ไขข้อสงสัย กินเมล็ดผลไม้ทำให้เสี่ยง "ไส้ติ่งอักเสบ" จริงหรือไม่?
ไส้ติ่งเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะในร่างกายที่มีขนาดเล็ก เมื่อเกิดการอักเสบแล้วมีความอันตราย การรู้เท่าทันช่วยให้ได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงที
อวัยวะที่ยาวมากๆ อย่างลำไส้ สามารถเกิดความผิดปกติได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็งและอาการอักเสบที่สามารถเกิดขึ้นได้ ด้วยความยาวของทั้งลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ โดยรวมยาวรวมกันกว่า 9 เมตร ดังนั้นอาการอักเสบจึงสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายจุดของลำไส้
โดยจุดที่มีการอักเสบที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีคือ บริเวณไส้ติ่ง ที่มีความยาวตั้งแต่ 2-20 เซนติเมตร ตรงด้านขวาล่างของท้อง ที่ถึงแม้จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับปลายนิ้วก้อย แต่เมื่อเกิดการอักเสบขึ้นก็สร้างความทรมานและอันตรายไม่น้อยไปกว่าโรคอื่นๆ
ไส้ติ่งอักเสบในเด็ก ภัยเงียบที่ร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต
ปวดท้อง "ไส้ติ่งอักเสบ" สังเกตให้เป็นก่อนเสี่ยง “แตก”
ไขสารพัดข้อสงสัยโรคไส้ติ่งอักเสบ
เราสามารถแยกอาการปวดท้องไส้ติ่งอักเสบ กับปวดท้องอย่างอื่นได้หรือไม่ โดยเฉพาะในผู้หญิง ?
- ตอบ ไส้ติ่ง ปีกมดลูกข้างขวา รังไข่ข้างขวา อวัยวะเหล่านี้ล้วนอยู่ใกล้กัน เมื่อผู้หญิงมีอาการปวดท้อง มักจะแยกไม่ออกว่าปวดอะไร ดังนั้นในทางของการรักษาของทีมศัลยแพทย์จะส่งสูตินรีแพทย์ก่อนการผ่าตัด เพื่อความแน่ชัด เนื่องจากอาจมีการตรวจพบ ซีสต์รังไข่แตก ท้องนอกมดลูก ปีกมดลูกอักเสบ
จากประสบการณ์พบว่า ครั้งแรกที่มีอาการปวด จะไม่ได้ปวดตรงบริเวณไส้ติ่ง บางรายอาจรู้สึกคล้ายปวดโรคกระเพาะอาหาร อาจได้รับยาแล้วกลับไปพักที่บ้าน แต่รับประทานไปแล้วก็ยังไม่หายปวด ดังนั้นอาการปวดที่เกี่ยวโยงกับการต้องผ่าตัด ให้สังเกตอาการปวดที่ใช้ระยะเวลายาวนาน แต่ไม่หาย 5-6 ชั่วโมงขึ้นไป แต่ในทางกลับกัน ก็ยิ่งทำให้การอักเสบกระจายตัว เกิดอาการปวดย้ายจุด อาจจะจากสะดือย้ายลงไปปวดด้านขวาล่างเป็นต้น
6 สารพิษอันตราย แฝงตัวใน "อาหาร" ที่เรากินกันอยู่ทุกวัน
จริงหรือไม่ที่เมล็ดผลไม้ทำให้ไส้ติ่งอักเสบได้ ?
- ตอบ ความเชื่อนี้มีมานาน โดยเข้าใจว่า การรับประทานฝรั่งหรือแตงโมแล้วเมล็ดหล่นลงไป แต่ในทางการแพทย์เราไม่เคยพบว่ามีเมล็ดผลไม้อยู่ในไส้ติ่งแต่อย่างใด
ปวดในช่องท้อง สัญญาณเตือน 9 โรคอันตราย อย่านิ่งนอนใจจนโรคลุกลาม
สาเหตุที่แท้จริงของไส้ติ่งอักเสบ คืออะไร?
- ตอบ อุจจาระแข็งแล้วเข้าไปอุดในท่อ ในบางรายพบว่ามีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปอุด เช่น บางรายมีการอักเสบในบริเวณอื่นหรือต่อมน้ำเหลืองในบริเวณนั้นโตจนเข้าไปอุด ซึ่งบริเวณไส้ติ่งจะมีผนัง เยื่อเมือก เมื่อรูเกิดการอุดตันขึ้นมา เยื่อเมือกที่ร่างกายสร้างก็ไม่สามารถออกมาได้ จนเกิดการสะสม จึงดันตัวขึ้น ส่งผลให้ไส้ติ่งโปร่งออก โดยปกติแล้วไส้ติ่งจะมีเลือดมาเลี้ยง เมื่อไส้ติ่งโปร่งออกจนไม่สามารถให้เลือดเข้ามาเลี้ยงได้ สิ่งที่ตามคือ การเน่า
ทุกคนต้องปวดไส้ติ่งที่เดียวกันหรือไม่ ?
- ตอบ ไม่จำเป็นที่เดียวกัน อาการปวดมีหลายแบบ ในบางรายไส้ติ่งโผล่ไปด้านหน้าท้อง และมีการอักเสบด้านหน้า ลักษณะนี้จะมีอาการปวดรุนแรงอย่างชัดเจน แตะไม่ได้ เดินงอ อาเจียน ถือว่าชัดเจนดีและง่ายต่อการวินิจฉัย แต่ในบางรายมีการอักเสบแล้วตัวไส้ติ่งซุกกลับเข้าด้านใน ส่งผลให้มีอาการปวดน้อย แต่อืดท้อง รู้สึกไม่สบายตัว บอกอาการไม่ถูก เพราะกดไม่เจ็บมาก โดยเฉพาะในรายที่อ้วนมากๆ มีไขมันเยอะ หน้าท้องหน้า น้ำหนักประมาณ 100 กิโลกรัม ยิ่งทำให้การวินิจฉัยยากลำบาก เพราะกดไม่ถึงตัวไส้ติ่ง
เช็กสัญญาณเตือนโรคร้าย อาการแบบนี้ควร "ส่องกล้อง" ก่อนโรคลุกลาม
- รู้หรือไม่ว่า ความน่ากลัวของกลุ่มอาการที่แสดงไม่ชัดคืออาจทำให้การวินิจฉัยอาจคลาดเคลื่อนได้ ข้อมูลจากวิจัยของ Duke University ในสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ไส้ติ่งมีหน้าที่สร้าง หรือปกป้อง เชื้อจุลินทรีย์ในช่องท้อง แต่อวัยวะไส้ติ่งส่วนเล็กๆ นี้ หากเกิดการอักเสบ แล้วไม่รีบรักษา อาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เช่นกัน ทั้งนี้ไส้สิ่งอักเสบเป็นอาการปวดท้องเฉียบพลัน พบได้บ่อยในกลุ่มคนวัยไม่เกิน 30 ปี
การรักษาป้องกันทำได้อย่างไรบ้าง
ตอบ วิธีการผ่าตัดจะลงแผลบริเวณท้องน้อยด้านขวา ลงไปหาไส้ติ่งแล้วตัดทิ้ง ทั้งนี้หลายท่านอาจสังเกตว่า ทำไมไส้ติ่งถึงต้องผ่าตรงกลางตรงจุดนี้ ในบางรายที่ไส้ติ่งแตก แล้วมีหนองกระจายมากๆ ถ้าเราเปิดแผลมุมเดียวจะไม่สามารถกำจัดหนองได้หมด
ท้องผูกบ่อย ๆ เรื่องใหญ่กว่าที่คิด ลองปรับชีวิตประจำวันก่อนกินยา
ปัจจุบันวิวัฒนาการทางการแพทย์พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การรักษามีอีกหลายวิธี อย่างการส่องผ่านกล้อง โดยใช้กล้องเข้าไปสำรวจช่องท้องทั้งหมด ซึ่งการผ่าไส้ติ่งแบบเปิดแผลธรรมดา ทำให้แพทย์เห็นในมุมแคบ แต่การใช้กล้องสามารถได้ประโยชน์สองต่อ ในการสำรวจความผิดปกติของช่องท้องได้ ทั้งปีกมดลูก รังไข่ สามารถดูได้ทั้งหมด ดังนั้นเมื่อมีอาการปวด ดังที่กล่าวมาข้างต้น อย่ารอให้เกิดการไส้ติ่งแตก.. แต่ถ้าไส้ติ่งแตกแล้วก็จำเป็นต้องผ่าตัดทันที และรักษาไปตามขั้นตอนต่อไป
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน