“หยวกกล้วย-โฟม-ขนมปัง-กรวยไอติม” ทำกระทงแบบไหนไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม?


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยเผยลอยกระทงหยวกกล้วยดีสุด ชี้ย่อยสลาย-กำจัดง่าย แนะลอยร่วมกัน 1 กระทงต่อ 1 ครอบครัว ลดผลกระทบต่อน้ำ เตือนกรวยไอติมไม่ควรนำมาใช้ลอยกระทง! เหตุค่าบีโอดีสูง

 

ในอดีตเราจะเห็นว่ากระทงจะทำมาจากหยวกกล้วยและใบตองเท่านั้น แต่ปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่ากระทงมีหลายรูปแบบมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกระทงโฟม กระทงกะลามะพร้าว กระทงเทียนหอม กระทงหัวปลี กระทงผัก และกระทงกรวยไอติม แล้วทุกคนรู้กันหรือเปล่าว่ากระทงที่เรานิยมนำมาลอยกันส่วนใหญ่นั้น ทุกชนิดมีผลกระทบต่อน้ำทั้งสิ้น

ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เปิดเผยกับทีมข่าว "PPTV HD" ว่าปัจจุบันนี้กระทงที่เป็นที่นิยมจะมีอยู่ 3 แบบด้วยกัน คือ กระทงหยวกกล้วย กระทงขนมปัง และกระทงโฟม ซึ่งกระทงแต่ละชนิดนั้นส่งผลกระทบต่อน้ำหมด แต่จะดูเพียงผลกระทบอย่างเดียวไม่ได้ ขึ้นอยู่กับว่าลอยที่ไหน ถ้าเป็นสระปิด เวลาลอยกระทงเสร็จ เจ้าของสระเขาก็จะต้องเก็บกระทงขึ้น พอเก็บกระทงขึ้น ก็จะส่งผลกระทบพอๆกัน คือ กระทงทุกรูปแบบถูกเก็บขึ้นหมด แต่ว่าประเด็นจริงๆแล้วคือต้องดูการย่อยสลายหลังจากการทิ้ง

กระทงแบบไหนย่อยสลายดีสุด?

ดร.ขวัญฤดี กล่าวว่า ถ้าเทียบระหว่างใบตองกับโฟม จะเห็นได้ว่า หากเศษขยะของโฟมมาก โฟมก็จะใช้เวลาย่อยสลายนาน แต่ว่าโฟมสามารถรีไซเคิลได้ แต่ข้อดีก็จะสู้กระทงหยวกกล้วยไม่ได้ เพราะกระทงหยวกกล้วยจะย่อยสลายได้ง่ายกว่า

ดร.ขวัญฤดี กล่าวต่อว่า ส่วนกระทงขนมปัง ถ้าใช้ลอยในแหล่งน้ำไม่ว่าจะเปิดหรือปิด ยกตัวอย่างเช่น หากเป็นแหล่งน้ำปิดแล้วมีบ่อปลา ก็จะสามารถใช้ได้ จะมีประโยชน์ เพราะปลาสามารถกินขนมปังได้ แต่ถ้าเป็นแหล่งน้ำปิดแล้วไม่มีบ่อปลา จะอันตรายต่อสภาพน้ำ เพราะขนมปังจะเกิดการยุ่ย และทำให้น้ำมีค่าบีโอดี หรือค่าสารอินทรีย์สูง ไม่สมควรนำมาลอย

ถ้าเป็นแหล่งน้ำปิดหรือตามแม่น้ำ หากมีคนเก็บกระทงขึ้น ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า กระทงหยวกกล้วยจะดีกว่ากระทงโฟมตรงที่เวลาเก็บขึ้นมาแล้วจะย่อยสลายง่ายกว่า ส่วนข้อดีของกระทงโฟมคือสามารถนำไปรีไซเคิลได้ โดยกระบวนการคือแกะออกมาแล้วเอาไปหลอมเป็นพลาสติกได้ใหม่ เป็นเม็ดโฟม ส่วนกระทงขนมปัง ถ้าไปเป็นกระทงอยู่ในสระปลา จะมีประโยชน์กับปลา แต่ถ้าเป็นสระน้ำปกติก็ไม่มีประโยชน์อะไร

เกร็ดความรู้

บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand, BOD) หมายถึง ปริมาณของออกซิเจนที่แบคทีเรียใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ในเวลา 5 วัน ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส มีหน่วยเป็น มิลลิกรัม/ลิตร ค่าบีโอดีเป็นค่าที่มีความสำคัญอย่างมากในการออกแบบและควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ โดยใช้บ่งบอกถึงค่าภาระอินทรีย์ (Organic Loading) ใช้ในการหาประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสีย และใช้สำหรับการตรวจสอบคุณภาพของน้ำตามแหล่งน้ำต่างๆ

 

เวลาในการย่อยสลายของกระทงแต่ละชนิด?

ดร.ขวัญฤดี กล่าวว่า เวลาในการย่อยสลาย ขนมปังจะเร็วสุด ใบตองจะช้าหน่อย โฟมจะใช้เวลาย่อยสลายนานมาก ซึ่งขนมปังประมาณ 3 วันก็จะเห็นเป็นรูปของน้ำที่เริ่มมีสารอินทรีย์สูง เหยือกกล้วยเป็นเดือนขึ้นไป ซึ่งทุกรูปแบบจะทำให้น้ำมีค่าบีโอดีสูงและทำให้น้ำเสียได้ แต่ในรูปแบบที่ต่างกัน ซึ่งเหยือกกล้วยจะเก็บง่ายสุด

นอกจากนี้ยังมีกระทงอีกรูปแบบที่คนเริ่มนิยมนำมาลอยมากขึ้นคือกระทงกรวยไอติม ดร.ขวัญฤดี กล่าวว่า กระทงกรวยไอติมจะคล้ายกับกระทงขนมปัง แต่กระทงกรวยไอติมจะส่งผลให้ค่าบีโอดีในน้ำสูง ก็จะเน่าเสียเร็วขึ้น ไม่เหมาะเอามาลอยเลย ยกเว้นลอยในอ่างปลา ปลาสามารถกินได้ ส่วนกระทงผักหรือหัวปลีก็เหมือนกับหยวกกล้วย

ส่วนกระทงเทียนหอม ดร.ขวัญฤดี กล่าวว่า ไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไหร่ เป็นเทียนหรือก็คือน้ำมัน

"จริงๆ คือนำกระทงหยวกกล้วยมาลอยจะดีที่สุด เพราะย่อยสลายง่ายและนำไปกำจัดได้ง่าย แต่ทางที่ดีสุดคือลอยร่วมกัน คือ 1 ครอบครัวต่อ 1 กระทง เพราะจะเป็นการลดทำลายทรัพยากรน้ำได้ดีที่สุด" ดร.ขวัญฤดี กล่าว

ข้อมูลเพิ่มเติม

ในปี 2553 นางประพิมพ์ บริสุทธิ์ อดีตผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม (สสล.) ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับระยะเวลาย่อยสลายกระทงแต่ละประเภท โดยมีรายละเอียดดังนี้

– กระทงที่ทำจากต้นกล้วย ใบตอง กะลามะพร้าว (ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 14 วัน)

– กระทงที่ทำจากขนมปัง โคนไอศกรีม (ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 3 วัน)

– กระทงที่ทำจากขนมปัง (ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 3 วัน)

– กระทงที่ทำจากกระดาษ (ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 2 – 5 เดือน)

– กระทงที่ทำจากโฟม (ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 50 ปี)

– กระทงมันสำปะหลัง (ใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมง )

ทั้งนี้จากสถิติการเก็บกระทงในกรุงเทพฯ ในปี 2551-2557 ของกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่า

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ