Kamala Harris D

Kamala Harris

0

Donald Trump R

Donald Trump

0

270 To Win

รวม “3 หลักธรรมเกี่ยวกับวันวิสาขบูชา” คำสอนที่ชาวพุทธควรปฏิบัติ

โดย PPTV Online

เผยแพร่

“วันวิสาขบูชา” วันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึง 3 เหตุการณ์ และยังเกิดเป็นหลักธรรมคำสอนให้ชาวพุทธได้ยึดถือปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน

“วันวิสาขบูชา” ในปี 2567 นี้ ตรงกับวันพุธที่ 22 พฤษภาคม วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่พุทธศาสนิกชนพึงระลึกถึงอยู่เสมอ เพราะได้เกิดเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และนั่นทำให้เกิดเป็น “หลักธรรมคำสอน” ที่สำคัญ และสามารถนำมาเผยแผ่ต่อชาวพุทธ เพื่อเป็นแนวทางในการยึดถือปฏิบัติในการดำเนินชีวิตอย่างสงบสุข

มาศึกษาหลักธรรมเหล่านี้ กับ “3 หลักธรรม ในวันวิสาขบูชา”

คอนเทนต์แนะนำ
"วันวิสาขบูชา 2567" ตรงกับวันไหน พร้อมเปิดประวัติ-ความสำคัญ
“คำกล่าวถวายภัตตาหาร” รับบุญกุศล ในวันวิสาขบูชา 2567
ประวัติ “ข้าวมธุปายาส” อาหารที่เกี่ยวข้องกับวันวิสาขบูชา

 

สามเณรนั่งสมาธิหน้าพระพุทธรูป Shutterstock/SantiPhotoSS
การฝึกฝนในธรรม

3 หลักธรรมในวันวิสาขบูชา

1. ความกตัญญู

ความกตัญญูหรือการรู้คุณคน มาคู่กับคำว่า “กตเวที” หมายถึง การตอบแทน การมีความกตัญญูกตเวที ส่งผลให้ครอบครัวมีความสุข และทำให้สังคมน่าอยู่มากขึ้น เพราะความกตัญญู ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติต่อพ่อแม่อย่างเดียว แต่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับคุณครูและศิษย์ นายจ้างกับลูกจ้าง เป็นต้น

ความกตัญญู อริยสัจ 4 และความไม่ประมาท หลักธรรมสำคัญวันวิสาขบูชา พีพีทีวี
หลักธรรมสำคัญวันวิสาขบูชา

2. อริยสัจ 4 

คือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ในวันวิสาขบูชา ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

  • ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิต สภาวะที่ทนได้ยาก ทำให้เกิดความทุกข์ใจ ไม่ว่าจะเป็นการเกิด การแก่ เจ็บ และการตาย ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญ รวมถึงทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก
  • สมุทัย คือ ต้นเหตุของปัญหา หรือสาเหตุของการเกิดทุกข์ ซึ่งส่วนใหญ่ของปัญหา เกิดจาก “ตัณหา” ได้แก่ ความอยากได้ อยากมี อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
  • นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เป็นสภาพที่ความทุกข์หมดไป เพราะสามารถดับกิเลส ตัณหา อุปาทานออกไปได้
  • มรรค คือ หนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ เป็นการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา มี 8 ประการ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ (ปัญญาอันเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา (การเจรจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีพชอบ) สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ) สัมมาสติ (ความรำลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ)

3. ความไม่ประมาท 

คือการมีสติอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำ พูด หรือคิดอะไร ล้วนต้องใช้สติ เพราะสติ คือการระลึกได้ การระลึกได้อยู่เสมอจะทำให้เราใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท และความประมาทจะทำให้เกิดปัญหายุ่งยากตามมา

ขอบคุณข้อมูล: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง, มูลนิธิอุทธยานธรรมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ตรวจหวยงวดนี้ - ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 16 พฤษภาคม 2567 ลอตเตอรี่ 16/5/67

โปรแกรมวอลเลย์บอลหญิง เนชันส์ ลีก 2024 - VNL 2024 วันพฤหัสบดีที่ 16 พ.ค. 67

6 ผักป้องกันไขมันพอกตับ กำจัดสารพิษ สรรพคุณช่วยป้องกันมะเร็งตับได้

BTM-US-ELECTION2024 BTM-US-ELECTION2024

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ