ด้วยสถานการณ์โควิด 19 ที่มีผู้ป่วยต้องนอนรอรับการรักษาที่บ้านและบางคนอาการเริ่มทรุดหนักด้วยการหายใจไม่ออก "ออกซิเจนทางการแพทย์" จึงกลายเป็นอุปกรณ์ที่ถูกนำมาใช้เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย แต่บางคนที่มีกำลังหน่อยก็ไปกว้านซื้อถังออกซิเจนมาเก็บไว้ ทั้งที่ไม่ได้มีอาการทรุด เพื่อเก็บไว้ใช้จนทำให้ช่วงหนึ่งถังออกซิเจนนี้ขาดตลาด ซึ่งเรื่องนี้ นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เคยออกมาเตือนแล้วว่า
"ออกซิเจนทางการแพทย์" ยังเพียงพอและพร้อมเพิ่มกำลังการผลิต
Sea มอบถังออกซิเจน 2,000 ถัง ช่วยผู้ป่วยโควิด ส่งมอบให้แก่กรมการแพทย์
"การนำถังออกซิเจนไปใช้เมื่อเริ่มป่วยเป็นโรคโควิด-19 โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์และปราศจากการกำกับดูแลของแพทย์ อาจเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย หากได้รับปริมาณออกซิเจนที่มากเกินไป ยังไม่รวมถึงเรื่องของความสิ้นเปลืองและการเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย "
ดังนั้นการจะใช้ออกซิเจน ที่บ้านอย่างปลอดภัย จึงควรปฏิบัติตาม 3 ขั้นตอนนี้
1. รู้ก่อนใช้
* ก๊าซออกซิเจนโดยตัวเองไม่ติดไฟ แต่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิดการลุกไหม้ที่รวดเร็วและรุนแรง
* ก๊าซออกซิเจนทางการแพทย์ ต้องบรรจุดในถังสีเขียว ที่มีสัญลักษณ์ มอก.540-2555
* ห้ามใช้ถังที่เป็นสนิม
* ข้อต่อตรงถังต้องใช้เกลียวนอกมาตรฐาน CGA 540 เท่านั้น
* หัวอุปกรณ์ปรับลดแรงดัน ต้องใช้หัวสำหรรับออกซิเจนทางการแพทย์เท่านั้น
* ควรมีถังดับเพลิงติดตั้งไว้บริเวณใกล้เคียง
2. ระวังตอนใช้
* เวลาใช้งานให้วางถังแนวตั้งและยึดให้แน่น
* ระวังการเคลื่อนย้าย หากล้มกระแทกอาจระเบิดได้
* ห้ามวางถังออกซิเจนในห้องโดยสารรถเพราะถ้าเกิดการรั่วจะเป็นอันตรายได้
* ตอนใช้งานอยู่ห่างจากห้องครัวอย่างน้อย 5 เมตร และต้องไม่อยู่ใกล้ความร้อนหรือเปลวไฟ เช่น สูบบุหรี่ ไดร์เป่าผม เตารีดตัดผม แผ่นทำความร้น หรือมีดโกนไฟฟ้า
* ห้ามใช้สเปรย์ฉีด หรือ สเปรย์ปรับอากาศหรือสเปรย์ฉีดผมใกล้ชุดจ่ายออกซิเจน เพราะละอองฝอยมีความไวไฟสูงมา
* ไม่ใช้ครีมและโลชั่นที่ติดไฟได้ เช่น ไอระเหิดของผลิตภัณฑ์ทาถู ปิโตรเลียมเจลลี่ หรือ โลชั่นทามือที่มีส่วนผสมของน้ำมัน
* ไม่ใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือขณะใช้งาน เว้นแต่จะปล่อยให้มือแห้งสนิทก่อนหยิบจับอุปกรณ์ออกซิเจน
3. ดูแล หลังใช้
* อย่างว่างถังแนวนอนให้วางตั้ง และยึดกับที่ให้แน่น
* อย่าเก็บในที่ปิด เช่นตู้เสื้อผ้า หีบ และให้ห่างจากแหล่งความร้อน เปลวไวอย่างน้อย 1.5 เมตร
* ติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ และห้ามจุดไฟ
* ปิดวาล์วให้สนิทหลังใช้และหมั่นตรวจสอบการรั่ว
* ก่อนส่งคืน ควรฆ่าเชื้อด้วยการเช็ดผิดหนอกของถังด้วยแอลกอฮอล์ 70 % โดนต้องแน่ใจว่าวาล์วปิดสนิทและไม่รั่วไหล
อย่างไรก็ตามในการใช้ถังออกซิเจนทางการแพทย์ ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีใช้ให้ละเอียดเพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับ ผู้ใช้งาน และผู้ที่อยู่ใกล้เคียง
5 เคล็ดลับทำงานที่บ้านอย่างสุขภาพดี
ข้อมูลจาก
นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล และ หมอพร้อม