ต้องเข้าใจก่อนว่างานวิจัยเกี่ยวกับการผสมวัคซีนโควิด-19 ทั้งหมดอยู่ในระยะเริ่มต้น จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่เมื่อเทียบกับระยะเวลาของการคิดค้นสูตรวัคซีนที่จะมาต่อสู้กับโรค วัคซีนหลายตัวถูกคิดค้นและได้รับการอนุญาตให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน มีเพียงไฟเซอร์ที่ได้รับอนุญาตจาก FDA สหรัฐให้ใช้เป็นการทั่วไปได้
สธ.เปิด 3 สูตรใหม่ฉีดวัคซีนโควิด สูตรไขว้เคาะเข็ม 2 ฉีดไฟเซอร์ ได้ทุกกลุ่ม 18 ปีขึ้นไป
สธ. เปิดแผนลงทะเบียนวัคซีน บูสเตอร์โดส "แอสตร้าเซเนก้า" เข็ม 3
เมื่อสถานการณ์โควิด-19 เกิดการกลายพันธุ์ นักวิจัย ทีมแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ นอกจากการคิดค้นวัคซีนรุ่นต่อๆไปแล้ว การผสมวัคซีน การฉีดวัคซีนสูตรไขว้ จึงถูกนำมาศึกษาทดลอง
สำหรับประเทศไทยมีการใช้วัคซีนสูตรไขว้นี้ เช่น ซิโนแวค + แอสตร้าเซเนก้า และล่าสุดกำลังจะเริ่มใช้ แอสตร้าเซเนก้า + ไฟเซอร์ พีพีทีวี ช่อง 36 นำการศึกษาวิจัยเบื้องต้นของสูตรดังกล่าวจาก PHARMACEUTICAL TECHNOLOGY มาให้อ่านกัน
ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยจาก ของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด เมื่อเดือนมิถุนายน (2564) พบว่า
การผสมวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (AZ) ตามด้วย ไฟเซอร์ (Pfizer) สร้างการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งต่อไวรัส โดยกระตุ้นแอนติบอดีสูงกว่าการฉีดแอสตร้าเซเนก้า 2 เข็ม
โดยนักวิจัยที่ทำการศึกษา Com-COV (Comparing Covid-19 Vaccine Schedule Combinations) พบว่า ลำดับการสร้างภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีน วัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (AZ) ตามด้วย ไฟเซอร์ (Pfizer) แสดงการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้นจากสูตรดังกล่าว
ศาสตราจารย์แมทธิว สเนป หัวหน้าผู้วิจัยในการทดลอง กล่าวว่า ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า หากได้รับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าและตามด้วยไฟเซอร์ ห่างกัน 4 สัปดาห์ จะทำให้เกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้เมื่อรับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า 2 เข็ม
การทดลองล่าสุดที่ดำเนินการในเกาหลีใต้แสดงให้เห็นว่า การฉีดวัคซีนแบบผสม วัคซีนแอสตร้าเซเนก้าเข็มแรกและตามด้วยไฟเซอร์เข็มสอง ทำให้เกิดระดับแอนติบอดีสูงกว่าที่หลังฉีดแอสตร้าเซเนก้า 2 เข็ม 6 เท่า : ศาสตราจารย์แมทธิว ระบุ
และเมื่อไปดูผลการวิเคราะห์ จาก สำนักงานควบคุมและป้องกันโรคของเกาหลีใต้พบว่าวัคซีนสูตรไขว้นี้ กับสายพันธุ์กลายพันธุ์ ไม่พบภูมิคุ้มกันที่ลดลงกับสายพันธุ์อัลฟา แต่ลดลง 2.5 ถึง 6 เท่ากับสายพันธุ์เบตา แกรมมา เดลตา ตามลำดับ เช่นเดียวกับ การศึกษาในสเปนและเยอรมนี ที่พบว่าการให้วัคซีนสูตรไขว้กระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันได้ดีกว่า
ในส่วนของ ความปลอดภัยวัคซีนสูตรไขว้ แอสตร้าเซเนก้า + ไฟเซอร์
ซึ่งการศึกษาของ Com-COV (Comparing Covid-19 Vaccine Schedule Combinations) พบอาการไม่พึงประสงค์ร้ายแรง 4 ราย ในกลุ่มผู้รับวัคซีนไขว้ทั้งหมด แต่ไม่ได้ระบุว่าเกี่ยวข้องกับวัคซีน
ขณะที่ นักวิจัย Com-COV ได้ตั้งข้อสังเกตในการศึกษาก่อนหน้านี้ว่า 30 - 40% มีไข้หลังจากฉีดเข็มที่ 2 (ไฟเซอร์) เทียบกับคนที่ฉีดวัคซีนชนิดเดียวกันทั้งสองเข็ม 10-20% แต่อาจเป็นเพราะว่าระยะห่างของวัคซีนสูตรไขว้ (แอสตร้าเซเนก้า + ไฟเซอร์) ที่สั้นกว่าแอสตร้าเซเนก้า + แอสตร้าเซเนก้า คือ 4 สัปดาห์
อย่างไรก็ตาม การวิจัยด้านความปลอดภัยของวัคซีนสูตรไขว้ยังคงดำเนินการไป และยังต้องรอการทดลองกับกลุ่มคนที่มหญ่ขึ้นมากกว่านี้ ขณะเดียวกัน การทดลองใช้สูตรวัคซีนไขว้จะทำการศึกษาเพิ่มขึ้นกับวัคซีนชนิดอื่นๆ เช่น แอสตร้าเซเนก้า + สปุตนิก วี ที่กรุงมอสโก รัสเซีย ซิโนแวค + วัคซีนชนิดอื่นๆ อีก 6 ชนิด ในฟิลิปปินส์
เรียบเรียงจาก PHARMACEUTICAL TECHNOLOGY
เปิดขั้นตอน "ตรวจสอบคุณภาพ" ชุดตรวจ ATK 8.5 ล้านชุดก่อนถึงมือประชาชน
ขั้นตอน แบบฟอร์มยื่นทบทวนสิทธิเยียวยา ม. 33 ม.39 ม.40 ตรวจสอบสิทธิ www.sso.go.th เช็กเยียวยาเพิ่ม