หุ้นไทยปี 68 ลุ้นแตะ 1,600 จุด บริการ-ท่องเที่ยวมาแรง
“จิตตะ เวลธ์” ฉายภาพตลาดหุ้นโลกปี 68 ชี้หุ้นสหรัฐฯ-จีน-ฮ่องกง-ญี่ปุ่นน่าสนใจ ส่วนหุ้นไทยลุ้น 1,600 จุด จับตาปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจ-การเมืองไทย
นายตราวุทธิ์ เหลือสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด สตาร์ตอัปสัญชาติไทย เปิดเผยมุมมองตลาดหุ้นโลกในปี 2568 ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มเติบโตจากทรัมป์ เล็งปรับลดภาษี รายได้บริษัทและการต่ออายุนโยบาย Tax cut ในปี 2560 ที่ลดภาษีเงินได้ เล็งปรับลดภาษี Corporate Tax เหลือ 20% และอาจเหลือ 15% หากบริษัทที่ผลิตสินค้าอยู่ภายในสหรัฐฯ

ปรับเพิ่มภาษี 10-20% สำหรับสินค้านำเข้าและหากนำเข้าจากจีนภาษีอาจสูงถึง 60% กดดันเงินเฟ้อ และความเข้มงวดกับนโยบาย Immigration มากขึ้น แรงงานในประเทศอาจลดลงดันราคาสินค้าสูงขึ้น
“ชาล็อต-ณวัฒน์” แถลง เผยกลโกงมิจฉาชีพใช้เอไอหลอกสูญเงิน 4 ล้าน
ออสเตรเลียสั่งสอบ ตัวอย่างไวรัสอันตราย 300 ตัวอย่างหายไปจากห้องแล็บ
คนไทยค้นหาอะไรบน Google มากที่สุดในปี 2024 ?
เศรษฐกิจจีน
คาดว่าจีนเปลี่ยนรูปแบบนโยบายการเงินจากที่ "เข้มงวด" เป็นผ่อนคลายปานกลางตั้งแต่ต้นปี 2568 เป็นต้นไป ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกตั้งแต่ปี 2554 และตั้งแต่ต้นปี 2567 จีนลดอัตรา Requirement Reserve Ratio (RRR) เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง ลดอัตราเงินดาวน์สำหรับการซื้อบ้านหลังที่สอง ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (LPR) และคาดว่าจะมีเพิ่มเติมอีกในปี 2568 นอกจากนี้จีนยังเตรียมนโยบายทั้งการเงินการคลังที่ผ่อนคลายมากขึ้นเพื่อเตรียมรับมือสงครามการค้ารอบ 2

เศรษฐกิจฮ่องกง
คาดการณ์ GDP ฮ่องกงโต 2.5% ในปี 2567 ต่อเนื่องจาก 2566 และฟื้นตัวจากช่วง 2565 ที่ GDP ติดลบ 3.7% P/E ปัจจุบันของ S&P 500 อยู่ที่ 27 เท่า แต่ HSIอยู่ที่ 9.8 เท่า ถือว่ายังถูกมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่พัฒนาแล้ว (ข้อมูล ณ วันที่ 9/12/67) ตลาดหุ้นได้รับอานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ของจีนแผ่นดินใหญ่ เพราะมีบริษัทจีนจดทะเบียนในตลาด (H-shares) อยู่เป็นจำนวนมาก
เศรษฐกิจญี่ปุ่น
GDP ญี่ปุ่นโตสูงกว่าคาดการณ์ในไตรมาส 3/2567 ขยายตัว 1.2% มากกว่าตัวเลขประมาณการที่ 0.9% แสดงถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจ นักวิเคราะห์คาดว่าการเติบโตของ GDP ญี่ปุ่นในปี 2568 จะอยู่ที่ 1.1% ถือเป็นการขยายตัวของเศรษฐกิจ 4 ปี ติดต่อกันตั้งแต่ปี 2563 นอกจากนี้ตลาดคาดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น BOJ เตรียมปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งในช่วงเดือนมกราคม 2568 เพื่อพยุงไม่ให้เงินเยนอ่อนค่าลงไปมากกว่านี้ เพราะอาจกระทบต่อราคาสินค้าภายในประเทศ
เศรษฐกิจเวียดนาม
นักวิเคราห์คาดการณ์การเติบโตของ GDP เวียดนามในปี 2567 - 2568 อยู่ที่ 6.5% ขยายตัวทุกปีตั้งแต่ 2553 และแม้จะเจอวิกฤติ Covid-19 มูลค่าการส่งออก 11 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 3.6 แสนล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของ 2566 ถึง 14.4% Foreign Direct Investment ยังคงเพิ่มขึ้น โดยในปี 2567 นี้การลงทุนโดยตรงมีมูลค่าถึง 2.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯตั้งแต่ต้นปี ทั้งนี้ตลาดหุ้นเวียดนามอาจถูกปรับไปเป็น Emerging Market ในปี 2568

เศรษฐกิจสหภาพยุโรป
คณะกรรมาธิการยุโรป คาดว่าเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปจะโต 1.5% ในปี 2568 ขยายตัวจากปีนี้ที่คาดการณ์ว่าจะเติบโตเพียง 0.9% แต่ยังโตจาก 2566 ที่เติบโตเพียง 0.8% นโยบายการขึ้นภาษีการนำเข้าสินค้าของประธานาธิบดีทรัมป์อาจกระทบรายได้ของบริษัทในยุโรปลดลงในอนาคต เงินเฟ้อ EU ในปี 2567 อยู่ที่ 2.6% คาดการณ์ว่าจะลดลงเหลือ 2.4% ในปี 2568 และกลับสู่ระดับเหมาะสมที่ 2% ในช่วงปี 2569
แนวโน้มหุ้นไทยน่าจะลุ้นถึง 1,600 จุดหรือไม่นั้น "เป็นไปได้ " แต่ต้องดูปัจจัยด้านเศรษฐกิจและนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาล ส่วนหุ้นไทยที่น่าจับตามองในปีหน้านี้น่าจะเป็นหุ้นในกลุ่มบริการ-ท่องเที่ยว เพราะไทยยังเป็นประเทศที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจเดินทางมาต่อเนื่อง สำหรับหุ้นที่น่าเป็นห่วง จะเป็นหุ้นในกลุ่มมีเดีย เพราะปัจจุบันถูกดิสรัปต์จากสื่อออนไลน์.....นายตราวุทธิ์ กล่าว
นอกจากนี้หากพิจารณาสถิติตลาดหุ้นย้อนหลังในหลาย ๆ ประเทศ พบว่าตลาดหุ้นปรับขึ้นลงเป็นวัฏจักร โดยเฉลี่ยแล้วใน 10 ปี ตลาดหุ้นจะติดลบประมาณ 3 ปี กำไรประมาณ 7 ปี ทำให้เราคาดการณ์ได้ว่าหากตลาดหุ้นโดยรวมทำผลตอบแทนได้ดีหลายปีติดต่อกัน ก็มีโอกาสที่ปีต่อไปตลาดหุ้นจะปรับฐานทำผลตอบแทนลดลง ขณะเดียวกันหากตลาดหุ้นทำผลตอบแทนไม่ค่อยดีในปีที่ผ่าน ๆ มา หรือประสบวิกฤตตลาดหุ้นตกลงมาแรงก็มีโอกาสที่ปีต่อไปจะฟื้นตัว กลายเป็นตลาดหุ้นขาขึ้นได้
ดังนั้นหากนักลงทุนสามารถวิเคราะห์หาเวลาที่เหมาะสมในการลงทุนของตลาดหุ้นแต่ละประเทศ และสลับการลงทุนจากตลาดหุ้นที่ราคาแพงเกินไป แล้วนำเงิน ไปลงทุนในตลาดที่มีโอกาสมากกว่า ก็จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่จะช่วยลดระยะเวลาการฝ่ามรสุมตลาดหุ้นขาลง (Drawdown Period) ของพอร์ตได้ และเพิ่มผลตอบแทนให้ดีขึ้นได้ในระยะยาว
หุ้นพื้นฐานดีอย่างเดียวไม่พอต่อการตัดสินใจลงทุน นักลงทุนต้องวิเคราะห์ดูอีกชั้นว่าหุ้นพื้นฐานดีที่มีอยู่ในประเทศนั้น ๆ ปัจจุบันเป็นหุ้นที่ “ถูก” หรือ “แพง” มากน้อยแค่ไหน เพราะสัดส่วน “หุ้นดีราคาถูก” ในตลาดหุ้นจะบอกถึงโอกาสทำกำไรของตลาดหุ้นนั้น ๆ ได้ดี.....นายตราวุทธิ์ กล่าว
ตลาดหุ้นใดมีหุ้นพื้นฐานดีเยอะกว่า แสดงว่าเป็นตลาดที่มีรากฐานการเติบโตแข็งแกร่งและยั่งยืนกว่า แต่หาก “หุ้นดีราคาแพง” มีจำนวนเยอะกว่า “หุ้นดีราคาถูก” ก็เป็นไปได้ว่าตลาดหุ้นตอนนั้นร้อนแรงเกินไป ราคาหุ้นค่อนข้างเฟ้อเป็นฟองสบู่รอวันแตก และถ้าเราลงทุนในเวลานั้นแล้วฟองสบู่แตกจริงก็จะทำให้เราขาดทุนหนัก ๆ ได้ แม้ว่าเราจะซื้อหุ้นที่ดีไว้ก็ตาม ดังนั้น การเลือกลงทุนในประเทศที่มีหุ้นพื้นฐานดีและราคาถูก จำนวนมากกว่า ย่อมเป็นโอกาสการลงทุนที่ดีกว่า

นายตราวุทธิ์ กล่าวว่า ในฐานะฟินเทคที่วิเคราะห์ข้อมูลตลาดหุ้น 29 ประเทศทั่วโลก ในระยะเวลากว่า 12 ปีที่ผ่านมา ทำให้บริษัทพัฒนาอัลกอริทึมเพื่อการลงทุนตามแนวทางการลงทุนแบบเน้นคุณค่า คัดเลือกหุ้นดีราคาถูกผ่านแผนการลงทุน Jitta Ranking ที่พิสูจน์แล้วว่าช่วยให้นักลงทุนสร้างผลตอบแทนที่ดี ชนะตลาดในระยะยาว อีกทั้งยังบริหารและมีข้อมูลการลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลที่เกิดขึ้นจริงร่วม 80,000 พอร์ต ทำให้การวิเคราะห์แม่นยำเข้าใจวัฏจักรการลงทุนได้ลึกซึ้งมากขึ้น จึงได้พัฒนาต่อยอดแผนการลงทุน Jitta Ranking ให้เหนือขั้น ด้วย Alpha AI อัลกอริทึมวิเคราะห์ประเทศที่น่าลงทุนที่สุดในแต่ละปี เกิดเป็น Jitta Ranking Alpha แผนการลงทุนใหม่ที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถลงทุนในตลาดหุ้นที่ดีในเวลาที่เหมาะสมและหุ้นดีราคาถูกได้พร้อม ๆ กัน ช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนระยะยาวให้นักลงทุนได้ดีกว่า
หลักการคัดเลือกตลาดหุ้นที่ดีในเวลาที่เหมาะสม
การวิเคราะห์หาประเทศที่มีหุ้นดีราคาถูกมากที่สุด และตลาดมีแนวโน้มจะปรับตัวขึ้น โดย Alpha AI ของ Jitta จะคัดเลือกประเทศที่น่าลงทุนที่สุดในปีนั้น ๆ โดยวิเคราะห์สัดส่วนจำนวนหุ้นดีราคาถูกจากตลาดหุ้น 4 ตลาดที่น่าสนใจที่สุด ได้แก่ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จีน ฮ่องกง และญี่ปุ่น จากนั้นจะวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบวัฏจักรการปรับตัวขึ้นลงของแต่ละตลาดย้อนหลัง เพื่อหาคำตอบว่า ตลาดหุ้นไหนมีแนวโน้มและโอกาสลงทุนที่ดีกว่ากันในแต่ละปี ก่อนจะสรุปว่า ประเทศใดเป็นตลาดหุ้นดี ราคาถูกน่าลงทุนที่สุด โดยจะทำการทบทวนตลาดหุ้นที่ลงทุนในช่วงเดือนพฤศจิกายน - มกราคม ของทุกปี เพื่อดูว่าในปีถัดไปควรลงทุนในตลาดหุ้นเดิมต่อหรือปรับพอร์ตไปลงทุนในประเทศอื่นที่มีโอกาสเติบโตมากกว่า
กองทุนส่วนบุคคล Jitta Ranking Alpha มีแนวทางจัดพอร์ต กระจายความเสี่ยง และปรับพอร์ต เพื่อป้องกันผลกระทบจากความผันผวนของราคาหุ้นตัวใดตัวหนึ่งมากจนเกินไป จึงจะเน้นการกระจายความเสี่ยงลงทุน 20 หุ้น ตามการจัดอันดับของ Jitta Ranking ประเทศนั้นๆ ในสัดส่วนเท่าๆ กัน (Equal Weight) รีวิวและปรับพอร์ตทุกๆ 3 เดือน ตามช่วงเวลาประกาศผลประกอบการของธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีการรีวิวและปรับเปลี่ยนตลาดหุ้นที่ลงทุนในทุกๆ ปี
Jitta Ranking Alpha เหมาะกับนักลงทุนที่ไม่มีเวลาในการบริหารจัดการด้วยตนเอง แต่ต้องการลงทุนในหุ้นรายตัว เพื่อผลตอบแทนสูงกว่าดัชนี (Benchmark) ในระยะยาว สนใจและรับความเสี่ยงสูงของการลงทุนในหุ้นต่างประเทศได้ ไม่มีประเทศใดประเทศหนึ่งที่ต้องการลงทุนเป็นพิเศษ เน้นคว้าโอกาสที่ดีที่สุด สามารถลงทุนระยะยาวอย่างน้อย 3-5 ปีขึ้นไป
ทั้งนี้ Jitta Ranking Alpha กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำที่ 2 ล้านบาท เพื่อการกระจายความเสี่ยงและสร้างผลตอบแทนที่ดีสุดจากการทดสอบผลตอบแทนย้อนหลัง (Back Test) 10 ปี ตั้งแต่ 2557-2566 ของ Jitta Ranking Alpha เฉลี่ยอยู่ที่ 20.71% ต่อปี (ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2567)