ประกันสังคม แจงสูตรใหม่บำนาญชราภาพ มีแต่ได้มากขึ้น ไม่กระทบผู้เกษียณอายุ
ประกันสังคม แจงปรับสูตรเงินชราภาพสูตรใหม่ CARE เพื่อความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ส่งมากได้มาก ส่งน้อยได้น้อย คนที่ส่งไปแล้วไม่ต้องกังวล โดยเฉพาะผู้เปลี่ยนผ่านจาก ม.33 มาเป็น ม.39 ฐานเงินเดือนจะนำไปถูกคำนวณร่วมกันทั้งหมด ไม่มีคนได้ลดลง มีแต่เพิ่มขึ้นตามสัดส่วน คาดว่ากฎกระทรวงจะออกในปี 2569 ย้ำไม่กระทบผู้ที่เกษียณอายุไปแล้ว 8 แสนคน
จากกรณี บอร์ดประกันสังคม มีมติเห็นชอบหลักการ ปรับสูตรคำนวณบำนาญชราภาพ ให้กับผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 ใหม่ โดยใช้สูตร CARE - Career-Average Revalued Earnings โดย นางสาวรังสิมา ปรีชาชาติ ผู้อำนวยการสิทธิประโยชน์สำนักงานประกันสังคม และ นายณภูมิ สุวรรณภูมิ หัวหน้างานคณิตศาสตร์ประกันภัย สำนักงานประกันสังคม ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ BETTER FUTURE ช่อง สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย หรือ NBT2HD

วัตถุประสงค์การปรับสูตรบำนาญ ม.33 และ ม.39
นายณภูมิ ระบุว่า สูตร CARE เป็นสูตรการศึกษาของประกันสังคมและข้อเรียกร้องผู้ประกันตนว่าสูตรเดิมอาจไม่เป็นธรรมกับผู้ประกันตน ที่ฐานเงินเดือนลดลงจาก โดยเฉพาะ มาตรา 39 ที่คิดฐานเงินเดือน 4,800 บาท ใน 5 ปีสุดท้ายเท่านั้น ซึ่งการปรับสูตรดังกล่าวจะส่งผลให้ประโยชน์ส่งตรงถึงผู้ประกันตนอย่างเท่าเทียม
สูตรคำนวณเงินบำนาญชราภาพสูตรเก่าคิดอย่างไร ?
นางสาวรังสิมา ได้อธิบายสูตรที่ใช้ในปัจจุบันใช้ตั้งแต่ปี 2541 : เงินเดือนเฉลี่ยสูงสุด 15,000 บาท
- หากจ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพครบ 180 เดือน จะได้รับบำนาญชราภาพ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
- สูตรกรณีนำส่ง ครบ 180 เดือน
- 20X15,000 หาร 100 = 3,000 บาท
- สูตรกรณีนำส่ง ครบ 180 เดือน
- จ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน ได้รับอัตราเงินบำนาญชราภาพ เพิ่มขึ้นอีก 1.5 % ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน
- สูตรกรณีนำส่ง เกิน 180 เดือน
- 20+(1.5xจำนวน) X 15,000 หาร 100
- สูตรกรณีนำส่ง เกิน 180 เดือน

นายณภูมิ ระบุว่า การปรับครั้งนี้ เป็นการปรับตามเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเหมือนประเทศอื่น แต่อัตราค่าจ้างเราหยุดอยู่ที่ 15,000 บาทมาตลอด ฉะนั้นหากมีการปรับค่าจ้างที่มาคำนวณบำนาญ แต่เงินสมทบไม่ปรับก็จะทำให้กองทุนไม่ยั่งยืน ฉะนั้นผลการศึกษาจึงระบุว่าในเรื่องการปรับสูตรเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ต้องควบคู่กับแผนการปรับเพดานค่าจ้างอย่างต่อเนื่องด้วย
ข้อกังวลเมื่อมีการปรับสูตร จะได้รับผลกระทบหรือไม่ ?
นายณภูมิ ระบุว่า โดยภาพรวม มาตรา 33 ได้เท่าเดิม เพราะไม่ได้เอามาเฉลี่ยตรงๆ แต่ค่าจ้างในอดีตจะปรับเป็นค่าเงินในวันนี้ก่อน โดยคนทั่วไปที่มีเงินเดือนโตขึ้นเรื่อยๆ แทบจะไม่ส่งผลกระทบเลย แต่จะส่งผลกับ ตั้งใจเปลี่ยนระบบเช่นเงินเดือนน้อยมาตลอด แต่ 5 ปีสุดท้าย อยู่ๆมาเงินเดือน 15,000 ที่อาจจะรู้จักกับนายจ้างก็จะได้เงินบำนาญเยอะขึ้น ทั้งที่ตนเองส่งน้อยมาตลอด การปรับสูตรใหม่จะทำให้เขาได้น้อยลงตามสัดส่วนที่เขาส่ง ซึ่งสูตร CARE คือสูตรที่ส่งมากได้มาก ส่งน้อยบำนาญก็ลดลงตามสัดส่วน
นายณภูมิ ยืนยัน ผู้ที่เกษียณไปแล้วรับบำนาญ 8 แสน คนและคนที่กำลังจะเกษียณ จะไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับสูตร ขณะที่ในคนที่เกษียณใน 5 ปีแรก (2569-2573) จะมีการคำนวณสูตรเก่าและสูตรใหม่ผสมกันเพื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบ ซึ่งกว่าจะได้ใช้สูตรใหม่ดังกล่าวจริงๆ ก็เกิน 5 ปีจากนี้ไปแล้ว
โดยจากนี้ไปจะมีการปรับเพดาน อัตราค่าจ้างเป็น 17,500 บาทจะทำให้คนที่เงินเดือนเกินจากนี้ไปได้รับเบี้ยบำนาญเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ยืนยันเป็นการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่ดี ทำให้กองทุนประกันสังคมยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
นางสาวรังสิมา คาดว่ากฎกระทรวงเงินบำนาญชราภาพสูตรใหม่ จะออกมาในปี 2569 สอดคล้องกับการปรับฐานค่าจ้างขั้นสูง และมีการคำนวณเงินบำนาญของผู้ที่เกษียณไปแล้ว 8 แสนคนใหม่ โดยยืนยันว่าหากมีการปรับบำนาญเพิ่มจะจ่ายทันทีในเดือนถัดไป ส่วนคนที่เงินบำนาญลดลงคาดว่าจะจ่ายในอัตราเดิม
ตัวอย่างวิธีคำนวณบำนาญชราภาพ
ยกตัวอย่างเช่น
ส่งมาตั้งแต่เดือนแรก ธันวาคม 2541 (27 ปี )ได้อัตรา 36.5% ในฐานเงินเดือน 15,000 มาตลอดจะได้เงินบำนาญ 5,475 บาทต่อเดือน หากบุคคลดังกล่าว ลาออกจากงานและมาต่อในม.39 ต่ออีก 5 ปีในอัตราเงินเดือน 4,800 บาท จะเหลือเพียงประมาณ 1,600-1,700 เท่านั้น
กลับกันในสูตร CARE ใหม่นี้
จะเป็นการคิดคำนวณทั้ง 26 ปี ที่ส่งในฐาน 15,000 บาท มารวมกับ 4,800 บาทใน 5 ปีสุดท้าย มารวมกัน ทำให้ผู้ประกันตนได้เงินบำนาญ เพิ่มขึ้นไปถึง 4,000 กว่าบาท
นายณภูมิ ยืนยันผู้ประกันตน ม.33 กว่า 60% เงินบำนาญจะเท่าเดิมหรือมากกว่า 2-3% แต่กลุ่มที่จะได้รับประโยชน์จริงๆคือ ม.39 หรือกลุ่มที่เกษียณก่อน 55 ปีที่จะได้รับความเป็นธรรมมากและได้รับเงินบำนาญในมูลค่ามากขึ้น