ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการ "ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม"
โรคข้อเข่าเสื่อมเมื่ออาการรุนแรงทางออกในการรักษาคือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม การรู้ลึกถึงข้อมูลการผ่าตัดช่วยกันความเชื่อผิด ๆ ได้
การผ่าตัดข้อเข่าเทียม คือ การรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อมขั้นรุนแรงโดยการนำเอาส่วนผิวข้อเข่าที่เสื่อมแล้วออกไป แล้วทดแทนด้วยผิวข้อเข่าเทียมทั้งหมด เป็นทางเลือกการผ่าตัดที่ให้ผลการรักษาที่ดี เป็นที่พึงพอใจและมีความคุ้มค่าในการช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยโรค “ข้อเข่าเสื่อม” หายจากอาการปวด ขากลับมาตรง เดินได้ดีขึ้น หายจากสภาพข้อเข่าโก่งงอและงอเข่าได้มากขึ้น
รู้ลึก "ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม" เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว ได้คุณภาพชีวิตที่ดีคืนมา
โภชนบำบัดหลัง "ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม" ช่วยผู้ป่วยฟื้นตัวไว
รวมถึงผู้ป่วยยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้โดยไม่มีข้อจำกัด และที่สำคัญที่สุดสามารถใช้ข้อเข่าเทียมนี้ไปได้ตลอดชีวิต โดยไม่ต้องมาทำการผ่าตัดแก้ไขอีก
อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายคนที่เป็นกังวลและไม่เข้าใจเกี่ยวกับการผ่าตัดข้อเข่าเทียม จึงได้รวบรวมคำถามที่เป็นประโยชน์มาไว้ดังนี้
ป่วยโควิด-19 อาการรุนแรง เสี่ยงกล่องเสียงบอบช้ำอักเสบ
8 ข้อดีเมื่อ "บริจาคโลหิต" มากกว่าการให้ผู้อื่นคือสุขภาพดีของตนเอง
1.ความเชื่อ: ร่างกายคนเราปฏิเสธข้อเข่าเทียม
ความจริง: ข้อเข่าเทียมทำจากโลหะและพลาสติกทางการแพทย์ที่เหมาะกับร่างกายจึงไม่มีปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อและสามารถอยู่ในตัวผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย โดยไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ
2.ความเชื่อ: อัตราความสำเร็จในการผ่าตัดค่อนข้างต่ำ
ความจริง: การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมถือเป็นการรักษาโรคข้อเข่าที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่คุ้มค่าช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีชีวิตประจำวันได้อีกครั้ง เจ็บปวดน้อยขณะเคลื่อนไหว จากงานวิจัยพบว่าอัตราความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมสูงถึง 99%
3.ความเชื่อ: ข้อเข่าเทียมมีอายุการใช้งานไม่เกิน 10 ปี
ความจริง: ด้วยเทคนิคขั้นสูงและการพัฒนาข้อเทียมให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องมาถึงทุกวันนี้ ทำให้อายุการใช้งานยาวนานถึง 15 – 20 ปีเป็นอย่างต่ำ
4.ความเชื่อ: การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมไม่สามารถผ่าตัดทั้งสองข้างในเวลาเดียวกัน
ความจริง: การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งสองข้างในเวลาเดียวกันสามารถทำได้ มีข้อดีคือ ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลเพียงครั้งเดียวและสามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
5.ความเชื่อ: การฟื้นตัวหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมใช้เวลานานหลายเดือน
ความจริง: ช่วงเวลาการฟื้นตัวของผู้ป่วยขึ้นอยู่กับคุณภาพของการผ่าตัดและกระบวนการดูแลตั้งแต่ก่อน – ระหว่าง – หลังการผ่าตัด ซึ่งผู้ป่วยสามารถกลับมาเดินได้ภายใน 24 ชั่วโมง หลังผ่าตัดและทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติภายใน 3 – 4 สัปดาห์
6.ความเชื่อ: ผู้ป่วยที่อายุเกิน 65 ปี ไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมได้
ความจริง: อายุไม่ใช่ข้อจำกัดของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ผู้ป่วยอายุเกิน 65 ปี ที่มีความพร้อมของร่างกาย สามารถรับการรักษาด้วยการผ่าตัดข้อเข่าเทียมได้
7.ความเชื่อ: หลังผ่าตัดผู้ป่วยไม่สามารถงอเข่าหรือนั่งบนพื้นได้สะดวก
ความจริง: ผู้ป่วยส่วนมากหลังผ่าตัดสามารถเคลื่อนไหวได้เป็นปกติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของการผ่าตัดเข่าเทียม และการทำกายภาพบำบัดที่มีประสิทธิภาพ
8.ความเชื่อ: หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมไม่สามารถขับรถได้
ความจริง: หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยสามารถขับรถได้ สำหรับเข่าซ้ายหลังผ่าตัด 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยขับรถเกียร์ Auto ได้ สำหรับเข่าขวาหลังผ่าตัด 4 – 6 สัปดาห์สามารถขับรถได้
อย่ารอให้ "กระดูกพรุน" แล้วค่อยตรวจมวลกระดูก รู้เร็วป้องกันได้
ก้อนเนื้อเต้านม จำเป็นต้องผ่าตัดไหม? ปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล