รู้จักธงสัญลักษณ์ "Pride Month" ของชาว LGBTQIAN+ ทำไมต้องเป็นสีรุ้ง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ทำความรู้จักธงสัญลักษณ์ "Pride Month" ไขข้อสงสัยทำไมถึงสำคัญกับชาว "LGBTQIAN+" และเป็นสีรุ้ง

ในเดือนมิถุนายนนี้ หลายคนคงเริ่มสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงทั้งการเปลี่ยนโลโก้องค์กร การตกแต่งสถานที่ หรือการประดับดาอาคารต่างๆ ด้วยธงสีรุ้งเต็มไปหมด

แต่ทำไมถึงต้องเป็นสีรุ้งนั้น วันนี้ พีพีทีวี นิวมีเดีย ได้รวบรวมคำตอบมาฝากกัน!

มิถุนายนเดือนของ "Pride Month" 

เดือนมิถุนายน ถือเป็นเดือนแห่งความภาคภูมิใจในความหลากหลายของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศทั่วโลก ที่จะออกมาเดินขบวนพาเหรด สวมชุดสีรุ้ง หรือประดับประดาตกแต่งอาคารบ้านเรือนด้วยธงหลากสี

คอนเทนต์แนะนำ
โปรแกรมการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ศึกเนชั่นส์ ลีก 2023 วันที่ 2 มิ.ย.66
ประกาศฉบับที่ 5 เตือน “คลื่นลมแรง-ฝนตกหนักถึงหนักมาก”
ตรวจหวยงวดนี้ - ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 1 มิถุนายน 2566 ลอตเตอรี่ 1/6/66

 

 

เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ จลาจลสโตนวอลล์ (Stonewall Riots) อันเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียมให้แก่กลุ่มความหลากหลายทางเพศมาจนถึงปัจจุบัน

"ธงไพรด์" สัญลักษณ์ของ LGBTQIAN+

ส่วนทำไมถึงต้องมีการออกมาเดินขบวนพาเพรด สวมชุด หรือถือธงสีรุ้งกันนั้น

มีจุดเริ่มต้นมาจากการคิดค้นขึ้นของ "กิลเบิร์ต เบเกอร์" ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากธงชาติของสหรัฐอเมริกาในวาระฉลองครบรอบ 200 ปี  ในปี 1976

เขามองว่า "สีรุ้ง" เป็นการรวมตัวกันของหลายสีมาเป็นหนึ่งเดียวเพื่อสร้างสีสัน เหมือนกับความหลากหลายทางเพศ เป็นที่มาว่าสีรุ้งจึงเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือที่เรียกว่า "LGBTQIAN+" นั่นเอง

เปิดความหมายแต่ละสีบนธงไพร์ด

แรกเริ่มธงนี้มีดด้วยกันทั้งหมด 8 สี ได้แก่

  • สีแดง หมายถึง ชีวิต
  • สีส้ม หมายถึง การเยียวยา
  • สีเหลือง หมายถึง แสงอาทิตย์ที่ส่องสว่าง
  • สีเขียว หมายถึง ธรรมชาติ
  • สีน้ำเงินม่วง หมายถึง ความสามัคคี
  • สีม่วง หมายถึง จิตวิญญาณอันแน่วแน่
  • สีชมพู (Hotpink) หมายถึง เรื่องเพศ
  • สีฟ้า (Turquoise) หมายถึง เวทมนต์

แต่ภายหลังได้ลดจำนวนของสีบนธงลงเหลือเพียง 6 สี โดยสีที่ถูกถอดออกคือ สีชมพู (Hot pink) และ สีฟ้า (Turquoise) เนื่องจากเป็นสีที่มีความพิเศษ ทำให้ยากต่อการผลิต แต่ถึงแม้ว่าจะถูกลดทอนสีลง แต่ความหมายของสีต่างๆ ยังคงเป็นเช่นเคย

"ธงไพรด์" ไม่ได้มีแค่สีรุ้ง

อัตลักษณ์ทางเพศเป็นเรื่องที่มีความหลากหลายซับซ้อน และยังมีชุมชนเล็กๆ อีกมากมายที่ยังไม่มีจุดยืนในสังคมมากนัก ทำให้ธงไพรด์ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบมาโดยตลอดในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา เราจึงไม่ได้เห็นธงไพรด์มีแค่สีรุ้งเท่านั้น โดยธงไพรด์หลากสีที่นอกเหนือจากธงของ “กิลเบิร์ต เบเกอร์” ที่เป็นที่นิยมกัน มีดังนี้

คอนเทนต์แนะนำ
"วันวิสาขบูชา 2566" ตรงกับวันไหน พร้อมเปิดประวัติ-ความสำคัญ
เปิดสถิติหวย งวด 16 มิ.ย. ย้อนหลัง 15 ปี
"Pride Month" คืออะไร ทำไมตรงกับเดือนมิถุนายนและสำคัญกับ "LGBTQIAN+"

  • Philadelphia Pride Flag

ธงที่เพิ่มสีดำ และน้ำตาลเข้าไปในปี 2017 เพื่อเป็นตัวแทนของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศที่เป็นชาวผิวสี เพื่อสนับสนุนกลุ่มคนเหล่านั้น ที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากมากกว่าธรรมดา

Philadelphia Pride Flag

  • Progress Pride Flag

ธงที่พัฒนามาจาก Philadelphia Pride Flag คิดค้นขึ้นโดย “แดเนียล ควาซาร์” ในปี 2018 โดยสีของธงยังคงมีสีดำและน้ำตาลอยู่ แต่เพิ่มสีชมพูและสีฟ้าเข้าไป เพื่อสะท้อนถึงทรานส์เจนเดอร์หรือคนข้ามเพศเข้าไปด้วย

Progress Pride Flag

  • Intersex-Inclusive Progress Pride Flag

Intersex เป็นคำจำกัดความที่ให้ความหมายครอบคลุมถึงบุคคลที่มีร่างกายหรืออวัยวะเพศที่ไม่ตรงตามการแบ่งเพศหญิงหรือชาย

สำหรับธงนี้ คิดค้นขึ้นโดย “วาเลนติโน่ เวคคิเอตติ” คอลัมนิสต์จาก Intersex Equality Rights องค์กรการกุศลที่สนับสนุนสิทธิความเท่าเทียมของอินเตอร์เซ็กส์ ประจำสหราชอาณาจักร

โดยเขาเลือกใส่สีทองหรือสีเหลือเข้าไป เพราะเป็นสีที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องราวของ “มานี่ มิตเชลล์” ชาวอินเตอร์เซ็กส์ คนหนึ่งที่ต้องการจะให้คำว่า “Hermaphrodite” ซึ่งเป็นคำที่เคยถูกใช้ในการดูถูก ให้กลับกลายมาเป็นคำปกติ

ขณะที่ใช้สัญลักษณ์วงกลมสีม่วงวางไว้ตรงกลางธง ซึ่งวงกลมหมายถึงการไม่ได้บกพร่อง มีความสมบูรณ์ดี และชาวอินเตอร์เซ็กส์มีสิทธิที่จะตัดสินใจอะไรก็ได้ในร่างกายของพวกเขา

Intersex-Inclusive Progress Pride Flag

  • Queer Pride Flag

ธงที่สร้างขึ้นในปี 2015 ที่แสดงถึงทุกแง่มุมของเพศทางเลือก โดยมีสีชมพูและสีน้ำเงินแสดงถึงความดึงดูดระหว่างเพศเดียวกัน ในขณะที่แถบสีส้มและสีเขียว หมายถึงกลุ่มนอนไบนารีและบุคคลไม่ระบุเพศ ส่วนแถบสีดำและขาว เป็นสัญลักษณ์ของคนไร้เพศ อะโรมาติก และกลุ่มคนรักร่วมเพศ

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของธงไพรด์ ยังมีธงหลากสีอีกมากมายที่เป็นสัญลักษณ์ของความหลากหลายทางเพศให้เราได้เข้าไปลองเข้าไปศึกษากัน แต่สิ่งสำคัญคือสิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพโดยปราศจากการแบ่งแยก ไม่ว่าเขาจะมีเชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือทางอื่นที่แตกต่างกันก็ตาม

Queer Pride Flag

ขอบคุณข้อมูลจาก : เว็บไซต์ HRC และ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล

"บางกอกไพรด์ 2023" ชวนชมขบวนแห่สีรุ้ง ถ่ายรูปกับ "6 ทูตนฤมิต"

รวมที่เที่ยวงาน "Pride Month" เช็กจุดถ่ายรูป-เดินไพรด์พาเหรด

TOP ไลฟ์สไตล์
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ