จับตา "ภาวะเงินเฟ้อ" รุนแรงทั่วโลก คาดกดดันตลาดหุ้นระยะกลาง-ยาว
หลายประเทศ เริ่มทำตัวเลขเงินเฟ้อพุ่งสูงสุดในรอบหลาย 10 ปี หลังจากคลื่คลายสถานการณ์โควิด-19 โบรกคาดอาจกดดันสินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้นในระยะกลาง-ยาว
สงครามการค้าสหรัฐ-จีน ยุติ หุ้นกลุ่มไหนได้อานิสงค์
บทเรียนคริปโทฯ “LUNA” ล่มสลาย สะเทือนวงการนักเทรด ก่อนคืนชีพ “LUNA 2.0”
ตลาดคริปโทฯ ทิศทางขาลง พิษ LUNA-UST ล่มสลาย “เฟด” จ่อซ้ำเติม เร่งขึ้นดอกเบี้ย
เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 65 ฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส เผยผ่านบทวิเคราะห์ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกา รายงานดัชนีการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั่วไป ในเดือน เม.ย. ปรับขึ้น 6.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือว่าชะลอตัวลงจากเดือน มี.ค. ที่ 6.6% ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน ในเดือน เม.ย. เพิ่มขึ้น 4.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยใกล้เคียงกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ และชะลอตัวจากเดือน มี.ค. ที่ 5.2%
รายงานนี้ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯยังคงปรับตัวสูงขึ้น ก่อนจะปิดตลาดเป็นบวกสัปดาห์แรกในรอบ 8 อาทิตย์ ซึ่งประเด็นนี้ถือเป็นบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยง และตลาดหุ้นในช่วงสั้น
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาอัตราเงินเฟ้อเดือน เม.ย. ในทุกประเทศทั่วโลก พบว่าปรับตัวสูงอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยหลายประเทศทำตัวเลขสถิติสูงสุดในรอบ 10 – 40 ปี ขณะที่เงินเฟ้อสหรัฐฯ และไทย อยู่ในระดับ 8.3% และ 4.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ซึ่งมีสาเหตุหลัก 3 ส่วน ประกอบด้วย
1.ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ หลังจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย
2.ปริมาณเงินในระบบที่มีสภาพคล่องส่วนเกินสูงกว่าปกติมาก เป็นผลมาจากการระดมใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายสุดขั้วในช่วงการระบาดของโควิด-19
3.ปัญหาการขาดแคลนซัพพลาย (Supply Shortage) ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้า-บริการปรับตัวสูงขึ้น ปัจจัยหลักมาจากการสู้รบระหว่างรัสเซีย – ยูเครน
ฝ่ายวิจัยฯ มองว่า สถานการณ์เงินเฟ้อยังคงมีความรุนแรงต่อเนื่องในช่วงเวลาที่เหลือของปี เนื่องจากหากเทียบฐานราคาสินค้า-บริการในปัจจุบันที่เริ่มปรับขึ้นมาแล้ว กับฐานในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่อยู่ในระดับต่ำ และสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน ไม่มีท่าทีจะคลี่คลายลง
ขณะที่ ฝ่ายวิจัยฯใช้สมมติฐานราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น 1-2% จะทำให้เงินเฟ้อเดือน พ.ค. ของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น 8.5% และ 9.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ด้านประเทศไทย หากคิดจากสมมติฐานเดียวกันที่ราคาสินค้า และบริการ เพิ่มขึ้น 1-2%จ ะทำให้เงินเฟ้อเดือน พ.ค.ของไทย ปรับเพิ่มขึ้น 6.6% และ 7.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อมีโอกาสปรับขึ้นในเดือน พ.ค. และทรงตัวต่อในระดับสูงจากปัจจัยแวดล้อมที่ยังไม่ได้คลี่คลาย โดยคาดว่าจากองค์ประกอบโดยรวม กดดันสินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้น ในระยะกลาง-ยาว
วันนี้มองกรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหุ้นไทย (SET Index) อยู่ที่ 1631-1650 จุด
ปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้คลายล็อกดาวน์บางส่วน เผยโควิด-19 อยู่ในระดับควบคุมได้
"ฟองน้ำ" ซ่อนอันตราย แฝงเชื้อโรคนับล้านสร้างสารพัดโรค
แนะ 8 วิธี กินปลอดภัย ป้องกันอาหารติดคอ ปิดกั้นหลอดลมจนขาดอากาศหายใจ