แสบร้อนยอดอก อีกหนึ่งอาการเตือนจาก “โรคนิ่วในถุงน้ำดี”
เมื่อมีอาการแสบร้อนที่ยอดอก อย่าเพิ่งวางใจว่าคุณเป็นแค่กรดไหลย้อนธรรมดา เพราะนี่..คืออีกหนึ่งอาการที่เกิดจาก “โรคนิ่วในถุงน้ำดี”
ถุงน้ำดี (Gallbladder) เป็นอวัยวะในช่องท้องที่ทำหน้าที่ในการเก็บสะสมน้ำดี เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร โดยน้ำดีจะถูกสร้างจากตับแล้วถูกลำเลียงออกมาทางแขนงของท่อน้ำดีในเนื้อตับ เข้าสู่ท่อน้ำดีใหญ่ของตับ แล้ววกกลับขึ้นไปที่ท่อของถุงน้ำดี เข้าไปพักไว้ในถุงน้ำดีก่อน เพราะที่ลำไส้เล็กส่วนต้นมีหูรูดปิดอยู่ น้ำดีจึงยังไหลลงไปไม่ได้
เมื่อเราทานอาหารที่มีไขมันเข้าไป ระบบประสาทอัตโนมัติจะสั่งการให้หูรูดที่ลำไส้เล็กเปิดออก
กินเก่ง อายุน้อย หนักเกือบร้อย ระวัง "โรคนิ่วในถุงน้ำดี"
ตัวเหลือง ตาเหลือง สัญญาณเตือนจากร่างกาย ภัยร้ายมากกว่าที่คิด
ถุงน้ำดีบีบตัวขับน้ำดีออกมา ผ่านท่อของถุงน้ำดี ลงมายังท่อน้ำดีรวม เข้าสู่ลำไส้เล็ก น้ำดีมีหน้าที่ตีไขมันให้แตกตัวเป็นหยดเล็กๆ จากนั้นจึงถูกน้ำย่อยไลเปส จากตับอ่อนย่อยต่อให้เป็นกรดไขมัน และกลีเซอรอล
ถุงน้ำดี VS โรคนิ่วในถุงน้ำดี เกี่ยวข้องกันยังไง??
โรคที่มีความเกี่ยวข้องกับถุงน้ำดี ที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด คือ โรคนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งถุงน้ำดีเป็นอวัยวะที่อยู่ส่วนล่างของตับ ทำหน้าที่เหมือนอ่างเก็บน้ำ คอยกักเก็บ และปล่อยน้ำดีออกมา ช่วยในเรื่องการย่อย และดูดซึมสารอาหารให้ดียิ่งขึ้น
ปวดในช่องท้อง สัญญาณเตือน 9 โรคอันตราย อย่านิ่งนอนใจจนโรคลุกลาม
เตือน! ดื่มเหล้าขาวกับเบียร์พร้อมกัน เสี่ยงเส้นเลือดในสมองแตก
โดย “ก้อนนิ่ว” จะเกิดขึ้นเมื่อส่วนประกอบของน้ำดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งคอเลสเตอรอลและบิลิรูบิน (สารให้สีในน้ำดี) ตกตะกอนผลึกเป็นก้อนคล้ายกับน้ำตาลที่ตกตะกอนอยู่ด้านล่างของขวดน้ำเชื่อม ซึ่งสามารถรักษาได้โดยการผ่าตัด และด้วยวิวัฒนาการในปัจจุบัน จึงมีวิธีการรักษาแนวใหม่ คือ การผ่าตัดในถุงน้ำดีผ่านช่องคลอด
ชนิดของนิ่วในถุงน้ำดี..แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1.ชนิดที่เกิดจากคอเลสเตอรอล (cholesterol stones) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยประมาณ 80% ของนิ่วในถุงน้ำดีทั้งหมด มีลักษณะเป็นก้อนสีขาว เหลือง หรือเขียว เกิดจากการมีคอเลสเตอรอลเพิ่มมากขึ้นในน้ำดี หรือการบีบตัวของกล้ามเนื้อในถุงน้ำดีมีสมรรถภาพไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถบีบสารออกได้หมด
2.ชนิดที่เกิดจากเม็ดสีหรือบิลิรูบิน (pigment stones) ก้อนนิ่วชนิดนี้มีขนาดเล็กกว่าและมีสีคล้ำกว่าชนิดที่เกิดจากคอเลสเตอรอล มักพบในผู้ป่วยโรคตับแข็งหรือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของเลือด เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย โรคโลหิตจางจากการขาดเอนไซม์ G6PD
ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี
- พันธุกรรม ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีจะมีความเสี่ยงของการเกิดโรคนี้มากขึ้น
- ภาวะอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีผลมาก เนื่องจากความอ้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลในน้ำดีเพิ่มขึ้น
- ฮอร์โมนเอสโตรเจนและการตั้งครรภ์ มีผลเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลและลดการเคลื่อนตัวของถุงน้ำดี ผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนทดแทนจึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีได้
- เพศและอายุ โรคนิ่วในถุงน้ำดีพบมากในเพศหญิงและผู้สูงอายุ
- โรคเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานมีแนวโน้มที่จะมีระดับของไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น และถุงน้ำดีจะมีการบีบตัวน้อยในผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้
- การลดน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ตับหลั่งคอเลสเตอรอลออกมามากขึ้น รวมถึงถุงน้ำดีจะบีบตัวลดน้อยลง น้ำดีจึงค้างอยู่ในถุงน้ำดีนานขึ้น โอกาสเกิดการตกตะกอนก็มากขึ้น
- อาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูงและเส้นใยต่ำ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้
นักวิจัยพบ “ฝีดาษลิง” อาจกลายพันธุ์มากกว่าที่คาดไว้
โรคซึมเศร้า โรคที่ต้องการยาและคนเข้าใจ มากกว่าผู้ตัดสิน
อาการที่บ่งบอกว่าคุณ (อาจ) เป็นนิ่วในถุงน้ำดี
- ปวดท้องอย่างรุนแรงโดยเฉพาะบริเวณช่วงท้องส่วนบนหรือด้านขวา โดยมีระยะเวลาปวดตั้งแต่ 15 นาทีถึงหลายชั่วโมง และอาจมีอาการปวดร้าวไปยังบริเวณกระดูกสะบักหรือบริเวณไหล่ด้านขวา
- คลื่นไส้ อาเจียน
- อาการทางระบบทางเดินอาหารอื่นๆ เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย แสบร้อนที่ยอดอก มีลมในกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะเสียดแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่หลังรับประทานอาหารมัน
- หากมีอาการของถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน จะทำให้มีไข้ ปวดท้องใต้ชายโครงขวา และอาจมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง ปัสสาวะมีสีเข้มได้
การวินิจฉัยนิ่วในถุงน้ำดี
- การซักประวัติอาการและการตรวจร่างกาย
- การตรวจเลือดดูการทำงานของตับ
- การทำอัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนบน
- การส่องกล้องตรวจรักษาท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (endoscopic retrograde cholangiopancreatography: ERCP) จะทำในกรณีที่สงสัยว่ามีนิ่วในท่อน้ำดี
- การใช้เข็มเจาะผ่านตับเข้าไปในท่อน้ำดี (percutaneous transhepatic cholangiography: PTC) จะทำในกรณีท่อน้ำดีอุดตัน
แนวทางการรักษานิ่วในถุงน้ำดี
- การผ่าตัดถุงน้ำดี
- การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบเปิดหน้าท้อง
- การผ่าตัดถุงน้ำดีโดยการส่องกล้อง (laparoscopic cholecystectomy)
- การส่องกล้องตรวจรักษาท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (endoscopic retrograde cholangiopancreatography: ERCP) ในกรณีที่มีนิ่วในท่อน้ำดีร่วมด้วย
- การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านช่องคลอด (Trans Vagina Cholecystectomy)
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น..หลังผ่าตัด!
เนื่องจากถุงน้ำดีเป็นเพียงตัวเก็บพักน้ำดี ในกรณีที่ผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก น้ำดียังคงถูกสร้างจากตับและไหลลงมาตามท่อน้ำดีเข้าสู่ลำไส้เล็กเพื่อย่อยไขมันตามปกติ เพียงแต่อาจไม่เข้มข้นเท่าเดิม ทั้งนี้พบว่า 10% ของคนที่ไม่มีถุงน้ำดีอาจมีอาการท้องเสียจากน้ำดีไหลออกมามากเกินไปได้
“ไอโอดีน” สารอาหารสำคัญ ร่างกายต้องการไม่มากแต่ขาดไม่ได้
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลพญาไท 2