ตับแข็ง โรคที่เกิดจากไวรัสและพฤติกรรมการกิน - ดื่มของคุณเอง
โรคตับแข็งเป็นโรคที่พบบ่อยในเพศชายมากกว่าหญิงอายุมากกว่า 50 ปี ซึ่งสาเหตุนอกจากไวรัสแล้วยังมาจากพฤติกรรมของเราเองอีกด้วย
ตับ เป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดภายในร่างกาย เปรียบเหมือนแม่บ้านใหญ่ ทำหน้าที่ควบคุมสภาพร่างกายให้เป็นปกติในหลายๆ ด้าน ช่วยขจัดสารพิษ ของเสียออกจากเลือด สร้างภูมิคุ้มกันบางอย่างขึ้นมาเพื่อต่อสู้เชื้อโรค ตลอดจนกำจัดเชื้อโรคต่างๆ ออกจากเลือด ตับยังทำหน้าที่สร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบในการทำให้เลือดแข็งตัว ตลอดจนสร้างน้ำดีซึ่งทำหน้าที่ในการดูดซึมไขมัน วิตามินชนิดละลายในไขมัน ย่อยอาหาร
24 สิงหาคม “วันแห่งความรักสุรา” บทเรียนยาพิษแสนหวานของกวีเอก
"ตับ" ไม่ทำงานจะเกิดอะไรขึ้น เช็กสาเหตุทำร้ายอวัยวะก่อนสายเกินแก้
ตับแข็ง (Cirrhosis)
เป็นภาวะที่มีการเสื่อมของเซลล์ตับอย่างเรื้อรัง ที่พบได้บ่อยมีการสร้างผังผืด และเกิดปมกระจายอยู่ทั่วไป ผิวของตับจะขรุขระ โครงสร้างและหน้าที่ปกติเสียไป โครงสร้างของกลีบตับและทางไหลเวียนของเลือดค่อยๆ เปลี่ยนไป ตับจึงเปลี่ยนรูปร่าง แข็งขึ้นและกลายเป็นตับแข็งในที่สุด พบบ่อยโดยเฉพาะในเพศชายมากกว่าหญิง อายุมากกว่า 50 ปี พบในผู้ที่ชอบดื่มสุรา และอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่นๆ ร่วมด้วย
"ไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรัง" ไม่ใช่เรื่องเล็ก อาจก่อโรคร้ายในอนาคตได้
สาเหตุของโรคตับแข็ง
- การดื่มสุราปริมาณมากเป็นเวลานาน
- ไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบบีและซี
- ภาวะไขมันพอกตับ
- ภาวะดีซ่านเรื้อรัง จากท่อน้ำดีอุดตัน เนื่องจากนิ่วอุดตันท่อน้ำดี หรือเนื้องอกอุดตัน หรือเบียดท่อน้ำดี
- ความผิดปกติของระบบการหมุนเวียน ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบแบบหดรั้งเรื้อรัง จะทำให้ตับขาดออกซิเจน เนื่องจากมีเลือดคั่งที่ตับเป็นเวลานาน ทำให้เซลล์ตับตายและกลายเป็นพังผืด เรียกว่า โรคตับแข็งแบบเลือดคั่ง หรือโรคตับแข็งจากหัวใจ (Cardiac Cirrhosis )
- การสัมผัสกับสารพิษเป็นเวลานาน การใช้ยาบางประเภทเป็นเวลานาน สามารถทำให้ตับอักเสบจากสารพิษ หรือตับอักเสบจากยาซึ่งกระตุ้นให้เกิดโรคตับแข็งได้
- โรคกรรมพันธุ์บางชนิด
- ไม่ทราบสาเหตุ
รู้จักโรค "ติ่งเนื้อในถุงน้ำดี" ควรรอหรือต้องรีบรักษา
“สารประกอบในมะกรูด” มีฤทธิ์ต้านโควิด-19 ได้ใกล้เคียง “ยาเรมดิซิเวียร์”
ลักษณะอาการของโรคตับแข็ง
ผู้ป่วยตับแข็งระยะแรกจะไม่มีอาการ เมื่อตับแข็งมากขึ้นเรื่อยๆ จึงเกิดอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร
เมื่อเป็นมากขึ้นอาจมาด้วยอาการแทรกซ้อนของโรคตับแข็ง เช่น บวม ตาเหลือง ตัวเหลือง ขาบวม
การตรวจวินิจฉัย
การตรวจหาภาวะตับแข็งในผู้ที่มีความเสี่ยงจึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด การตรวจวินิจฉัยภาวะตับแข็งประกอบไปด้วยการตรวจเลือด การตรวจทางรังสีวิทยาดูลักษณะของตับ ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือการตรวจด้วยเครื่อง MRI โรคตับแข็งไม่มียารักษาเฉพาะ ทำได้โดยการป้องกันไม่ให้ตับแข็งมากขึ้น
โดยดูแลที่สาเหตุ งดดื่มสุรากรณีที่มีสาเหตุจากสุรา ในรายที่เป็นไวรัสตับอักเสบ บีและซี ควรพักผ่อนอย่างเพียงพอ ลดการรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม เพื่อลดอาการขาบวม ท้องบวม การผ่าตัดเปลี่ยนตับเป็นวิธี ที่ดีที่สุด แต่มีข้อจำกัดเรื่องค่าใช้จ่ายสูง และตับที่มีผู้บริจาคมีจำนวนน้อย รวมถึงต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกันตลอด
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน