7 ท่ากายบริหารง่ายๆ หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม การดูแลรักษาแผลและการดูแลตนเองเป็นเรื่องสำคัญมาก รวมไปถึงการกายภาพบำบัดเพื่อให้ร่างกายและเข่าฟื้นฟูได้อย่างเต็มที่
นอกจากการดูแลและเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดจะเป็นเรื่องสำคัญแล้ว การฟื้นฟูร่างกายหลังการผ่าตัดก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องรู้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคกระดูกและข้อ จำเป็นที่จะต้องใส่ใจดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีเพื่อให้บาดแผลจากการผ่าตัดฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็ว
การกายภาพบำบัดหรือกายบริหารเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้หลังการผ่าตัด เพราะการสร้างความแข็งแรง เพิ่มประสิทธิภาพให้กล้ามเนื้อ เอ็น นั้นจะทำให้เรากลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติได้เร็วขึ้นเท่านั้น
หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า แนะวิธีดูแลตัวเอง - การใช้ชีวิตประจำวัน
"เข่าเสื่อม" รักษาได้ คืนคุณภาพชีวิตที่ดีได้อย่าง "มี้ พิศมัย"
ท่าบริหารข้อเข่าหลังผ่าตัดแล้ว 1-7 วันแรก
1. Ankle Pump
- นอนหงาย
- เอาหมอนรองขาให้สูง
- กระดกข้อเท้าขึ้น-ลง
ทำช้าๆ ท่าละ 10-20 ครั้ง วันละ 2-4 รอบ
2. Knee Press
- นอนหงาย
- ม้วนผ้าขนหนูรองใต้ข้อเท้า
- เกร็งกล้ามเนื้อต้นขากดเข่าลงติดเตียง
ทำช้าๆ ท่าละ 10-20 ครั้ง วันละ 2-4 รอบ
"อัมพาตหน้าครึ่งซีก" โรคใกล้ตัว จากความผิดปกติของเส้นประสาท
เสริมแกร่งร่างกาย ด้วย 7 วิตามินสร้างภูมิคุ้มกันต้านโควิด-19
3. Heel Slides
- นอนหงาย ขาเหยียดตรง
- งอเข่าเข้าหาลำตัว โดยลากปลายเท้ามาชิดก้น (ส้นเท้าติดพื้นตลอดช่วงการเคลื่อนไหว)
- เหยียดขากลับสู่ท่าเริ่มต้น
ทำช้าๆ ท่าละ 10-20 ครั้ง วันละ 2-4 รอบ
4. Straight Leg Raise
- นอนหงาย เหยียดขาตรง
- เกร็งกล้ามเนื้อหน้าขาข้างที่บริหาร กระดกข้อเท้า ยกขาขึ้นสูง (เข่าเหยียดตรงตลอดช่วงการเคลื่อนไหว)
- วางขาลงกลับสู่ท่าเริ่มต้น
ทำช้าๆ ท่าละ 10-20 ครั้ง วันละ 2-4 รอบ
5. Sitting Knee Extension
- นั่งข้างเตียงหรือนั่งห้อยขาบนเก้าอี้ หนีบลูกบอลระหว่างเข่า
- เตะขาไปทางด้านหน้า เกร็งกล้ามเนื้อหน้าขา
- เข่าเหยียดตรงให้ได้มากที่สุดด้วยกำลังขาของตนเอง
- ค้างไว้ 10-20 วินาทีหรือเท่าที่ทนไหว
- งอเข่ากลับสู่ท่าเริ่มต้น
ทำช้าๆ ท่าละ 10-20 ครั้ง วันละ 2-4 รอบ
ท่าบริหารและเพิ่มองศาข้อเข่าหลังการผ่าตัด หลัง 7 วัน
1. Towel Knee Range Of Motion
- นั่งเหยียดขาทั้ง 2 ข้างบนเตียง
- นำผ้าขนหนูคล้องใต้ฝ่าเท้าข้างที่บริหาร
- งอเข่า ออกแรงดึงผ้าขนหนูเข้าหาลำตัว
- ค้างไว้ 10-20 วินาทีหรือเท่าที่ทนไหว
- เหยียดเข่ากลับสู่ท่าเริ่มต้น
ทำช้าๆ ท่าละ 10-20 ครั้ง วันละ 2-4 รอบ
2. Bridging
นอนหงาย ชันเข่าทั้ง 2 ข้างขึ้นหนีบลูกบอลระหว่างเข่า
ยกสะโพกขึ้น
ค้างไว้ 10-20 วินาทีหรือเท่าที่ทนไหว
ผ่อนสะโพกลงกลับสู่ท่าเริ่มต้น
ทำช้าๆ ท่าละ 10-20 ครั้ง วันละ 2-4 รอบ
หลังการออกกำลังกาย อย่าลืมประคบเย็นบริเวณเข่า 10-20 นาที จะช่วยลดอาการปวดและบวมของข้อเข่าได้
วิธีถนอมข้อเข่าเทียม
ถึงแม้ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเทียมแล้วก็ยังต้องดูแลตนเองเพื่อถนอมข้อเทียมให้ยาวนาน โดยปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม ดังนี้
1.หลีกเลี่ยงอิริยาบถที่มีแรงกดที่ข้อ ได้แก่
- นั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ นั่งยอง ๆ นั่งเก้าอี้เตี้ย นั่งไขว่ห้าง ไขว้ขา การบิดหมุนเข่าไม่ว่ากรณีใด ๆ
- ขึ้นลงบันไดโดยไม่จำเป็น
- การยกหรือแบกของหนัก ๆ
- การใช้หมอนรองใต้เข่าเป็นเวลานาน ๆ ขณะนอน จะทำให้การไหลเวียนเลือดที่ใต้ข้อพับเข่าเป็นไปได้ไม่สะดวกและข้อเข่าอาจตึงยึดเอ็นที่หนาตัวขึ้น ตลอดจนความขรุขระของกระดูกอ่อนที่บุปลายหัวกระดูก
2.การจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน ได้แก่
- บริเวณบ้านควรจัดให้โล่ง สว่าง ไม่มีสิ่งกีดขวางบนทางเดิน เพื่อกันการสะดุดล้มลง
- ถ้าจำเป็นต้องขึ้นลงบันไดควรมีราวจับทั้ง 2 ด้านของบันได
- ส้วมเป็นแบบชักโครก
- ภายในห้องน้ำควรใช้วัสดุกันลื่น มีราวจับ
- ควรจัดเก้าอี้สำหรับนั่งอาบน้ำจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและสะดวกสบายขณะอาบน้ำ
- หลีกเลี่ยงการลงไปอาบในอ่างอาบน้ำ เพราะอาจลื่นล้มได้ง่าย
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก ทีมนักกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเปาโล รังสิต,โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล
สถิติพบคนไทยเสียชีวิตจาก"โรคหัวใจ" เฉลี่ยชั่วโมงละ 7 คน
เช็ก 7 สาเหตุ “ผมร่วง” พฤติกรรมแบบไหนที่ควรทำเพื่อรักษาเส้นผม