เปิดมุมมอง หลังกรีฑาโลกห้ามทรานส์เจนเดอร์ลงแข่งประเภทหญิง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ประเด็นเรื่องทรานส์เจนเดอร์ลงแข่งขันกีฬาประเภทหญิงเป็นเรื่องที่โต้เถียงกันในช่วงหลายปีที่ผ่านมากีฬาบางประเภทอย่างรักบี้และว่ายน้ำได้ออกกฎห้ามหญิงทรานส์ลงแข่งกีฬาประเภทหญิงด้วยเรื่องของความเป็นธรรมต่อนักกีฬาหญิง ล่าสุดคือกีฬากรีฑา

สภากรีฑาโลกลงมติห้ามทรานส์เจนเดอร์ หรือ หญิงข้ามเพศ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาประเภทหญิงระดับนานาชาติ หากผ่านความเป็นชายในช่วงวัยแรกรุ่นมาแล้ว โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคมเป็นต้นไป ‘เซบาสเตียน โค’ ประธานสภากรีฑาโลกให้เหตุผลว่า เพื่อปกป้องอนาคตของกรีฑาประเภทหญิงและเพื่อรักษาความยุติธรรมสำหรับนักกีฬาหญิง หลังจากหารือร่วมกับสมาพันธ์ 40 แห่ง ตั้งแต่โค้ช นักกีฬา กลุ่มทรานส์เจนเดอร์ ผู้เชี่ยวชาญขององค์การสหประชาชาติ และคณะกรรมการโอลิมปิกสากล

คอนเทนต์แนะนำ
เลือกตั้ง 2566 : เปิดวิธีลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า ทั้งใน-นอกเขตเลือกตั้ง
ภาพชุด 'พริ้ตตี้' สีสันบรรยากาศในงาน มอเตอร์โชว์ 2023
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 เช็ก! ช่วงเวลายืนยันตัวตน-วันเริ่มใช้สิทธิ



 

 

 

พร้อมทั้งยอมรับว่าการตัดสินใจดังกล่าวจะทำให้เกิดข้อถกเถียงตามมาในวงกว้าง แต่การตัดสินใจนี้มาจากหลักการของความยุติธรรม เช่นเดียวกับหลักการทางวิทยาศาสตร์กีฬาและความได้เปรียบของผู้ชาย  อย่างไรก็ตาม เขาย้ำว่ากฎข้อห้ามนี้ไม่ได้บังคับใช้ตลอดไป รวมถึงจะจัดตั้งทีมทำงานร่วมกับนักกีฬาข้ามเพศและศึกษาข้อมูลจากวิจัยอย่างต่อเนื่อง

หลังการแข่งขันโอลิมปิกที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นในปี 2021 เมื่อ ‘ลอเรล ฮับบาร์ด’ นักกีฬายกน้ำหนักชาวนิวซีแลนด์ซึ่งเป็นทรานส์เจนเดอร์วัย 30 ปีเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นเป็นคนแรกของโลก

ผู้หญิง-ทรานส์-นอนไบนารี อาจ “โพสต์ภาพเปลือยท่อนบน” ในเฟซบุ๊ก-อินสตาแกรมได้

มารู้จักคำศัพท์ย่อเกี่ยวกับเพศ "LGBTQ+" ให้มากขึ้น

สมาพันธ์กีฬาต่างๆ ก็อนุญาติให้ทรานส์เจนเดอร์เข้าร่วมแข่งขันกีฬาประเภทหญิงได้ ถ้ามีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนหรือฮอร์โมนเพศชายในเลือดน้อยกว่า 5 นาโนโมลต่อลิตรเป็นเวลา 12 เดือน

อย่างไรก็ตาม วิจัยทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่า ทรานส์เจนเดอร์ยังคงได้เปรียบในเรื่องความแข็งแรง ความอดทน พลัง และความจุปอด แม้ว่าจะควบคุมระดับฮอร์โมนเพศชายถึง 24 เดือนก็ตาม 

สภากรีฑาโลกเป็นอีกหนึ่งสมาพันธ์กีฬาที่ตัดสินใจห้ามนักกีฬาข้ามเพศลงแข่งขันกีฬาประเภทหญิง ต่อจากกีฬารักบี้และว่ายน้ำ ในเดือนตุลาคมปี 2020 รักบี้เป็นกีฬาประเภทแรกที่ออกกฎห้าม สมาพันธ์รักบี้โลกได้ห้ามไม่ให้ทรานส์เจนเดอร์เข้าร่วมการแข่งขันประเภทหญิง หลังจากพิจารณาด้านความปลอดภัยและความเป็นธรรม

ขณะที่ในเดือนมิถุนายนปี 2022 สมาพันธ์ว่ายน้ำโลกลงมติห้ามทรานส์เจนเดอร์ลงแข่งขันว่ายน้ำหญิงเพื่อปกป้องความเป็นธรรมในการแข่งขัน หลังจากมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ‘ลีอา โธมัส’ นักว่ายน้ำหญิงข้ามเพศ ที่ได้แชมป์การแข่งขันว่ายน้ำระดับมหาวิทยาลัยของสหรัฐฯ  ตามมาด้วยสมาพันธ์รักบี้ลีกนานาชาติที่ประกาศห้ามทรานส์เจนเดอร์เช่นกัน โดยระบุว่าเพื่อความยุติธรรมสำหรับผู้หญิง แต่ยืนยันว่าจะศึกษางานวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงกฎต่างๆ เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของนักกีฬาหญิงข้ามเพศ 

สำหรับการตัดสินใจล่าสุดของสภากรีฑาโลกคาดว่าจะทำให้เกิดเสียงต่อต้านจากกลุ่ม LGBTQ+ ในวงกว้างมากขึ้น โดยอดีตนักกีฬากรีฑาที่เป็นทรานส์เจนเดอร์ชาวออสเตรเลียรายนี้ออกมาประณามว่า การตัดสินใจของสภากรีฑาโลกล่าสุดจะเพิ่มความเกลียดชังต่อกลุ่ม LGBTQ+ ในสังคม และทำให้ผู้คนกล้าที่จะแสดงการต่อต้านหญิงข้ามเพศมากขึ้น

ขณะที่การตัดสินใจครั้งนี้ได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มสนับสนุนผู้หญิง อย่างกลุ่มที่สนับสนุนผู้หญิงและต่อต้านหญิงข้ามเพศในการแข่งขันกีฬาในออสตราเลเซีย ซึ่งครอบคลุมออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะในโอเชียเนีย ระบุว่านี่เป็นการตัดสินใจที่ดีที่จะนำความยุติธรรมกลับคืนมาให้กับผู้หญิง หลังจากที่พวกเขาพยายามต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมเพื่อผู้หญิงมานาน

นอกจากนี้ สภากรีฑาโลกได้ตัดสินใจห้ามนักกีฬาหญิงที่มีความผิดปกติของพัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับระบบอวัยวะเพศลงแข่งขันกรีฑาระดับนานาชาติในทุกรายการ เว้นแต่จะลดฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในเลือดให้น้อยลงเหลือ 2.5 นาโนโมลต่อลิตร เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือนอีกด้วย

คอนเทนต์แนะนำ
กรมอุตุฯ เตือน “พายุฤดูร้อน” ฉบับที่ 6 ฝนถล่ม 50 จังหวัด 27-29 มี.ค.
กางปฏิทินจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างลูกจ้างประจำ บำนาญ ปี 2566

TOP ข่าวกีฬา
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ