เงินที่ กสทช. อนุมัติให้ คือ 600 ล้านบาท จาก กองทุนวิจัย และพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่ค่าลิขสิทธิ์ รวมค่าดำเนินการต่างๆ ที่ ตัวแทนของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) แจ้งมา อยู่ที่ราว 1,600 ล้านบาท
เมื่อวานนี้ นายก้องศักดิ์ ยอดมณี ผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ กกท. เปิดเผยว่า ได้เจรจากับตัวแทนฟีฟ่าเรื่องขอลดค่าลิขสิทธิ์ลงจากเดิม ตอนนี้ ยังอยู่ระหว่างการรอการตอบกลับจากทางฟีฟ่าว่าจะมีทิศทางแบบใด
ทำเนียบแชมป์ฟุตบอลโลกชาติไหนคว้าเยอะสุด
สมาคมทีวีดิจิตอล เชื่อคนไทยได้ดูบอลโลก คาดดีลเอกชนจบไร้ปัญหา
ส่วนข่าวก่อนหน้านี้ ที่บอกว่ามีเอกชน 5 ราย ร่วมลงขัน รายละ 200 ล้านบาท จนได้เงินครบตามจำนวนแล้ว นายก้องศักดิ์ ระบุว่า ข่าวนี้ไม่เป็นความจริง ตอนนี้ยังไม่ได้มีภาคเอกชนสนับสนุนเงินเข้ามา ยังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ
ขณะที่ตามรายงานข่าวระบุว่า การขอให้เอกชนช่วยสนับสนุน ตอนนี้ มี 3 บริษัท คือ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จะให้เงินราว 400 ล้านบาท หรืออาจดันตัวเลขไปได้ถึง 500 ล้านบาท เมื่อรวมกับงบประมาณที่ได้รับจากกสทช.จะมีเงินอยู่ในมือในการเจรจากับทางฟีฟ่าประมาณ 1,000-1,100 ล้านบาท ซึ่งก็ไม่เพียงพอ ขณะเดียวกันยังรอคำตอบอีก 2 บริษัท คือบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.)
ส่วนวันพรุ่งนี้ 14 พฤศจิกายน มีกำหนดการของกสทช. แถลงข่าวพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก (รอบสุดท้าย) โดยจะมีทั้ง นายไตรรัตย์ วิริยะศิริกุล รักษาการเลขาธิการ กสทช. และ นายก้องศักดิ์ ยอดมณี ผู้ว่าฯกกท. ร่วมงาน