ท้องผูกปัญหากวนใจ สาเหตุของโรคทางลำไส้อันตรายที่คาดไม่ถึง!

โดย BDMS

เผยแพร่

การขับถ่ายในทุกวันเป็นเรื่องที่สำคัญมาก แต่หากไม่สามารถขับถ่ายได้อย่างปกติ อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่คาดไม่ถึงได้

ปัญหาในเรื่องการขับถ่ายหรืออาการท้องผูก เป็นปัญหาสุขภาพที่หลายคนต้องเคยเจอ แล้วถ้าปล่อยไว้หลายวันก็ยิ่งอึดอัดไม่สบายตัว ไม่สบายใจ แล้วมันเกิดจากอะไรกันแน่?

หากใครที่มีปัญหานี้อยู่ไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด เพราะถ้าปล่อยไว้นานอาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเรื้อรังตามมาได้อีกมากมาย อย่างโรคริดสีดวงทวาร ภาวะอุจจาระอุดตัน ภาวะกลั้นอุจจาระไม่ได้ หรืออาจร้ายเเรงจนเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ได้

เช็กอาการ!! ปวดแบบไหน เข้าข่ายข้อเข่าเสื่อม

แอปฯ SPRING UP เปิดตัว 2 ฟีเจอร์สุดเจ๋ง! ที่ช่วยควบคุมปริมาณน้ำตาลในอาหาร

เช็กพฤติกรรมเสี่ยง มีอะไรบ้างที่ทำให้ส่งผลต่อสุขภาพลำไส้จนทำให้ขับถ่ายได้ยาก 
1. กลั้นอุจจาระไว้นานๆ ไม่ยอมถ่ายเมื่อปวด
2. รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยหรือดื่มน้ำน้อย
3. ทานยาระบายหรือดีท็อกลำไส้เพื่อให้หน้าท้องแบน
4. การทานยากลุ่มประเภทจิตเวช หรือยาลดความดันโลหิต
5. ไม่ออกกำลังกาย หรือทำงานอยู่กับที่  เคลื่อนไหวร่างกายน้อย
6. ความเครียดสะสม หรืออยู่ในภาวะกดดัน 
7. เปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ช่วงระหว่างการเดินทางทำให้กินนอนไม่ตรงเวลา

หากกำลังมีพฤติกรรมตามที่กล่าวมานี้ แน่นอนว่ามีความเสี่ยง นอกจากนี้โรคภัยไข้เจ็บบางโรคก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ขับถ่ายยากได้เช่นกัน เช่น โรคเบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ แคลเซียมในเลือดสูง โรคทางสมองและไขสันหลัง ตลอดจนโรคลำไส้แปรปรวน

เราเคยได้ยินว่าควรขับถ่ายให้ได้อย่างน้อยวันละครั้ง  แต่ว่าร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน หากใครที่ขับถ่ายวันละ 2-3 ครั้ง ก็ไม่ได้ถือว่าการขับถ่ายมีปัญหา จริง ๆ แล้วอาการท้องผูกไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้ง หรือความสม่ำเสมอในการขับถ่าย ตราบใดที่เราสามารถถ่ายได้อย่างสบาย ๆ ไม่ต้องเบ่ง อุจจาระนิ่มจับตัวเป็นก้อนดี แสดงว่าการขับถ่ายเป็นปกติ

อาการแบบไหนที่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า เรากำลังมีอาการ "ท้องผูก"
1. อุจจาระแข็ง
2. ใช้เวลานานในการเบ่งถ่าย
3. ขณะเบ่งถ่ายมีความเจ็บปวด
4. มีเลือดปนออกมากับอุจจาระ
5. หลังถ่ายอุจจาระเรียบร้อยแล้วยังมีความรู้สึกถ่ายไม่หมดหรือถ่ายอุจจาระไม่สุด
6. ความถี่ในการขับถ่ายอุจจาระลดลงกว่าปกติ
7. ท้องอืด ปวดท้อง หรือปวดเกร็งบริเวณหน้าท้อง

อาการการท้องผูกจนต้องออกแรงเบ่งถ่ายอุจจาระบ่อย ๆ ยังทำให้เกิดผลร้ายตามมามากมาย เช่น
1. โรคริดสีดวงทวาร
2. ลำไส้อุดตัน
3. แรงดันในช่องท้องสูงขึ้นจนเป็นสาเหตุของไส้เลื่อน
4. กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานอ่อนแอ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
5. โรคลำไส้อักเสบ 
6. อาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ดังนั้น หากใครที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ก็ควรรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารหรือการใช้ชีวิต แต่หากพยายามปรับแล้วแต่ไม่ดีขึ้น แล้วรู้สึกอ่อนเพลีย น้ำหนักลด ปวดท้องอย่างรุนแรงแต่ไม่ถ่าย ก็แนะนำว่าให้รีบไปพบแพทย์ทันที

" BIOFEEDBACK " ทางเลือกแก้ปัญหาคนท้องผูกเรื้อรัง

เช็กอาการ "ซิฟิลิส" ไม่รีบรักษาโรคลุกลามทำลายอวัยวะอื่นๆ

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ