"รางจืด-ยอ-หญ้าหนวดแมว" ส่งผลต่อไต ตับ หัวใจ ห้ามกินต่อเนื่องนาน ๆ

โดย PPTV Online

เผยแพร่

สมุนไพร มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย แต่สำหรับบางชนิดกินติดต่อกันนานเกินไป จะเกิดผลเสีย แนะกินแต่พอดี ผู้มีโรคประจำตัวบางกลุ่มควรปรึกษาแพทย์

ปัจจุบัน สมุนไพร มักถูกนำมาเป็นยาบำรุงร่างกาย รักษาโรคต่าง ๆ หรือการใช้เป็นอาหารเสริม โดยที่หลายคนเชื่อว่า จะสามารถกินเท่าไหร่ก็ได้ กินติดต่อกันนานแค่ไหนก็ได้เนื่องจากมาจากธรรมชาติ แต่สำหรับสมุนไพรบางชนิด แม้จะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นคุณต่อทุกคน และรู้หรือไม่ว่ามีสมุนไพรบางชนิดที่ไม่ควรกินติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ เพราะส่งผลร้ายต่ออวัยวะในร่างกายได้
ใช้สมุนไพรไทยดูแลสุขภาพ ถูกวิธีช่วยลดเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19
เปิดลิสต์ "สมุนไพร" กินก่อน-ระหว่าง-หลังติดเชื้อโควิด-19

สมุนไพร 3 ชนิดที่ไม่ควรกินติดต่อกันเป็นเวลานาน
1. รางจืด

     เป็นสมุนไพรที่ได้รับความนิยมนำมาใช้บรรเทาอาการปวดท้องหรือท้องเสีย แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ใช้ขับสารพิษที่สะสมอยู่ในร่างกาย ขับปัสสาวะ ช่วยแก้อาการเมาค้างได้เป็นอย่างดี
     แต่หากบริโภครางจืดติดต่อกันเป็นเวลานานอาจส่งผลกระทบต่อตับ ไต และระบบเลือดได้ ไม่ควรกินติดต่อเกิน 1 เดือน และต้องระวังการใช้ในผู้ป่วยตับไต

2. ยอ
     มักนำมาใช้เป็นยาสมุนไพร บรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน นอกจากนี้ยังมีมีวิตามินช่วยบำรุงสายตา แก้กระษัย ขับลม เป็นยาระบาย ขับน้ำคาวปลา
     แต่หากบริโภคติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อไต และผู้ป่วยโรคไตไม่ควรบริโภค เพราะมีเกลือโปแตสเซียมสูง อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้

3. หญ้าหนวดแมว
     ส่วนต่าง ๆ ของหญ้าหนวดแมว มีสรรพคุณรักษาโรคแตกต่างกัน แต่มีประสิทธิภาพน้อยกว่ายาแผนปัจจุบัน
     - ราก ใช้ช่วยในการขับปัสสาวะ
     - ต้น ขับปัสสาวะ รักษาโรคกระษัย โรคปวดตามสันหลังบั้นเอว ขับนิ่วในไต รักษาโรคเยื่อจมูกอักเสบ
     - ใบ รักษาโรคไต รักษาโรคปวดข้อ ปวดหลัง ไขข้ออักเสบ ลดความดันโลหิต รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำขับกรดยูริคแอซิดจากไต
     เนื่องจากหญ้าหนวดแมว มีเกลือโปแตสเซียมสูง หากบริโภคติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อไต ซึ่งถ้าไตไม่ปกติ จะไม่สามารถขับโปตัสเซียมออกมาได้ และกระทบกับคนที่เป็นโรคหัวใจ

     สมุนไพรมีทั้งข้อดี และข้อเสีย การเลือกซื้อสมุนไพรควรดูว่ายานั้นมีการขึ้นทะเบียนหรือไม่ และควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ ให้นมบุตรควร หรือมีโรคประจำตัวหลีกเลี่ยงการใช้สมุนไพร ทางที่ดีหากต้องการใช้สมุนไพรแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง

อ้างอิง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ