"ไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรัง" ไม่ใช่เรื่องเล็ก อาจก่อโรคร้ายในอนาคตได้
ไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรังหากปล่อยไว้ไม่รีบรับการรักษา อาจอาจก่อให้เกิด “โรคตับแข็ง” และ “มะเร็งตับ” ได้
เชื่อหรือไม่ว่า..ประชากรเกือบ 1 ใน 3 ของโลกเคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และประมาณ 400 ล้านคน กลายเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรัง และจากข้อมูลปี พ.ศ. 2552 พบว่ามีประชากรที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังในประเทศไทยสูงถึงร้อยละ 8 ของประชากรหรือราว 3 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมักไม่มีอาการผิดปกติ กว่าจะเข้ามารับการตรวจรักษา ตัวโรคก็พัฒนาเกินระยะที่จะสามารถทำการรักษาให้หายได้ นั่นคือ...เกิดภาวะตับแข็งและมะเร็งตับระยะลุกลามแล้ว
ล้วง "ตับ" รู้ลึกความสำคัญ แนะ 8 เคล็ดลับดูแลให้สุขภาพดี
ไม่อยากอาหาร ผอมเร็ว อ่อนเพลีย หนึ่งในสัญญาณ "โรคมะเร็งตับ"
มนุษย์เรานี่ล่ะ! พาหะในการส่งต่อเชื้อ “ไวรัสตับอักเสบบี”
ไวรัสตับอักเสบบีสามารถพบได้ในสารคัดหลั่งทุกชนิดของผู้ติดเชื้อโดยเฉพาะในกระแสเลือด จึงสามารถแพร่เชื้อได้จากบุคคลหนึ่งสู่อีกบุคคลหนึ่งได้ โดยช่องทางที่พบว่าเป็นสาเหตุให้มีการแพร่เชื้อมากที่สุดก็คือ ทางเพศสัมพันธ์และการถ่ายทอดจากแม่ที่มีเชื้อสู่ทารก
อาการ
เมื่อได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะเข้าไปในกระแสเลือดและแทรกตัวเข้าไปในเซลล์ตับ
- บางรายอาจมีอาการคล้ายไข้หวัด
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- ตับโตและตัวตาเหลืองได้
- แต่ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการผิดปกติชัดเจน
ฝ่าวิกฤตมะเร็งตับกับ “แบงค์ พชร” แนะวิธีจัดการโรคร้ายและการดูแลตนเอง
ไวรัสตับอักเสบบี ภัยเงียบ แพร่ง่าย ก่อโรคร้ายถึงชีวิต
ติดเชื้อ...ต้องรีบรักษา เพราะอาจก่อให้เกิด “โรคตับแข็ง” และ “มะเร็งตับ” ได้
หลายรายคิดว่าไม่มีอาการก็ไม่น่าจะต้องทำอะไร แต่ในความเป็นจริง จากข้อมูลที่มีการศึกษาติดตามผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรังไปนาน 5 ปี จะพบว่ามีผู้ป่วยเกิดภาวะตับแข็งประมาณร้อยละ 8-20 คือมีอาการตัวบวมขาบวม ตัวตาเหลือง ซึม สับสน ซึ่งเกินจะเยียวยารักษาให้ดีขึ้น ต้องรอรับบริจาคตับเพื่อต่อการมีชีวิตอยู่ หรืออาจเสียชีวิตด้วยภาวะตับวาย หรืออาจตรวจพบว่ามีก้อนขนาดใหญ่ในตับ ซึ่งก็คือ...มะเร็งตับ
แนวทางการรักษา...อาจขึ้นอยู่กับปัจจัยเฉพาะในแต่ละบุคคล
เชื้อไวรัสตับอักเสบบีเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่อาศัยร่างกายมนุษย์ในการดำรงชีพ จึงสามารถแบ่งตัวเพิ่มปริมาณในร่างกายได้ การติดตามดูนิสัยของเชื้อไวรัสว่าปริมาณเชื้อมีเท่าไร ความสามารถในการแบ่งตัวเร็วหรือช้า และทำลายตับมากหรือน้อย จะเป็นเครื่องมือที่นำมาสู่การประเมินแนวทางการรักษาให้เหมาะสมแก่ผู้ป่วยแต่ละราย ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าผู้ป่วยมีไวรัสตับอักเสบบีที่นิสัยไม่ดีแบ่งตัวเร็ว มีปริมาณเชื้อมาก และมีตับอักเสบมาก แน่นอนผู้ป่วยรายนี้ก็มีโอกาสเกิดตับแข็งมาก มีโอกาสเกิดมะเร็งตับมาก จึงต้องได้รับการรักษาเพื่อลดปริมาณไวรัสให้เหมาะสม
ถ้าผู้ป่วยมีไวรัสตับอักเสบบีปริมาณเชื้อน้อยและไม่ก่อให้เกิดภาวะตับอักเสบ โอกาสการเกิดตับแข็งหรือมะเร็งตับก็ย่อมน้อยตาม ก็จะยังไม่ต้องเริ่มการรักษา เพียงแต่ต้องมีการติดตามเป็นระยะ ๆ และพร้อมที่จะเริ่มให้การรักษาถ้าหากว่านิสัยของไวรัสเปลี่ยนไป ซึ่งในส่วนนี้แพทย์ผู้รักษามีหน้าที่ที่จะอธิบายและให้ความรู้เพื่อให้ผู้ติดเชื้อมีความเข้าในเกี่ยวกับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
เตือน! กินตับสด ไม่สุก เสี่ยงติด “เชื้อ-พยาธิ-ไข้หูดับ”
"มะเร็งต่อมน้ำเหลือง" พบได้บ่อยในคนไทย หมอแนะวิธีสังเกต คลำจุดใดบ้างตามร่างกาย
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม...ช่วยรักษา “โรคตับ”
นอกจากติดตามการรักษาแล้ว การดูแลตัวเองก็เป็นเรื่องสำคัญ
- การออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- การฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลทำลายตับ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานถั่วบดซึ่งมักมีเชื้อราบางชนิดที่ส่งผลกระทบต่อตับ การรับประทานยาบางชนิด
เชื้อไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรังเป็นเหมือนภัยเงียบ ค่อยๆ เกิดโรคร้ายโดยที่ผู้ที่ติดเชื้อไม่มีอาการ จึงจำเป็นที่ต้องได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัว การติดตามการดำเนินของโรค และการรักษาที่เหมาะสมโดยแพทย์เฉพาะทาง เพื่อยืดอายุของตับให้อยู่กับคุณไปนานที่สุด
ตัวเลขใน "ผลตรวจสุขภาพ" บอกอะไรเราบ้าง รู้ให้ชัดร่างกายปกติหรือไม่
สปสช.เคาะปรับหลักเกณฑ์จ่ายโควิด รักษาตามสิทธิ มีผล 4 ก.ค.65
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลพญาไท 2