ตัวเลขใน "ผลตรวจสุขภาพ" บอกอะไรเราบ้าง รู้ให้ชัดร่างกายปกติหรือไม่
ตัวเลขในผลตรวจสุขภาพมักทำให้หลายคนสับสน แต่ค่าเหล่าานี้มีความสำคัญ ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจกับคำอธิบายต่อไปนี้
หลายครั้งที่เราไปตรวจสุขภาพ เรามักจะพบกับคำศัพท์ที่ยากจะเข้าใจ ตัวย่อของการตรวจวัดค่าต่างๆ ในร่างกาย รวมถึงตัวเลขที่ดูเหมือนว่าคุณหมอเท่านั้นที่จะรู้ความหมาย หลังจากที่ได้รับการอธิบายจากคุณหมอแล้วก็ถึงจะเข้าใจ พอกลับมาบ้านก็รู้สึกยังจำไม่ค่อยได้เลยว่าตัวเลขเท่านี้ดีหรือไม่ดี สรุปแล้วร่างกายเราปกติหรือไม่ เพราะฉะนั้นการเข้าใจผลตรวจสุขภาพพื้นฐานจึงเป็นสิ่งที่เราควรรู้เมื่อไปตรวจสุขภาพ
เช็กสัญญาณเตือนโรคร้าย อาการแบบนี้ควร "ส่องกล้อง" ก่อนโรคลุกลาม
“นั่งเนือยนิ่ง” เสี่ยงป่วย NCDs แนะขยับร่างกายลดน้ำตาล-ไขมันในเลือด
เบสิคการตรวจร่างกายของแพ็คเกจสุขภาพมีอะไรบ้าง
พื้นฐานการตรวจสุขภาพของทุกๆ โรงพยาบาลนอกจากการวัดความดัน วัดส่วนสูงและน้ำหนักแล้ว การตรวจวัดค่าพื้นฐานความปกติในร่างกายหรือการตรวจสารเคมีในเลือดที่จำเป็น จะเริ่มจากการตรวจหมู่เลือดตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดตรวจระดับไขมันในเลือดตรวจการทำงานของตับตรวจการทำงานของไตตรวจปัสสาวะตรวจกรดยูริคในเลือด เป็นต้น
ปวดในช่องท้อง สัญญาณเตือน 9 โรคอันตราย อย่านิ่งนอนใจจนโรคลุกลาม
ตัวเหลือง ตาเหลือง สัญญาณเตือนจากร่างกาย ภัยร้ายมากกว่าที่คิด
ตัวเลขของการตรวจสุขภาพบอกอะไรเราได้บ้าง
1.ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
เป็นการตรวจนับปริมาณ, ปริมาตร และรูปร่างของเม็ดเลือดแดงเพื่อบอกว่าเราเป็นโรคโลหิตจางหรือไม่ ดังนั้้นค่าฮีโมโกบิน (Hemoglobin) ของผู้ชายจะต้องอยู่ที่ประมาณ 13-18 และผู้หญิงจะอยู่ที่ประมาณ 5-16.5 หากมีค่าต่ำกว่าอาจจะเป็นโรคโลหิตจาง หรือธาลัสซีเมีย
2.ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
เป็นการตรวจหาข้อบ่งชี้ของโรคเบาหวาน โดยที่ระดับกลูโคส หรือ Blood Glucose จะต้องไม่เกิน 100 หากเกิน 126 คุณอาจจะกำลังเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานอยู่ แต่อย่างไรก็ตามผลตรวจอาจจะยังมีความไม่แน่นอนนัก อาจจะต้องมีการตรวจหาเบาหวานเพิ่มเติมในวันอื่นๆ ด้วยเพื่อความแน่นอน การตรวจระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (GlycatedHb – HbA1c) เป็นอีกหนึ่งวิธีในการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งจะเป็นการตรวจน้ำตาลสะสมในเลือดในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา เพื่อความแม่นยำในการตรวจเบาหวาน โดยจะต้องมีค่าไม่เกิน 7 หากมีค่าตัวเลขสูงกว่า 6.5 ขึ้นไปคุณอาจจะเป็นการยืนยันว่าคุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่
มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคที่ผู้ชายวัย 50+ เสี่ยงมากกว่าใคร
ท้องผูกบ่อย ๆ เรื่องใหญ่กว่าที่คิด ลองปรับชีวิตประจำวันก่อนกินยา
3.ตรวจระดับไขมันในเลือด
เป็นการตรวจทั้งคลอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ เพื่อหาความเสี่ยงในการเป็นโรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับข้องกับโรคความดัน หลอดเลือดหัวใจ เส้นเลือดสมอง โดยจะมีการตรวจระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด (Cholesterol) จะต้องมีค่าไม่เกิน 200 แต่ถ้าหากมีค่ามากกว่า 240 คุณอาจจะกำลังเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจสูง
4.การตรวจระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด (Triglyceride)
จะต้องมีค่าไม่เกิน 150 หรือถ้าหากมากกว่า 200 มีความเสี่ยงที่จะมีภาวะหลอดเลือดแข็งและโรคหัวใจ การตรวจระดับไขมันความหนาแน่นสูง (HDL) เป็นไขมันที่ช่วยนำพวกคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ไปกำจัดทิ้ง ซึ่งถ้ามีค่าตัวนี้มากจะยิ่งดี โดยค่าปกติของ HDL จึงควรมากกว่า 35 ถึงจะดี
5.ตรวจการทำงานของตับ
เป็นการตรวจหาเอ็นไซม์ของตับ เพื่อดูว่าตับมีการทำงานปกติอยู่หรือไม่ โดยดูได้จากค่า SGOT และ SGPTซึ่งค่าปกติคือประมาณ 40 U/L หากมีค่าเกินกว่านี้แสดงว่าคุณอาจจะมีภาวะตับอักเสบอยู่ก็ได้ การตรวจเอนไซม์ในเซลล์เยื่อบุท่อน้ำดีของตับ (Alkaline Phos) เป็นหนึ่งในการตรวจหาความปกติของการทำงานของตับเช่นกัน โดยเป็นการหาการอุดตันของตับ ถ้ามีค่ามากกว่า 280 อาจจะมีความเสี่ยงภาวะตับแข็ง หรือมีนิ่วในถุงน้ำดี หรือเป็นมะเร็งในตับก็ได้
6.ตรวจการทำงานของไต หรือ Blood Urea Nitrogen (BUN)
เป็นการวัดระดับปริมาณของเสียในร่างกายที่ร่างกายจะสามารถขับออกไปได้ ซึ่งค่าปกติของการทำงานของไตคือ 6-20 หากคุณตรวจวัดได้ค่าที่มากกว่านี้ คุณอาจจะกำลังมีภาวะไตเสื่อม เพราะร่างกายไม่สามารถขับของเสียออกไปได้ตามปกติ
ตรวจระดับครีเอตินินในเลือด (Creatinine) ก็เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจการทำงานของไตที่บ่งบอกว่าคุณเป็นโรคไตอยู่หรือเปล่า ดังนั้นค่ามาตรฐานของครีเอตินคือ 6 – 1.2 ถ้าหากมีค่ามากกว่านี้คุณอาจจะกำลังเสี่ยงเป็นโรคไต
ผู้หญิงควรสังเกต อาการบ่งชี้และสัญญาณเตือน "มะเร็ง"
สูงวัยควรทำ 11 สิ่งนี้ เสริม "หัวใจ" แข็งแรงยาวนาน
7.ตรวจกรดยูริคในเลือด (Uric Acid)
เป็นการตรวจเกลือยูริคในเลือดหรือหาโรคเก๊าต์นั่นเอง โดยคนปกติหรือผู้ชายปกติจะต้องมีค่าไม่เกิน 5 และผู้หญิงจะต้องไม่เกิน 8
8.ตรวจปัสสาวะ (UA)
สามารถวัดความผิดปกติได้หลายอย่าง แต่หลักๆ แล้วการตรวจปัสสาวะจะเป็นการหาความถ่วงจำเพาะ หรือก็คือพฤติกรรมการดื่มน้ำของเรา โดยคนปกติค่าจะอยู่ที่ 010 – 1.020 ถ้ามากกว่าแสดงว่าร่างกายขาดน้ำ หรือเราดื่มน้ำน้อยเกินไป แต่ถ้าน้อยกว่านี้แสดงว่าเราดื่มน้ำมากเกินไป ร่างกายจึงต้องกำจัดน้ำออกมาทางปัสสาวะหรืออาจจะกำลังเป็นโรคเบาจืดอยู่ก็ได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตามผลการตรวจสุขภาพต่างๆ เหล่านี้ยังต้องผ่านการพิจารณาจากคุณหมอเพื่อความแม่นยำและแน่ชัดในการวิเคราะห์ ค่าวัดผลต่างๆ เป็นเพียงตัวเลขที่บ่งชี้หลังจากการตรวจสุขภาพเบื้องต้น การวินิจฉัยต่างๆ จะต้องอยู่ในดุลยพินิจของหมอด้วย
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4