"กลืนอาหารลำบาก - ปวดท้องบ่อย" ควรตรวจส่องกล้องกระเพาะอาหาร
อาการกลืนอาหารลำบาก ปวดท้องบ่อย อาจเป็นมากกว่าโรคกระเพาะทั่วไป เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นโรคชนิดใดกันแน่ การส่องกล้องกระเพาะอาหาร ช่วยไขคำตอบได้
อาการโรคกระเพาะเป็นโรคที่สร้างความทรมานและความรำคาญใจให้หลายๆ คน ซึ่งยาอาจช่วยระงับอาการได้ แต่ถ้าหากอาการปวดท้องมาพร้อมกับการรู้สึกกลืนอาหารลำบาก การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น อาจช่วยค้นหาสาเหตุของโรคได้
หาสาเหตุของอาการเหล่านี้ ด้วยวิธีส่องกล้อง
- รู้สึกกลืนอาหารลำบาก
- ปวดด้านบนของท้อง
- อาเจียนโดยไม่ทราบสาเหตุ
- มีเลือดออกบริเวณทางเดินอาหาร
แผลในกระเพาะอาหาร อาการปวดท้องจากติดเชื้อ H. PYLORI
แนะสารพัดวิธีดูแลตนเอง ให้ห่างไกล "โรคกระเพาะอักเสบ"
ทำความรู้จัก “การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น” (Upper GI Endoscopy)
การส่องกล้องกระเพาะอาหาร เป็นเทคนิคพิเศษสำหรับการตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนต้น เช่น หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น ในการส่องกล้องตรวจจะใช้กล้องที่มีลักษณะยาว เล็ก และสามารถโค้งงอได้ มีกล้องวิดีโอขนาดเล็ก และหลอดไฟอยู่ที่ส่วนปลาย โดยแพทย์สามารถขยับกล้องตรวจเช็คระบบทางเดินอาหารเพื่อให้เข้าไปในร่างกายได้อย่างปลอดภัย อีกทั้ง ยังบันทึกภาพให้ปรากฏบนจอแสดงภาพที่มีความคมชัดสูง มองเห็นรายละเอียดชัดเจน จึงสามารถตรวจ วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ
"กินเผ็ด" ทีไรแสบท้องทันที อาการนี้มีโอกาสเป็นโรคอะไรบ้าง
วิธีตรวจไม่ยุ่งยาก ดูแลการตรวจโดยบุคลากรเฉพาะทาง
โดยทั่วไปการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น จะใช้เวลาในการทำประมาณ 15-20 นาที ผู้ป่วยต้องเตรียมตัวเพื่อเข้ารับการส่องกล้องโดยแจ้งแพทย์ให้ทราบเกี่ยวกับโรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยา หรือยาที่ทานอยู่เป็นประจำ รวมถึงประวัติการผ่าตัด
นอกจากนี้ ควรงดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มใดๆ ภายใน 8-10 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการส่องกล้อง เนื่องจากเศษอาหารในกระเพาะอาหารอาจจะขัดขวางการทำงานของกล้อง และอาจทำให้ผู้ป่วยอาเจียนได้ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากการสำลักอาหาร
ไขข้อสงสัย กินเมล็ดผลไม้ทำให้เสี่ยง "ไส้ติ่งอักเสบ" จริงหรือไม่?
กระบวนการตรวจส่องกล้อง
- เมื่อผู้ป่วยเตรียมตัวมาพร้อมแล้ว เจ้าหน้าที่จะตรวจวัดความดันโลหิต ชีพจร และระดับออกซิเจนในเลือด
- จากนั้นแพทย์อาจให้ยาระงับความรู้สึก เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายขึ้น แต่ยังมีสติตลอดระยะเวลาทำการส่องกล้อง
- ผู้ป่วยอาจได้รับการพ่นสเปรย์ในบริเวณลำคอ หรือกลั้วปากด้วยยาชาก่อนทำการสอดกล้องเข้าไปผ่านลำคอ ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บ
- หลังจากตรวจเรียบร้อยแล้วแพทย์จะให้นอนพักระยะหนึ่ง ดังนั้นควรมีญาติมาด้วย
ท้องผูกบ่อย ๆ เรื่องใหญ่กว่าที่คิด ลองปรับชีวิตประจำวันก่อนกินยา
ผลจากการเข้ารับการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น
การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น ใช้ในการประเมิน หรือตรวจวินิจฉัยปัญหาต่างๆ เช่น การกลืนลำบาก ปวดท้อง เลือดออกในช่องท้อง แผลในกระเพาะอาหาร เนื้องอก และหากแพทย์พบสิ่งที่น่าสงสัย แพทย์สามารถทำการตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจสอบ
นอกจากนี้ การส่องกล้องฯ ยังเป็นวิธีการที่มีความปลอดภัยสูง ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นน้อยมาก ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น ท้องเฟ้อ เจ็บคอ หรือปวดท้อง โดยอาการเหล่านี้จะหายได้เอง ภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน