เศรษฐกิจไทยฟื้นไม่เต็มที่ คาด กนง.ไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ย แม้เงินเฟ้อสูง
แม้เศรษฐกิจไทยจะเริ่มฟื้นตัว แต่ยังเผชิญความเสี่ยงเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูง เศรษฐกิจโลกชอลอตัว อาจกระทบการส่งออกในอนาคด คาด กนง. จะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.50 ในไตรมาส 4/ 2565
“จุรินทร์” แจงสภา เงินเฟ้อไทยอยู่ในกลุ่มต่ำสุดในโลก
เอกชน มองเงินเฟ้อแตะ 3.5-5.5% ส่งออกเริ่มชะลอ หวังท่องเที่ยวหนุนช่วงที่เหลือของปี
โดยเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง หลังการเปิดประเทศเต็มรูปแบบ ซึ่งมีปัจจัยหลักจากการส่งออกที่ยังขยายตัวได้ดี การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว รวมถึงอุปสงค์คงค้าง (pent-up demand) จากในช่วงก่อนหน้า แต่ยังคงเผชิญปัจจัยเสี่ยงด้านเศรษฐกิจจากเงินเฟ้อที่เร่งสูงขึ้น ซึ่งจะบั่นทอนกำลังซื้อของผู้บริโภคที่มีความเปราะบางอยู่แต่เดิมจากผลกระทบของโควิด-19 อีกทั้งยังได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ซึ่งจะทำให้การส่งออกของไทยในระยะข้างหน้าเผชิญความท้าทายมากขึ้น
ขณะที่ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนอาจส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในไทยน้อยกว่าที่ควร โดยในไตรมาส 2/2565 มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจไทยจะหดตัวจากไตรมาสก่อนหน้าท่ามกลางปัจจัยลบต่าง ๆ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า กนง. จะยังคงพิจารณาคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ 0.50 ในการประชุมกนง. ที่จะถึงนี้ แม้ว่าจะเผชิญแรงกดดันมากขึ้นจากเงินเฟ้อในระดับสูง และค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงตามค่าเงินในภูมิภาค แต่ยังไม่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนที่กนง. จะต้องรีบปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในขณะนี้ ท่ามกลางเสถียรภาพด้านต่างประเทศที่ยังถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง
ผลสำรวจ Gen Z - Gen Y กับเหตุผลในการเลือก “องค์กรทำงาน”
นอกจากนี้หากธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ รวมถึงถ้าแรงกดดันเงินเฟ้อในประเทศยังไม่ทุเลาลง ในขณะที่การท่องเที่ยวทยอยฟื้นตัวได้ ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว กนง. ก็อาจจะพิจารณาปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายให้มีความเหมาะสมได้ โดยจะปรับขึ้นครั้งละร้อยละ 0.25 จำนวน 1-2 ครั้งในช่วงปลายปี ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
ด้านประเทศที่ดำเนินนโยบายการเงินสวนทางกับเฟดเผชิญแรงกดดันจากเงินทุนไหลออก และทิศทางค่าเงินที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง โดยในเอเซีย สิงคโปร์และมาเลเซีย เริ่มคุมเข้มนโยบายการเงินตามสหรัฐฯ หาก กนง. ยังคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้ส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยของไทยและประเทศอื่น ๆ นั้นกว้างขึ้น ส่งผลให้ไทยมีแนวโน้มที่จะเผชิญแรงกดดันจากเงินทุนไหลออก และทิศทางค่าเงินบาทที่อ่อนค่า ซึ่งส่งผลให้กนง.อาจจำเป็นต้องให้น้ำหนักต่อความเสี่ยงด้านเสถียรภาพมากขึ้นในระยะข้างหน้า
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า มีความเป็นไปได้ที่กนง. อาจจำเป็นต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 1-2 ครั้ง ในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.75-1.00 ท่ามกลางแรงกดดันจากนโยบายการเงินแบบตึงตัวของเฟด และเงินเฟ้อไทยที่คาดว่าจะยังทรงตัวในระดับสูง ขณะที่เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งหลังของปี มีปัจจัยหลักจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ส่งผลให้กนง. อาจให้น้ำหนักต่อความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจลดลงได้ แต่อาจยังไม่รีบส่งสัญญาณในการประชุมที่จะถึงนี้
อนามัยโลกชี้ “ฝีดาษลิง” เป็น “ภัยเสี่ยงระดับปานกลาง” ต่อสาธารณสุขโลก