เปิดตารางแห่พระภูเก็ต 2566 ซึ่งจะจัดตลอดเทศกาลกินเจ เริ่ม 16-23 ตุลาคมนี้ เช็กทุกอย่างที่ต้องรู้ก่อนไปงาน ที่นี่!
ประเพณีถือศีลกินผักของจังหวัดภูเก็ต ถือเป็นประเพณีเอกลักษณ์ประจำจังหวัด ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 100 ปีแล้ว
ด้วยความโดดเด่น จึงมีการจัดงานต้อนรับเทศกาลกินเจอย่างยิ่งใหญ่ในทุกๆ ปี โดยมีศาลเจ้าในจังหวัดภูเก็ตมากกว่า 30 แห่งที่ร่วมจัดประเพณีถือศีลกินผักนี้ และมีพิธีกรรมต่างๆ ตลอด 9 วัน 9 คืน
แต่พิธีกรรมในครั้งนี้ จะมีตารางการจัดงานอย่างไรบ้าง ทีมข่าวนิวมีเดีย พีพีทีวี ขออาสารวบรวมมาให้ดูกันดังนี้
เทศกาลกินเจ 2566 เริ่มวันไหน มีข้อปฏิบัติและข้อห้ามอย่างไร?
ทำไมต้อง “ล้างท้องก่อนกินเจ” เปิดข้อปฏิบัติ ต้อนรับเทศกาลกินเจ 2567
รู้จัก “ประเพณีถือศีลกินผัก”
ประเพณีถือศีลกินผัก มาจากความเชื่อในลัทธิเต๋า ซึ่งนับถือบูชาเทวดาเทพเจ้าวีรบุรุษเป็นประเพณที่สืบทอดต่อกันมาจากชาวจีนโพ้นทะเลที่เข้ามาอาศัยอยู่ที่ประเทศไทย ซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 หรือประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี (ปีนี้ตรงกับ 15-23 ตุลาคม 2566)
นอกจากนี้ ประเพณีนี้ยังได้รับการประกาศจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เรื่อง การขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2561 ประเภท รายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ลักษณะมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม ด้านการปฏิบัติ ทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล
เปิดตารางพิธีกรรมของแต่ละศาลเจ้า
ภายในงานจะมีขบวนแห่อ๊าม (ศาลเจ้า) ในภูเก็ตกว่า 30 อ๊าม และมีพิธีอิ้วเก้ง (แห่พระ) พิธีโก้ยห่าน (สะเดาะเคราะห์) พิธีโก้ยโห้ย (ลุยไฟ)และ พิธีองค์กิ้วอ๋องไต่เต่ (ส่งพระ)
พิธีฮั้วเก้ง (พิธีแห่พระ)
เป็นการออกเยี่ยมขององค์กิ้วอ๋องไต่เต่ เพื่ออวยพรให้กับประชาชนทั่วไป โดยมีขบวนธงและป้ายชื่อแห่นำหน้า ต่อด้วยเสลี่ยงเล็ก (ไฉ้เปี๋ย) จากนั้น เป็นขบวนของหนิ่วสั่ว (ร่มฉัตรจีน) ต่อด้วย ตัวเหลี้ยน (เสลี่ยงใหญ่) ซึ่งเป็นที่ประทับขององค์กิ้วอ๋องไต่เต่
ชาวบ้านจะตั้งโต๊ะบูชาหน้าบ้านและคุกเข่าอยู่ในอาการสงบนิ่งเพื่อรับพร จากองค์กิ้วอ๋องไต่เต่ขณะที่ขบวนแห่ผ่านไป
พิธีโก้ยห่าน (พิธีสะเดาะเศราะห์)
พิธีกรรมนี้ทำที่อ๊าม โดยผู้ที่ต้องการสะเดาะเคราะห์ต้องตัดกระดาษเป็นรูปตัวเองพร้อมเงินตามศรัทธาและต้นกุ้ยช่าย 1 ต้น เดินข้ามสะพาน
ให้ผู้ประทับทรงประทับตราด้านหลังของเสื้อที่สวม เรียกว่า "ต๊ะอิ่น" หมายถึงผู้ที่ผ่านการสะเดาะเคราะห์แล้ว
ทั้งนี้ การข้ามสะพานเปรียบเสมือนการเดินทางเข้าสู่ชีวิตใหม่
พิธีโก้ยโห้ย (พิธีลุยไฟ)
เป็นพิธีกรรมเพื่อชำระพลังไม่ดีออกจากร่างกาย ผู้ร่วมพิธีกรรมต้องปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด
พิธีส่งองค์กิ้วอ๋องไต่เต่ (พิธีส่งพระ)
ในคืนวันสุดท้ายของประเพณีจะมีการส่งองค์หยกอ๋องซ่งเต่ ซึ่งมักส่งกันที่หน้าเสาโกเต้งช่วงเวลา 22:30 น. กลับสวรรค์
หลังจากนั้นก็ส่งองค์กิ้วอ๋องไต่เต่ (ส่วนใหญ่จะส่งที่ชายทะเลสะพานหิน) เมื่อขบวนส่งพระ
ออกพ้นประตู ไฟทุกดวงในอ๊ามต้องดับสนิท และปิดประตูใหญ่
พิธีส่งพระ ถนนทุกสายในตัวเมืองภูเก็ต จะเต็มไปด้วยประชาชนที่มาส่งองค์กิ้วอ๋องไต่เต่กลับสู่สวรรค์ เป็นพิธีที่ต้องมาชม โดยเฉพาะช่วง
ถนนถลาง ถนนภูเก็ต วงเวียนหอนาฬิกา และเส้นทางไปจนสุดสะพานหิน
แผนที่ศาลเจ้ารอบภูเก็ต
เส้นทางขบวนแห่พระ
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
ประวัติ “เทศกาลกินเจ” ไขข้อสงสัยแต่งกายชุดขาว-ถือศีล 9 วัน 9 คืน
โปรแกรมการแข่งขันกีฬา เอเชียนเกมส์ 2022 วันที่ 3 ต.ค. 66 ของนักกีฬาไทย
โปรแกรมแข่งวอลเลย์บอลหญิงไทย รอบ 8 ทีมสุดท้าย ทำศึกเอเชียนเกมส์ 2022
ตลาดรถกระบะร่วงหนักสัดส่วนเหลือ 32% ฟอร์ดอัดแคมเปญหนักหวังซื้อใจ