วัคซีนโควิด-19 ยังจำเป็นอยู่ไหม? ฉีดแล้วทำไมถึงยังติดโควิดได้

โดย BDMS

เผยแพร่

หลักการทำงานของภูมิคุ้มกันร่างกาย คือ เมื่อเรารับเชื้อไวรัสหรือวัคซีนที่มีหน้าตาคล้ายเชื้อไวรัสเข้าไปแล้ว ร่างกายจะจดจำไว้ และส่งภูมิคุ้มกันของร่างกายออกมาต่อสู้ เมื่อมีการพบเชื้อแบบนั้นอีกในอนาคต 

ในร่างกายเราเซลล์ที่จดจำว่าเชื้อโรคหน้าตาเป็นอย่างไร คือ Memory B Cell ซึ่งในแต่ละคนจะมีความสามารถจดจำเซลล์ตัวนี้ไม่เหมือนกัน คล้ายกับความจำของบุคคล บางคนอ่านหนังสือรอบเดียวก็จำได้ บางคนต้องอ่านหลายรอบเป็นต้น วิจัยทางการแพทย์แทบทุกฉบับล้วนมีข้อมูลตรงกันว่า Memory B Cell จะสามารถจดจำหน้าตาโปรตีนหนามสไปค์จากการฉีดวัคซีนได้ดีกว่าการติดเชื้อตามธรรมชาติ 

4 อาการ Long Covid พบบ่อย ส่งผลต่อ "ระบบหัวใจและปอด" หลังป่วยโควิด-19

อาการ Long Covid หลังติดเชื้อโควิด 19 โอกาสที่เป็น พบได้บ่อย และเป็นนานขนาดไหน

การติดเชื้อตามธรรมชาติ Memory B Cell มักจะจดจำหน้าตา ตำแหน่งของโปรตีนหนามสไปค์ที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ต่อการทำงานยับยั้งของไวรัส แตกต่างจากการฉีดวัคซีน ที่กระตุ้นให้ Memory B Cell จดจำโปรตีนหนามสไปค์ได้เฉพาะเจาะจง 

วัคซีนในปัจจุบันนี้ ผลิตจากรหัสพันธุกรรมของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิมหรือสายพันธุ์อู่ฮั่น ไวรัสในธรรมชาติ วัคซีนจึงมีความใกล้เคียงกันมาก ทำให้ประสิทธิภาพวัคซีนต่อการกระตุ้น การจดจำ Memory B Cell มีสูงมาก แต่เมื่อเชื้อกลายพันธุ์ไป โปรตีนหนามสไปค์มีหน้าตาแตกต่างจากสายพันธุ์เดิม ส่งผลให้การจดจำ Memory B Cell ที่ได้จากวัคซีนเข็มแรกๆ หรือการติดเชื้อครั้งก่อนมีประสิทธิภาพลดลง ทำให้พบกรณีคนติดโควิดซ้ำ หรือ ติดโควิดทั้งที่ฉีดวัคซีนแล้วอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตามไวรัสโควิด-19  มีการกลายพันธุง่าย และหลบภูมิคุ้มกันได้เก่ง หน้าตาของโปรตีนหนามสไปค์มักเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามสายพันธุ์ ดังนั้น Memory B Cell ของร่างกายอาจจะจดจำได้บ้างไม่ได้บ้าง จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราต้องฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น

ที่มา : บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) : BDMS

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ