เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2564 นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ถึงสถานการณ์โรคโควิด 19 สายพันธุ์ "โอมิครอน" ระบุว่า ทั่วโลกให้ความสนใจกับ "โอมิครอน" เป็นสายพันธุ์ที่พบใหม่ มีการกลายพันธุ์เป็นจำนวนมาก สิ่งที่ต้องการคำตอบ เร่งด่วนคือ
กลุ่มเสี่ยงใกล้ชิดชาวอเมริกัน "ติดเชื้อโควิด" รอตรวจ ยืนยัน "โอมิครอน"
พบ "โอมิครอน" รายแรกในไทยเดินทางจากสเปน
ข้อ 1 "โอมิครอน" ติดต่อง่ายจริงหรือไม่?
หลังจากพบสายพันธุ์ "โอมิครอน" ที่แอฟริกาตอนใต้ ไวรัสได้แพร่กระจาย พบในประเทศต่าง ๆ นอกทวีปแอฟริการวมแล้วเกือบ 50 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย แสดงให้เห็นว่าสายพันธุ์นี้แพร่กระจายได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ "เดลต้า" อย่างแน่นอน โดยมีอำนาจการแพร่กระจายโรคมากกว่าสายพันธุ์ "เดลต้า" อย่างน้อย 2 เท่าขึ้นไป และในอนาคตสายพันธุ์นี้จะเข้ามาแทนที่สายพันธุ์ "เดลต้า"
เปิดไทม์ไลน์ นักท่องเที่ยวชาวอเมริกัน ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ “โอมิครอน” บินเข้าไทย 30 พ.ย.64
ข้อ 2 "โอมิครอน" หลบภูมิต้านทานจากการติดเชื้อเดิม หรือวัคซีนได้หรือไม่?
ผู้ป่วยติดเชื้อที่พบขณะนี้ มีจำนวนหนึ่งฉีดวัคซีนครบแล้ว 2 เข็ม และอีกจำนวนหนึ่งถึงแม้ว่าจะเคยติดเชื้อโควิดมาก่อน ก็สามารถติดเชื้อได้ แสดงว่าภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นป้องกันได้แบบไม่สมบูรณ์ จึงเกิดการติดเชื้อได้ แต่เกือบทั้งหมดมีอาการลดลง หรือไม่มีอาการเลย วัคซีนยังสามารถป้องกันความรุนแรงของโรคได้
ข้อ 3 "โอมิครอน" ความรุนแรงของโรคเป็นอย่างไร?
ผู้ป่วยที่พบนอกทวีปแอฟริกาจำนวนมากกว่าพันราย ส่วนใหญ่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ ในทวีปแอฟริกาเอง มีการรายงานเบื้องต้น ในถิ่นระบาดของโรค พบว่าส่วนใหญ่เกือบครึ่งหนึ่งไม่มีอาการ และที่เหลือส่วนใหญ่มีอาการน้อย อย่างไรก็ตาม คงต้องรอ เพราะในระยะเริ่มต้นการติดเชื้ออาจจะยังมีอาการน้อย การเกิดปอดบวม หรือต้องเข้าโรงพยาบาล จะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง คำถามข้อนี้จึงยังไม่สามารถสรุปได้ ว่ามีความรุนแรงอย่างไร คงต้องรอคำตอบอีกประมาณ 2 สัปดาห์ก็น่าจะรู้เรื่อง แต่แนวโน้มความรุนแรงลดลง
ความสำคัญของ "โอมิครอน" อยู่ที่ "ความรุนแรงของโรค" ว่าเชื้อนี้จะลดความรุนแรงลงหรือไม่ ถึงแม้ว่าโรคนี้จะแพร่กระจายได้เป็นจำนวนมาก และหลบหลีกภูมิต้านทานได้เป็นบางส่วน ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว หรือผู้ที่เคยป่วยมาก่อน มีอาการน้อยมากหรือไม่มีอาการ เมื่อติดเชื้อแล้วไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย ก็จะช่วยกระตุ้นภูมิต้านทาน เหมือนกับโรคทางเดินหายใจที่พบอยู่ขณะนี้
และในอนาคตความจำเป็นในการต้องตรวจคัดกรองผู้สัมผัสทั้งหมด ก็ไม่มีความจำเป็น จะเป็นโรคทางเดินหายใจ ที่มักจะเป็นในเด็กที่ไม่มีภูมิต้านทาน หรือเคยติดเชื้อมาก่อน และเมื่อติดเชื้อแล้ว ก็จะมีภูมิต้านทานเกิดขึ้น การติดเชื้อครั้งต่อไปก็จะไม่มีอาการ เป็นเพียงเสริมภูมิต้านทานให้แข็งแรงยิ่งขึ้น และเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่จะมีภูมิต้านทาน โรคไวรัสทางเดินหายใจในผู้ที่แข็งแรงที่พบส่วนใหญ่ในขณะนี้ จึงไม่ได้เป็นปัญหาสำคัญ จะเป็นปัญหาในกลุ่มเสี่ยงหรือร่างกายไม่แข็งแรง ในระยะเวลาอีกไม่นานก็คงรู้คำตอบจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดที่ขณะนี้ทุกคนตั้งใจรอ