เช็กอาการ "ตาแดง" แบบไหน คืออาการแพ้หรือติดเชื้อโควิด
เปิดวิธีเช็กอาการ‘ตาแดง’แบบไหน คืออาการแพ้หรือมีสาเหตุมาจากการติดโควิด พร้อมเผยเคล็ดลับในการดูแลสายตาในช่วงสภาพอาการเปลี่ยนแปลงและการแพร่ระบาดของโควิด
‘ตาแดง’ เป็นอีกหนึ่งโรคฮิตที่มักมากับฝน ที่เกิดจากความผิดปกติที่หลอดเลือดฝอยในดวงตา ซึ่งเกิดขึ้นง่าย ๆ หากถูกปัจจัยต่าง ๆ รอบตัวเรากระตุ้น ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส จากวัตถุต่าง ๆ ที่สัมผัสดวงตาโดยตรง หรือโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ อย่างโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในตอนนี้
ดังนั้นแล้ว จะรู้ได้อย่างไรว่าตาแดงแบบไหน คืออาการแพ้หรือมีสาเหตุจากการติดโควิด-19 ทีมข่าวนิวมีเดียพีพีทีวีได้รวบรวมข้อมูลวิธีการเช็กอาการ และการป้องกันที่น่าสนใจไว้ดังนี้
อย่าเชื่อ! น้ำทับทิม รักษาอาการต้อเนื้อ-ต้อลม-ต้อกระจก
‘ตาแดง’ ติดเชื้อง่ายระบาดเร็ว โรคที่มักเจอในหน้าฝน
‘ตาแดง’ จากอาการแพ้ หรือติดเชื้อโควิด
อาการตาแดง มักเกิดจาก 2 สาเหตุหลัก ดังนี้
- ตาแดงที่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัสที่พบบ่อย คือ ไวรัสอะดีโนไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และโควิด-19
- โรคที่ไม่ติดเชื้อ เช่น ตาแดงจากโรคภูมิแพ้ เป็นต้น
Holiday Heart Syndrome ระวังฉลองหนักจน "หัวใจ" พัง!
อาการตาแดงที่พบในผู้ป่วยโควิด-19 นั้น เข้าข่ายตกอยู่ในกรณีแรก คือ ตาแดงที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยอาการตาแดงจากโควิด-19 ไม่ใช่อาการใหม่ หากแต่พบมากขึ้นจากการระบาดระลอกใหม่ เกิดได้กับความรุนแรงของโรคตั้งแต่ระดับเล็กน้อย ไปจนถึงระดับรุนแรง
ทั้งนี้ พบว่าหากอาการของการติดเชื้อโควิดอยู่ในระดับรุนแรง จะพบอาการแสดงทางตาเยื่อบุตาอักเสบได้ และยังสามารถพบเชื้อโควิดได้ในน้ำตา สามารถติดต่อโรคทางน้ำตาได้ จึงควรระวังการสัมผัสที่ตา ขยี้ตา อาจนำเชื้อเข้าสู่เยื่อบุตา และแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้
ดังนั้นหากมีอาการตาแดง อย่าเพิ่งตื่นตระหนกว่าติดเชื้อโควิด-19 แล้ว เพราะเยื่อบุตาอักเสบจากโควิดพบน้อยกว่าเยื่อบุตาอักเสบจากสาเหตุอื่น ๆ มาก โดยผู้ป่วยที่แสดงอาการทางตาเพียงอย่างเดียว พบเป็นส่วนน้อยประมาณ 0.8-31% และมักจะมีอาการทางกายอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อโควิดร่วมด้วย
ส่วนผู้ที่มีอาการตาแดงจากโรคภูมิแพ้ เกิดจากร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่แพ้ โดยมักเกิดการอักเสบที่บริเวณเยื่อบุตาขาว สามารถเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ 1.) การแพ้ตามฤดูกาล มักเกิดขึ้นตามสภาพอากาศ มักเกิดซ้ำ ๆ ในช่วงเวลาเดิมของแต่ละเดือน 2.) แพ้สารต่าง ๆ เช่น ไรฝุ่น อาหาร เกสรดอกไม้ น้ำยาปรับผ้านุ่ม ขนตุ๊กตา เครื่องสำอาง ขนสัตว์ เป็นต้น และ 3.) แพ้คอนแทคเลนส์ มักเจอเม็ดขนาดใหญ่ที่บริเวณเยื่อบุตา จึงต้องตรวจผิวเยื่อบุตาอย่างละเอียด
ลักษณะอาการตาแดง
ตาแดงจากการติดโควิด
- ไม่มีน้ำตา หรือมีน้ำตาน้อย
- ไม่มีอาการคัน หรือมีอาการคันน้อย
- เกิดร่วมกับอาการอื่น เช่น ผื่น ไอ มีไข้ ท้องเสีย หรือมีอาการทางระบบหายใจอื่น ๆ
- อาการคัน
- เคืองตา
- แสบตา
- น้ำตาไหล
- เยื่อบุตาแดง
- ไวต่อแสง
วิธีการรักษา
สำหรับวิธีการรักษานั้น เนื่องจากสาเหตุของการเกิดโรคแตกต่างกัน ทำให้มีวิธีการรักษาแตกต่างกัน ดังนี้
ตาแดงจากโควิด
- อาการตาแดงไม่เร่งด่วนกับอาการทางกายอื่น ๆ เช่น มีผื่น มีไข้หรือบางรายไม่มีไข้ ให้ไปรักษาโควิด-19 เป็นอย่างแรก
- อาการทางตาเร่งด่วน มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิดสูงมาก ควรไปที่หน่วยแยกโรคของโรงพยาบาล เพื่อรักษาตามอาการ
1.หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ ผู้ป่วยจะหลีกเลี่ยงได้ถ้ารู้ว่าตนเองแพ้อะไร แต่ถ้าไม่รู้จะยากในการเลี่ยง และสิ่งที่แพ้บางอย่างก็ยากจะเลี่ยง เช่น อากาศ ไรฝุ่น
2.การรักษาทางจักษุ เพื่อยับยั้งอาการและป้องกันโรคแทรกซ้อน หากมีอาการภูมิแพ้ขึ้นตา จักษุแพทย์จะให้ยาหยอดตาเพื่อลดอาการอักเสบ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
- กลุ่มยาสเตียรอยด์ ข้อดีคือช่วยลดการอักเสบได้ดีที่สุด แต่ข้อเสียที่สำคัญคือ ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ต้อหิน ดังนั้นจักษุแพทย์จึงมักใช้ช่วงแรกในเวลาไม่นาน
- กลุ่มยาที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ มีฤทธิ์ลดการอักเสบได้ แต่ไม่เท่ากลุ่มยาสเตียรอยด์ ข้อดีคือไม่มีโรคแทรกซ้อน หยอดติดต่อกันได้นาน และทำให้เยื่อบุตาแข็งแรง ทนต่อสิ่งที่แพ้ได้มากขึ้น
การป้องกันสายตา
ในการป้องกันสายตา ไม่ว่าจะมีอาการตาแดงมาจากสาเหตุใด สามารถป้องกันได้ ดังนี้
- ล้างมือสม่ำเสมอ
- ใส่หน้ากากผ้า / หน้ากากอนามัยทุกครั้ง เว้นระยะห่าง
- ไม่ขยี้หรือสัมผัสดวงตา
- งดการใช้คอนแทคเลนส์
ใช้ผิดชีวิตเปลี่ยน! “น้ำมันพืช”แบบไหน ควรใช้อย่างไรถึงจะดีต่อสุขภาพ
เช็กอาการ “โรคกระดูกคอเสื่อม” รักษาช้า เสี่ยงพิการ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ และ กระทรวงสาธารณสุข