“กลิ่นตัว” เรื่องใหญ่ที่เราไม่ได้กลิ่นแต่คนรอบข้างถอยห่าง
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมใหญ่ มีกลิ่นตัวโดยธรรมชาติซึ่งเมื่อมีสิ่งกระตุ้นบางครั้งอาจกลายเป็นกลิ่นที่ไม่น่าพิสมัย หรือที่เราเรียกว่า “กลิ่นตัว”
เรื่องของเรื่องที่ว่าเป็นเรื่องใหญ่ ก็เพราะว่า ส่วนใหญ่ “คนที่มีกลิ่นตัวมักจะไม่ได้กลิ่นของตัวเอง” แต่น้องกลิ่นกลับดื้อดึงจะไปรบกวนผู้คนรอบข้าง และคนทั่วไปมักจะมองว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับการบอกให้เจ้าตัวรู้ โดยกลิ่นตัวที่มากนี้อาจจะทำให้ขาดความมั่นใจหรือมีคุณภาพชีวิตที่ลดลง ดังนั้นคนใกล้ชิดและเพื่อนสนิทควรกระซิบบอกและแนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเพื่อให้กลิ่นตัวนั้นลดลง คืนความมั่นใจให้กลับคืนมา
เผยวิธีดูแลตัวเองให้ไม่มี "กลิ่นตัว" ปัญหากวนใจทั้งหญิงและชาย
กินอาหารแบบไม่นับ "แคลอรี" อย่างไร ให้หุ่นดีไปยาวๆ
รู้จักต่อมเหงื่อและต่อมกลิ่นตัว ของคนเราที่มีอยู่ 2 ชนิด
- ต่อมเหงื่อที่อยู่กระจายใต้ผิวหนังทั่วร่างกาย มีหน้าที่ผลิตเหงื่อเพื่อระบายความร้อนจากภายในร่างกายเมื่อมีความร้อนสูง เพื่อควบคุมไม่ให้ความร้อนในร่างกายนั้นสูงเกินไป
- “ต่อมกลิ่น” คือต่อมเหงื่อที่อยู่บริเวณรักแร้ ขาหนีบ หลังหูหรือซอกคอ พบได้ตั้งแต่เกิด แต่จะเริ่มทำงานในช่วงวัยรุ่น มีหน้าที่ในการสร้างกลิ่นซึ่งเป็นลักษณะทางเพศที่ประกอบด้วย กรดไขมันหลายชนิด มีลักษณะเหลวข้น ปกติจะไม่มีกลิ่น แต่เมื่อหลั่งออกมาด้านนอกของผิว แล้วพบกับเชื้อแบคทีเรีย หรือจากที่เรากินอาหารกลิ่นแรงๆ ก็จะทำให้เกิดกลิ่นขึ้นได้
สาเหตุการเกิดกลิ่น
- สาเหตุภายนอก คือ มีเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราที่ผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณที่มีต่อมกลิ่น
- สาเหตุภายในร่างกาย คือ มีการขับสารบางอย่างออกมาจากต่อมกลิ่นและต่อมเหงื่อ เช่น ความเครียด การมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน การรับประทานอาหารที่มีกลิ่นแรงหรืออาหารที่มีรสเผ็ดพวกเครื่องเทศ กระเทียม การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยารักษาภาวะซึมเศร้า ภาวะร่างกายหลั่งเหงื่อมากผิดปกติ หรือภาวะสุขภาพบางอย่างก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดกลิ่นตัวที่แตกต่างกันออกไปได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคตับหรือโรคไต เป็นต้น
เช็กอาการ-วิธีป้องกัน ‘ข้อสะโพกเสื่อม’ โรคที่เป็นได้ทุกวัย
การรักษาและป้องกันการมีกลิ่นตัว
- การรักษาสุขอนามัยให้สะอาด ล้างทำความสะอาดบริเวณรักแร้ ขาหนีบ จะช่วยลดปริมาณสารก่อกลิ่นที่หลั่งจากต่อมกลิ่นได้
- เลือกใช้สบู่ฆ่าเชื้อเพื่อช่วยลดปริมาณแบคทีเรีย แต่ไม่ควรใช้สบู่บ่อยเพราะอาจทำให้ผิวแห้งและการระคายเคืองได้
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่ร้อนจัด อับชื้น อากาศไม่ถ่ายเท
- เลี่ยงการกินอาการรสจัดหรือกลิ่นแรง
- ใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย ใช้หลังจากทำความสะอาดร่างกายแล้ว สารระงับกลิ่นกายจะมีส่วนประกอบหลักคือ อลูมิเนียมคลอไรด์ (Aluminium Chloride) เพื่อลดการผลิตเหงื่อ บางผลิตภัณฑ์จะผสมสารฆ่าเชื้อแบคทีเรียและสารที่ให้กลิ่นหอม สำหรับคนที่แพ้น้ำหอมควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีกลิ่นหอม หรือเลือกใช้สารส้มแทนได้ อย่างไรก็ตามไม่ควรใช้น้ำหอมเพื่อบดบังกลิ่นตัว เพราะจะทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ และสร้างความรำคาญกับคนรอบข้างได้มากขึ้น
- กำจัดขนบริเวณรักแร้ เพื่อป้องกันแบคทีเรียและการสะสมของสารก่อกลิ่น
- การฉีด Botulinum toxin หรือที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่าโบท็อกซ์ โดยแพทย์จะฉีดสารนี้ที่ใต้ผิวหนังบริเวณรักแร้ เพื่อลดการทำงานของต่อมกลิ่น เป็นวิธการรักษาที่ได้ผลดี แต่มีราคาสูง
- การผ่าตัดเอาต่อมกลิ่นออก เป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดี แต่อาจมีผลข้างเคียงหลังการรักษา เช่น มีแผลเป็น การติดเชื้อ และต้องทำการรักษาโดยศัลยแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
ข้อมูลสุขภาพจาก : โรงพยาบาลพญาไท
ต่างวัยร่างกายต่างกัน แนะวิธี "ออกกำลังกาย" ให้เหมาะสมกับอายุ
"โรคเครียด" ปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้ แนะวิธีรับมือแบบสร้างสรรค์ทำตามง่าย