หากย้อนกลับไปเมื่อปี 2021 ข้อมูลจาก Morgan Stanley พบว่า มีบริษัทเอกชนที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับธุรกิจอวกาศมากกว่า 10,000 บริษัททั่วโลก และมูลค่าของธุรกิจอวกาศทั่วโลกแตะระดับ 337,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามรายงานของ Euroconsult ปี 2021 ในส่วนของประเทศไทยมีมูลค่าที่ราว 5 หมื่นล้านบาท
คุยกับ ผู้นำ NIA ดร.พันธุ์อาจ กับแนวคิดติดปีกสตาร์ทอัพให้โตไวในสนามพื้นที่เศรษฐกิจ อีอีซี
NIA ผนึกกำลังพันธมิตรรังสรรค์เทคโนโลยีอวกาศ
โควิดวันนี้ (2 พ.ค.) ติดเชื้อ 9,331 ราย ดับลดลง 84 ราย
อย่างไรก็ตาม เชิงมูลค่าของระบบเศรษฐกิจอวกาศภาพรวมและการนำข้อมูลมาใช้มีแนวโน้มการเติบโตที่ก้าวกระโดด โดยคาดว่าภายในปี 2040 มูลค่าของธุรกิจอวกาศโดยรวมอาจสูงถึง 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
อีกด้านหนึ่งอุตสาหกรรมอวกาศถือเป็นเครื่องยนต์ตัวหนึ่งที่จะนำพาประเทศไทยให้พ้นกับดักกลุ่มประเทศปานกลาง การส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมชั้นสูงจะช่วยเพิ่มมูลค่าทั้งภาคการผลิตและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอื่นๆ ของประเทศ ไปได้พร้อมๆ กัน เช่น อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่กำลังใช้หุ่นยนต์เข้ามาแทนที่กำลังคน และอุตสาหกรรมอวกาศจะช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมดังกล่าวนี้เติบโตได้อีก เนื่องจาก 40-70% ของมูค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในอวกาศเป็นไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
และถ้ามาพูดถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอวกาศ ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA มองว่า กลไกของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยบริการด้านอวกาศมีความหลากหลายโดยอาศัยเทคโนโลยีชั้นสูงเพื่อสร้างนวัตกรรต่างๆ จะเป็นจุดที่ทำให้เกิดโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอวกาศ เช่น การพัฒนาจรวดและดาวเทียม การให้บริการอินเทอร์เน็ตด้วยดาวเทียม เพิ่มประสิทธิภาพตำแหน่งของสมาร์ทโฟนด้วยดาวเทียม และการพัฒนาอาหารสำหรับมนุษย์อวกาศ การพัฒนาชัดมนุษย์อวกาศ และการเก็บขยะอวกาศ เป็นต้น
และหากให้เห็นภาพที่ใกล้ตัวมากขึ้น ดร.พันธุ์อาจ ขยายความว่า ธุรกิจอวกาศจะมาช่วยเพิ่มศักยภาพธุรกิจเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น เช่น การพยากรณ์อากาศ ธุรกิจพลังงาน ธุรกิจการสื่อสาร ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจเกี่ยวกับการเดินทาง ธุรกิจการบิน และการพัฒนาเมืองเป็นต้น
7 รูปแบบ"ชักชวนลงทุน"ที่พบบ่อยที่สุด เสี่ยงเข้าข่ายหลอกลวง
แล้วผู้ประกอบการที่จะมาลงสนามในธุรกิจอวกาศมีมากน้อยแค่ไหน? เพราะเมื่อมีนโยบาย มีเป้าหมายและทิศทางชัดเจน ย่อมต้องมีกำลังภาคธุรกิจเข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อน
ดร.พันธุ์อาจ อธิบายว่า ประเทศไทยมีผู้ประกอบการธุรกิจอวกาศมากกว่า 1,000 ราย ทั้งในธุรกิจที่เป็นต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ โดยมีมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 30,000 ล้านบาท อัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อปี โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ EEC มีโรงงานผลิตชิ้นส่วนดาวเทียมหลานสิบโรงงาน รวมถึงมีโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนตร์บางส่วนที่เริ่มสนใจ ปรับเปลี่ยนมาผลิตชิ้นส่วนดาวเทียม
ภาคขนส่ง ปรับขึ้นราคา 15-25% ตามน้ำมันดีเซล
ปี 2021 ผู้ประกอบการที่เชื่อมโยงกับ BCG ของความช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ถึง 152.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นทะลุ 100% (123%) จากปีก่อนหน้า แอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้อง 746 โครงการในปี 2021 เพิ่มขึ้น 53% จากปีก่อนหน้าและในช่วง 7 ปี มีโครงการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 2,996 โครงการ มูลค่า 675.8 พันล้านบาท
และแน่นอนว่า ผู้ที่เข้ามาบทบาทในการเฟ้นหาผู้ประกอบการด้านนี้เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจอวกาศให้บรรลุเป้าหมาย คือ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ซึ่งทำหน้าที่เป็นบูรณาการระบบ เพื่อเชื่อมโยงให้เกิดแนวร่วมจากทั้งภาครัฐและเอกชนให้การขับเคลื่อนระบบนิเวศ Deep Tech Startup โดยตั้งเป้าในเกิดขึ้นในประเทศไทย 100 ราย ภายใน 2566 เพราะจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโมเดลธุรกิจและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยคาดว่าสวาขาเศรษฐกิจนี้สามารถเพิ่มมูลค่าได้ถึง 4.4 ล้านล้านบาท หรือ 24% ของจีดีพีในอีก 5 ข้างหน้า