นายแพทย์อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ เปิดเผยถึง ขั้นตอนการสั่งซื้อยารักษาโควิด 19 ล่าสุด ทั้ง 2 ชนิดของไทย คือ ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) และ ยาแพกซ์โลวิด (PAXLOVID) โดยระบุว่า
เทียบสเปก ยาเม็ดต้านโควิด-19 ของ “เมอร์ค” และ “ไฟเซอร์”
รู้จัก "ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir )" รัฐบาลเตรียมนำเข้ารักษาโควิด-19
สำหรับไทม์ไลน์การสั่งซื้อ ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir)
ก.ค.-ส.ค.2564 กรมการแพทย์ หารือกับ บริษัท Merck & Co (บริษัทเมอร์ค) ถึงข้อมูลยาและการวิจัย
ส.ค.-ก.ย.2564 กรมการแพทย์ หารือกับ บริษัท Merck & Co (บริษัทเมอร์ค) การจัดหาและการจัดซื้อ
ก.ย.-ต.ค. 2564 กรมการแพทย์ หารือกับ บริษัท Merck & Co (บริษัทเมอร์ค) สัญญาซื้อขาย
ต.ค.-พ.ย.2564
12 ต.ค. เสนอแผนการจัดหา ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ต่อ ศปก.ศบค.
14 ต.ค. เสนอแผนต่อ ศบค.
12-22 ต.ค. หารืออัยการสูงสุด
พ.ย. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติงบประมาณและสั่งซื้อ ในระหว่างนี้ประมาณการว่า ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) จะขึ้นทะเบียนใน อย.สหรัฐ (FDA)
พ.ย. 2564 - ต้นปี 2565 ประมาณการขึ้นทะเบียน อย. และใช้ในประเทศไทย
ส่วนไทม์ไลน์ของ ยาแพกซ์โลวิด (PAXLOVID)
ส.ค. 2564 กรมการแพทย์ได้ หารือกับ บริษัทไฟเซอร์ ถึงข้อมูลยาและการวิจัยพัฒนา
ส.ค.-ก.ย. 2564 บริษัทไฟเซอร์ และ กรมการแพทย์ ลงนาม CDA ซึ่งเป็นการเซ็นเอกสารรักษาความลับไม่เปิดเผยข้อมูล
ต.ค. 2564 บริษัทไฟเซอร์ และ กรมการแพทย์ หารือผลความก้าวหน้าเรื่องผลงานวิจัย ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ในวันที่ 12 พ.ย. 2564 เพื่อหารือความเป็นไปได้ในการจัดหายา ขณะเดียวกันคาดว่าไฟเซอร์จะดำเนินการคู่ขนานในการขอขึ้นทะเบียนกับ อย.สหรัฐ (FDA)
จากการให้ ยาโมลนูพิราเวียร์ ขนาดเม็ดละ 200 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 4 เม็ด รวม 800 มิลลิกรัม เป็นเวลา 5 วัน (40 เม็ดต่อคนในการรักษา) โดยให้จำนวน 385 คน และให้ยาหลอก 377 คน ติดตามผลในเวลา 29 วัน พบว่า ช่วยลดอาการรุนแรงจนต้องนอนโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตลง 50% ในกลุ่มยาหลอกมีเสียชีวิต 8 ราย กลุ่มยาโมลนูพิราเวียร์ไม่มีผู้เสียชีวิตเลย
ส่วนการให้ยาแพกซ์โลวิดขนาดเม็ดละ 150 มิลลิกรัม 2 เม็ดต่อครั้ง คู่กับยาริโทนาเวียร์ 100 มิลลิกรัม 1 เม็ดต่อครั้ง ให้วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน (ยาแพกซ์โลวิด 20 เม็ดและริโทนาเวียร์ 10 เม็ดต่อคนในการรักษา) โดยให้จำนวน 389 คน และให้ยาหลอก 385 คน ติดตามผลในเวลา 28 วัน พบว่า
หากได้รับยาภายใน 3 วันนับตั้งแต่เริ่มมีอาการ ช่วยลดอาการรุนแรงจนต้องนอนโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตลง 89% หากรับยาภายใน 5 วันตั้งแต่เริ่มมีอาการประสิทธิผลจะอยู่ที่ 85% ถือว่ายาทั้ง 2 ตัวมีประสิทธิผลช่วยไม่ให้อาการรุนแรงต้องเข้าโรงพยาบาลและเสียชีวิต ไม่ว่าจะเป็นไวรัสโควิดสายพันธุ์ไหนยังไม่พบว่ามีอาการข้างเคียงรุนแรง
ยาสองตัวนี้มีคุณสมบัติต้านไวรัสโควิด-19 รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีแนวโน้มว่าจะมีอาการรุนแรง เพราะฉะนั้นถ้านำยามาใช้รักษาในเวลาอันรวดเร็วและตั้งแต่เริ่มมีอาการไม่นาน จะได้ผลการรักษาที่ดี ก็จะทำให้อัตราการรักษาในโรงพยาบาลและเสียชีวิตลดลง ถ้ายาทั้งสองตัวนี้สามารถเข้าถึงได้ง่าย ก็จะทำให้การควบคุมการระบาดโดยเฉพาะในส่วนของการรักษาผู้ที่ติดเชื้อแล้วดีขึ้น ดังนั้น ยาทั้งสองตัวคือ ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) และ ยาแพกซ์โลวิด (PAXLOVID) จะเป็นความหวังใหม่ของพวกเรา