“กูเกิล” อัปเดตเอไอ “Bard” ตอนนี้สื่อสารได้ถึง 40 ภาษาแล้ว

โดย PPTV Online

เผยแพร่

กูเกิลอัปเดตเอไอแชตบอต “Bard” คู่แข่ง ChatGPT ให้สามารถสื่อสารได้ถึง 40 ภาษา และสามารถตอบผู้ใช้ด้วย “เสียง” ได้แล้ว

ปัจจุบันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) มีการพัฒนาความสามารถอยู่ตลอดเวลา ที่หลายคนสนใจเป็นพิเศษคือแชตบอตสำหรับถามตอบและเขียนบทความอย่าง ChatGPT และคู่แข่งจากกูเกิลอย่าง “บาร์ด” (Bard) ซึ่งชื่อมีความหมายว่า “นักกวี”

บาร์ดเปิดตัวเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เป็น Generative AI แบบ text-based ที่ถูกพัฒนาโดย Google โดยมีหลักการทำงานคือ รับคำถามจากผู้ใช้งาน แล้วสร้างคำตอบขึ้นมา 3 คำตอบที่แตกต่างกัน โดยเราสามารถแก้ไขคำตอบที่ถูกสร้างขึ้นมาได้หรือให้มันสร้างคำตอบขึ้นมาใหม่ก็ได้

คอนเทนต์แนะนำ
เปิดสถิติหวย งวด 1 ส.ค. ย้อนหลัง 15 ปี
ประกาศ ฉบับ 8 พายุ “ตาลิม”จ่อขึ้นฝั่ง! ไทยโดนฝนถล่มหลายพื้นที่
สรุปอันดับแข่งขัน 16 ทีม ศึกวอลเลย์บอลเนชั่นส์ ลีก 2023

 

 

 

นอกจากนี้ คาดว่าบาร์ดจะทำให้ชีวิตคนเราง่ายขึ้นและเติมเต็มความรู้ให้กับมนุษย์ได้ เพราะนอกจากจะสามารถสืบค้นข้อมูลและตอบคำถามได้แล้ว มันยังสามารถทำงานในลักษณะของระบบอัตโนมัติเพื่อทำตามคำสั่งได้ด้วย เช่น การจองโต๊ะร้านอาหาร หรืออาจทำได้ถึงซื้อตั๋วเครื่องบินเลยก็ได้

ยอดผู้ใช้งาน “Threads” เริ่มลดลง หลังเปิดตัวได้ไม่ถึง 10 วัน

ครั้งแรก! หุ่นยนต์เอไอร่วมแถลงข่าว ยันไม่คิดก่อกบฏ-แย่งงานมนุษย์

Apple เผยโฉมแว่นตา AR เปิดราคา 120,000  บาท เริ่มขายปีหน้า

ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา บาร์ดที่เปิดตัวใหม่นั้นยังเป็นเวอร์ชันเบตาอยู่ ทำให้บางครั้งเกิดเหตุการณ์ตอบผิดกับคำถามง่าย ๆ จนหลายคนยังไม่ค่อยสนใจมากนัก ซึ่งกูเกิลได้พยายามพัฒนาแก้ไขมาโดยตลอด

ล่าสุด มีรายงานว่า บาร์ดได้ถูกอัปเดตใหม่ให้สามารถเข้าใจภาษาได้มากถึง 40 ภาษาเช่น จีน เยอรมัน ฮินดี และสเปน รวมถึงสามารถตอบโต้ผู้ใช้ด้วย “เสียง” ได้แล้ว หลังก่อนหน้านี้ตอบโต้ได้ผ่านทางข้อความเท่านั้นจน

การอัปเดตล่าสุดนี้ยังมีฟีเจอร์ที่น่าสนใจให้ผู้ใช้สามารถเลือกสำเนียงการออกเสียงของบาร์ดได้ด้วย เช่น เสียงปกติ ยาว สั้น แบบทางการและไม่เป็นทางการ แต่ฟีเจอร์นี้ยังใช้ได้แค่ภาษาอังกฤษและจะมีการอัพเดตให้ใช้กับ 40 ภาษาที่เพิ่มเข้ามาในภายหลัง

นอกจากนี้ผู้ใช้งานยังสามารถคัดลอกโค้ดไพธอนที่สร้างโดยบาร์ดไปยัง Replit (โปรแกรมเขียนโค้ดชนิดหนึ่ง) ได้อีกด้วย

ปัจจุบัน บาร์ดเปิดให้ใช้งานได้ฟรี ๆ ใน 180 ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย โดยเมื่อผู้สื่อข่าวลองถามบาร์ดไปว่า “ใครสามารถใช้งานบาร์ดได้บ้าง?” มันก็ตอบว่า “ทุกคนสามารถใช้ฉันได้ตราบเท่าที่พวกเขาสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ทดสอบที่เชื่อถือได้ อย่างไรก็ตาม ฉันยังอยู่ระหว่างการพัฒนา และฉันไม่ได้สมบูรณ์แบบเสมอไป บางครั้งฉันอาจทำผิดพลาดหรือไม่เข้าใจคำขอของคุณ หากคุณมีปัญหาใด ๆ โปรดแจ้งให้เราทราบ เราจะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อช่วยเหลือคุณ”

สำหรับการอัปเดตล่าสุดนี้ แจ็ก ครอว์ซิก หัวหน้าผลิตภัณฑ์บาร์ด และอาร์มาแน็ก  อมรนาค สุพรหมัญญา รองประธานฝ่ายวิศวกรรมของบาร์ด ได้เขียนในบล็อกของตัวเองว่า “ในขณะที่เรานำบาร์ดไปสู่ภูมิภาคและใช้ภาษาต่าง ๆ มากขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป เราจะใช้เอไอของเราเป็นแนวทางเพื่อเก็บรวบรวมความคิดเห็นของผู้ใช้งาน และดำเนินการเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวรวมถึงข้อมูลของผู้คนอีกด้วย”

 

เรียบเรียงจาก Engadget

ภาพจาก Getty Image

คอนเทนต์แนะนำ
ปฏิทินวันหยุดเดือนกรกฎาคม 2566 เช็กเลยวันที่ 31 ก.ค. หยุดไหม
กางปฏิทินจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างลูกจ้างประจำ บำนาญ ปี 2566
เดือนนี้ยังเหลืออีกงวด! หวยงวด 1 ส.ค. ออกรางวัล 31 ก.ค.นี้

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ