"เปิดช่องโหว่จิตอาสาโกงคิวฉีดวัคซีนบางซื่อ" มูลค่าเสียหาย 7 ล้านบาท

โดย PPTV Online

เผยแพร่

เปิดหลักฐานทุจริตการจองคิวฉีดวัคซีนโควิด-19 สถานีกลางบางซื่อ เรียกเก็บเงิน 400-1,200 บาทต่อคน พบช่องโหว่จิตอาสาแอบกรอกข้อมูลเข้าระบบกลางดึก ขณะที่มูลค่าความเสียหายอยู่ที่ราว 7 ล้านบาท พร้อมวาง 4 แนวทางแก้ไข

แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง และผู้อำนวยการศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ เปิดเผย กระบวนการทุจริตการจองคิวฉีดวัคซีนโควิด-19 สถานีกลางบางซื่อ  เมื่อวันที่ 28 ก.ค.ที่ผ่านมา พบว่า

จับโป๊ะ สวมสิทธิฉีดวัคซีนบางซื่อ 2,000 สิทธิ

ไม่ใช่แฮก! พบ 19 อาสาสมัครลงทะเบียน ต้องสงสัยเก็บค่าหัวฉีดวัคซีนบางซื่อ

วันที่ 18 ก.ค. เริ่มตรวจพบความผิดปกติในการนัดหมายล่วงหน้าที่คาดว่าอาจจะมีการ ทุจริต เกิดขึ้น  คือ พบว่ามีจำนวนการนัดล่วงหน้าสูงกว่าปกติที่เจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ ได้นำเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล โดยในวันที่ 20-27  ก.ค. พบตัวเลขผิดปกติประมาณหลักสิบราย และ  28-31 ก.ค เพิ่มจำนวนนัดมากกว่าปกติเป็น หลักพันราย 

ขณะเดียวกัน ยังพบความผิดปกติของช่วงเวลาในการอัปโหลดข้อมูลการนัดล่วงหน้าเข้าสู่ระบบ คือ ในช่วงสัปดาห์ดังกล่าว ทางศูนย์ฯ  งดรับการนัดล่วงหน้าจากองค์กรภายนอกเกือบทั้งหมด (ยกเว้นบางหน่วยงาน เช่น การนัดของกระทรวงต่างประเทศซึ่งได้ส่งนัดหมายการฉีดวัคซีนสำหรับผู้สูงอายุต่างชาติวันละประมาณ 400 คนเท่านั้น และเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จภายในเวลา 18.00 น. ของแต่ละวันแล้ว

แต่พบว่า ยังมีการอัปโหลดส่งข้อมูลนัดหมายล่วงหน้าอีกในเวลาหลัง 22.00 น.ของทุกวัน ในช่วงวันที่ 28-31 ก.ค.2564 รวมแล้วประมาณ 7,000 คน ประกอบกับทางศูนย์ฯ ได้รับแจ้งเบาะแสว่ามีการซื้อขายเพื่อรับคิวการฉีดวัคซีนจากประชาชนเป็นจำนวนมากพอสมควร จึงได้ทำการตรวจสอบและพบว่า มีการเพิ่มจำนวนนัดล่วงหน้าโดยทุจริตจาก Users 19 login ซึ่งอยู่ในกลุ่มจิตอาสา ที่ได้รับการเพิ่มสิทธิในการนำเข้า/แก้ไขข้อมูลผู้รับบริการในช่วงเปิดบริการแบบ walk-in

เปิดใจทีม Jitasa.care ผู้สร้างปุ่ม SOS บนแผนที่ดิจิทัลช่วยคนติดโควิด

ต่อมาจึงได้ วางแผนจับกุมเพื่อสืบให้ได้ถึงผู้กระทำผิดรายใหญ่/ทั้งหมด 

วันที่ 28 ก.ค. ซึ่งเป็นวันแรกที่มีคิวนัดล่วงหน้าเพิ่มมากกว่าปกติกว่า 2,000 คน ทางศูนย์ฯ ได้ดำเนินกลยุทธ์ขุดบ่อล่อปลาให้ผู้ที่ซื้อคิวโดยทุจริตเหล่านี้เดินทางมารับบริการที่ศูนย์ฯ  เมื่อตรวจเช็คแล้วว่า เริ่มมีการลงทะเบียนไปประมาณ 600 คน จากจำนวน 2000 กว่าคนนั้น  ทางศูนย์ฯ จึง แจ้งยกเลิกคิวการฉีดของทั้ง 2,000 กว่าคนทั้งหมด  เพื่อบีบให้คนเหล่านี้แสดงตัวขอความช่วยเหลือ/ร้องเรียนกับเจ้าหน้าที่ 

โดยได้จัดสถานที่ไว้เป็นการเฉพาะ พร้อมทั้งให้ พญ.มิ่งขวัญ  ผู้อำนวยการศูนย์ฯ  เข้าไปชี้แจง/ขอความร่วมมือเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลของตัวการผู้ที่อยู่เบื้องหลังการทุจริตในครั้งนี้  และสามารถรวบรวมผู้ทำนัดโดยทุจริตนี้ได้ มากกว่า 300 คน ซึ่งได้ให้การเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินคดี

โดยข้อมูลจากการสอบสวนเบื้องต้น พบว่า การซื้อคิวนัดดังกล่าว มีทั้งซื้อเอง ญาติหรือนายจ้างซื้อให้  และมีการจ่ายเงินทั้งแบบเงินสดและการโอนเงินในอัตรา 400-1200 บาทต่อคิว ซึ่งขณะนี้ทางศูนย์ฯ ได้รับข้อมูลรายชื่อและเลขที่บัญชีธนาคารที่ใช้รับโอนของกลุ่มมิจฉาชีพดังกล่าวแล้ว  จึงได้ให้นิติกรกรมการแพทย์เป็นผู้แทนในการดำเนินการแจ้งความต่อตำรวจ สน.นพวงศ์ ในฐานะผู้เสียหายต่อไปแล้ว 

การทุจริตลงทะเบียนวัคซีนครั้งนี้ พบการจ่ายเงินจองคิวไปจนถึงวันที่ 8 ส.ค. หากไม่มีการสกัดจับกระบวนการดังกล่าวไว้ก่อน ซึ่งมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นอยู่ที่ราว 7 ล้านบาท  แพทย์หญิงมิ่งขวัญ ระบุ 

อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ ทางกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางได้ดำเนินการสอบสวนเบื้องต้นกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตลอดจนจิตอาสาทั้ง 19 คนนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้ขอความร่วมมือกับ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) เพื่อสอบสวนหาหลักฐานเชิงลึกและดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป ซึ่งพบว่ามีจิตอาสาต้องสงสัยจริงๆ  11 คน 

วาง 4 แนวทางการแก้ไขไม่ให้เกิดกรณีทุจริตดังกล่าวในอนาคต 

1.ได้ยกเลิกนัดล่วงหน้าที่ผิดปกติซึ่งตรวจพบระหว่างวันที่ 28-31 ก.ค. ทั้งหมด

2.ยกเลิก login-users เดิมทั้งหมดและให้สิทธิในการเพิ่มเติม/แก้ไขข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ IT ภายในของกรมการแพทย์และสถาบันโรคผิวหนังเท่านั้น

3.ปิดระบบทำการทั้งหมดในช่วงกลางคืนเพื่อป้องกันการ vpn เข้ามาทำการนอกเวลางาน

4.ตรวจสอบข้อมูลความผิดปกติของการนัดล่วงหน้าและการนำเข้าข้อมูลอย่างต่อเนื่อง โดยในขณะนี้ได้ยกเลิกการนัดผิดปกติเพิ่มเติมถึงวันที่ 8 ส.ค. 2564 แล้ว

 

โปรแกรมถ่ายทอดสด โอลิมปิก 2020 ประจำวันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม 2564

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ