม คือ พื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด 29 จังหวัด พื้นที่ควบคุมสูงสุด 37 จังหวัด และพื้นที่ควบคุมอีก 11 จังหวัด ซึ่งอันนี้ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิม
เปิด 5 ขั้นตอน ที่ผู้ป่วยโควิด - ญาติ ขอความช่วยเหลือจาก กทม. ด้านการรักษา
เช็กมาตรการ คลายล็อก กทม. ยังบังคับเข้มงวดคุมโควิด 1 - 30 ก.ย.64
สำหรับข้อกำหนดรายละเอียดที่ออกมานั้นหลายคนบอกว่ายังมีผู้ติดเชื้อหลักหมื่นรายทำไมต้องรีบปลดล็อก แต่ในที่ประชุมศบค.จะไม่ใช้คำนี้ และ ก็ไม่ได้ใช้คำว่าผ่อนคลายด้วย เราใช้คำว่าปรับมาตรการ เป็นเรื่องเชิงวิชาการทั่วโลก โดยในมาตรการทางสังคมมีการปรับเรื่องของการเผชิญโควิด-19 ในลักษณะนี้ทั้งสิ้น ฉะนั้นการตรึงมาตาการที่เข้มๆ มีบางประเทศเท่านั้นที่สำเร็จ แต่บางประเทศที่ปรับเปลี่ยนไป เช่นเดียวกับประเทศไทย ฉะนั้น ครั้งนี้เป็นจึงเป็นการปรับมาตรการควบคุมโรค ไปสู่ชีวิตวิถีใหม่ของประชาชน หรือ New Normal และความสำคัญคือการร่วมมือจากประชาชน โดยจะเริ่มในวันที่ 1 ก.ย. นี้ และ เดือนก.ย. จะเป็นเดือนของการทดสอบระบบนี้ด้วย
โดยการปรับมาตรการต่างๆ เช่น คือ ห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค ขั้นตอนของการจัดกิจกรรมซึ่งหลายๆเรื่องยังคงบังคับใช้ต่อไป แต่ก็ปรับตัวเลขของคนให้สามารถได้พบปะกันมากขึ้น โดยพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดปรับเป็น 25 คน พื้นที่ควบคุมสูงสุดเป็น 50 คน และพื้นที่ควบคุมเป็น 100 คน
ยังไม่ชัด ร้านอาหารฉีดวัคซีน 2 เข็ม-ตรวจ ATK
ส่วนข้อที่ 3 ในราชกิจจาที่ออกมาให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมมาตรการภาครัฐ และ เป็นครั้งแรกของการออกข้อกำหนด บอกถึงว่าจะต้องมีการตระเตรียมอะไรบ้าง เพราะการเตรียมมาตรการภาครัฐ การเตรียมแผน การจัดหาวัคซีน ยา เครื่องมือแพทย์ และโรงพยาบาลสนาม รวงมถึงการเร่งประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนทั้งส่วนบุคคลองค์กร ผู้ประกอบการแต่ละประเภท ได้รับทราบและแนะนำแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เรื่องตรงนี้การสื่อสารต้องมีความละเอียด ต้องมีความเข้าใจกัน และ มาตรการที่เราพูดกันคือ มาตรการป้องงกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention for Covid-19 ) โดยกระทรวงสาธารณสุขจะบังคับใช้ในอนาคต เพราะฉะนั้น ข้อกำหนดตรงนี้บุคคลที่เกี่ยวข้องจะได้เตรียมพร้อม
มาตรการต่อมาให้ผู้ประกอบการ หรือ ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ และ มีคำศัพท์ใหม่ คือ มาตรการความปลอดภัยสำหรับองค์กร หรือ Covid Free Setting หมายถึงการทำพื้นที่ให้ปลอดเชื้อจะต้องทำอย่างไร และ จะต้องทำในพื้นที่ที่กำหนด โดยจะมีการประเมินผลภายใน 1 เดือน และจะได้เห็นการร่วมไม้ร่วมมือกัน รายละเอียดจะมีอยู่ในแต่ละกิจการ หรือ กิจกรรม ซึ่งตรงนี้ไม่จำเป็นต้องสั่งโดยกระทรวงสาธารณสุขก็ได้ ท่านคิดมาเองแล้วให้กระทรวงสาธารณสุขไปดูก็ได้ คล้ายๆกับหลายเรื่องเช่นโรงงาน เรื่องของ Isolation การเอาผู้ป่วยรักษาในโรงงาน ซึ่งก็เกิดขึ้นมาแล้ว และก็ประสบความสำเร็จในบางที่
ในข้อ 4 ยังคงไว้คือ การเคอร์ฟิว 21.00-04.00 น. ของทุกวันนี้ และการ Work from Home หรือการปฏิบัติงานนอกสถานที่ รวมถึงมาตรการต่างๆต้องยืดออกไปอีก 14 วัน สำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด หรือ พื้นที่สีแดงเข้ม
ข้อที่ 5 ให้คณะกรรมการโรคติดต่อกทม. หรือ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด กำกับดูแลสถานที่และกิจการ หรือกิจกรรมในพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ได้ปรับมาตรการตามข้อกำหนดนี้ เฉพาะฉะนั้นทางกทม. และพื้นที่ที่เกี่ยวข้องต้องมาดูหัวข้อย่อยๆ เช่น โรงเรียนให้ใช้อาคารและถสานที่สอบ สอน ฝึกอบรม แต่จะต้องมีการปรึกษากันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
ต่อมา คือ ร้านอาหาร ให้เปิดบริการได้โดยให้บริโภคในร้านได้ แต่ไม่เกินเวลา 20.00 น. แต่ยังคงห้ามเรื่องขายสุรา และ ต้องจำกัดจำนวนที่นั่ง ถ้าห้องแอร์จะต้องนั่งในร้านได้ไม่เกิน 50 % ถ้าร้านเป็นพื้นที่เปิดโล่งนั่งในร้านได้ 75 % และให้บังคับใช้มาตรการนี้กับร้านจำหน่ายอาหาร หรือ เครื่องดื่มที่ตั้งในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือ สถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน
ในเรื่องของห้างสรรพสินค้า จะมีอีก คือ สถานเสริมความงาม ร้านเสริมสวย ร้านตัดแต่งผม ให้เปิดดำเนินการได้
สรรพากร ปัดเรียกเก็บภาษี “ร้านค้าคนละครึ่ง” แค่ส่งหนังสือเตือนผู้ค้ามีรายได้ถึงเกณฑ์
ส่วนการการเดินทาง ให้ข้ามจังหวัดได้ ออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดได้พื้นที่สีแดงเข้ม แต่ต้องเดินทางเท่าที่จำเป็นเท่านั้น รวมเรื่องสายการบินด้วย ซึ่งจะมีมาตรการต่างๆ ออกมาด้วย จำกัดผู้โดยสารที่ 75% ของความจุห้องโดยสาร
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า เดือน ก.ย.นี้จะเป็นเดือนแห่งการทดสอบระบบและมาตรการต่างๆ ที่จะออกมา ภายใน 14 วัน และ ขอให้รอกระทรวงสาธารณสุขที่จะออกระเบียบต่างออกมา
“กราบขอคุณประชาชนทุกท่านผมเองในฐานะโฆษกศบค. เข้าใจว่าหลายๆเรื่องทำให้ท่านอึดอัดใจ แต่เห็นตัวเลขที่ค่อยปรับลงมาก็ทำให้เราสบายใจขึ้นถึงแม้จะมีความอึดอัดอะไรต่างๆ แต่ไม่ได้เกิดจขึ้นเฉพาะประเทศไทยประเทศเดียว ประเทศญี่ปุ่นก็มีตัวเลขผู้ติดเชื้อสูงขึ้นมาเช่นกัน จำนวน 22,748 ราย ซึ่งเขาก็มี New Normal ของเขาในอีกรูปแบบหนึ่ง เราได้เห็นภาพของประเทศญี่ปุ่นที่เขาจัดกีฬาโอลิมปิก 2020 ที่ใหญ่มาก แต่การดูแลผู้ติดเชื้อเขาก็ดูแลไป นี่ คือ สิ่งที่เป็น New Normal เพื่อปรับตัวให้เราสามารถอยู่กับโรคนี้ให้ได้” นพทวีศิลป์ กล่าว
"เซ็นสัญญาซื้อ ATK 8.5 ล้านชุด" ส่งล็อตแรก 3 ล้านชิ้น 7 ก.ย.นี้ เตรียมแจก ปชช.