อย่า...! ใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ผสมเบกกิ้งโซดาฟอกฟันเองอาจส่งผลเสียกับสุขภาพปากและฟัน

โดย PPTV Online

เผยแพร่

การฟอกสีฟัน คือวิธีการที่ทำให้ฟันที่เหลือง หรือเป็นคราบมีสีขาวขึ้น ซึ่งวิธีการที่ดังกล่าวควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ ถ้ามาทำเองอาจส่งผลเสียกับสุขภาพปากและฟัน

หลายคนที่มีสีฟันที่เหลือง หรือมีคราบฝังแน่จนรู้สึกว่าฟันไม่สวย ก็คงอยากฟอกสีฟันให้ดูขาวใสขึ้นมา โดยในโซเชียลได้มีการแนะนำว่าให้ใช้ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ผสมเบกกิ้งโซดาฟอกฟัน เพียงเท่านี้ฟันจะขาวสะอาดทันใจ  ซึ่งรู้หรือไม่วิธีการดังกล่าวค่อยข้างเป็นอันตรายกับสุขภาพปากและฟันของเราเป็นอย่างมาก แม้สารทั้ง 2 ชนิด จะมีประสิทธิภาพในการช่วงทำให้ฟันขาวได้ก็จริง อย่างนั้นมาทำความรู้จักตัวสารดังกล่าวกัน 

ระวัง “ละอองอุจจาระ” ในแปรงสีฟัน ป่วยแน่หากเก็บผิดวิธี

ทันตแพทย์แนะพ่อแม่ ดูแลสุขภาพฟันเด็กให้ดีในระหว่างเรียนออนไลน์

ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide)  เป็นสารที่มีคุณสมบัติในการฟอกสีฟัน สารนี้อาจใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ฟอกสีฟันได้ แต่ต้องใช้ภายใต้การดูแลของทันตแพทย์เท่านั้น ซึ่งทันตแพทย์จะเลือกใช้ความเข้มข้นของสารนี้ให้เหมาะสมกับสภาพฟันของแต่ละคน (ผลิตภัณฑ์ที่มี Hydrogen peroxide > 6% จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มี Hydrogen peroxide < 6% จัดเป็นเครื่องสำอางที่ทันตแพทย์จะมอบให้ผู้บริโภคนำไปใช้เองที่บ้าน) เพราะสารนี้อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุอ่อนในช่องปาก และกัดกร่อนผิวเคลือบฟันในระยะยาว

เบกกิ้งโซดา หรือโซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium bicarbonate) เป็นสารที่มีคุณสมบัติในการขัด สารนี้อาจนำมาใช้เป็นส่วนผสมในยาสีฟัน เพื่อขัดทำความสะอาดฟัน แต่มีฤทธิ์กัดกร่อนผิวเคลือบฟันได้เช่นกันและมีพิษต่อร่างกายเมื่อสารเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก เช่น เกิดภาวะขาดน้ำ ชัก หรือเกิดภาวะโรคไต

"ฟันผุ" เรื่องเล็กๆ ที่ไม่ควรมองข้ามอาจเป็นต้นเหตุ "โรคหัวใจ"

เรียนรู้วิธีเก็บรักษา "นม" แต่ละชนิดให้คงคุณประโยชน์ไว้เต็มคุณค่า

ดังนั้น การฟอกสีฟันจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของทันตแพทย์ เพื่อตรวจประเมินความพร้อมก่อนเริ่มฟอกสีฟัน หากมีปัญหาฟันผุต้องทำการรักษาก่อน ไม่เช่นนั้นจะเกิดอาการเสียวฟัน หรือปวดฟันได้ ซึ่งการใช้จะต้องปฎิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์โดยเคร่งครัด เพราะหากไปทำเอง อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายมากกว่าผลที่คาดหวังให้ฟันขาวขึ้น เนื่องจากระคายเคืองเนื้อเยื่อบุอ่อนในช่องปาก และกัดกร่อนผิวเคลือบฟันในระยะยาวได้ ดังนั้น หากมีปัญหาด้านสุขภาพฟัน แนะนำให้ไปปรึกษาทันตแพทย์

ที่มา 

- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 

Bottom-PL-24 Bottom-PL-24

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ