“พิษสุราเรื้อรัง" ภาวะเสพติดลงแดงง่ายเสี่ยงหลายโรค
“โรคพิษสุราเรื้อรัง” คำคุ้นหูและรู้จักกันดีที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลที่ดื่มสุราหนักเป็นเวลาหลายปีเสี่ยงทำลายประสาทและร่างกายอาจถึงขั้นลงแดงอันตรายถึงชีวิต
“โรคพิษสุราเรื้อรัง” คือ กลุ่มที่ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากติดต่อกันมาเป็นระยะเวลานานจนไม่สามารถเลิกดื่มได้ ทำให้ส่งผลเสียต่อสภาพร่างกายและเป็นโรคชนิดหนึ่ง ที่ส่งผลต่อระบบประสาท และสุขภาพโดยรวมของร่างกายและเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์ประสาทและสมอง ทำให้ร่างกายมีความต้องการแอลกอฮอล์มากขึ้น ๆ จนขาดแอลกอฮอล์ไม่ได้ขาดการยับยั้งชั่งใจ เสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิต โรคหลอดเลือด สูงกว่าคนปกติ 2 – 3 เท่า
24 สิงหาคม “วันแห่งความรักสุรา” บทเรียนยาพิษแสนหวานของกวีเอก
ล้วง "ตับ" รู้ลึกความสำคัญ แนะ 8 เคล็ดลับดูแลให้สุขภาพดี
รวมทั้งโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และที่พบบ่อยมากที่สุดคือจะส่งผลทำให้ ตับแข็ง ที่อาจส่งผลให้เกิดการสะสมของเสียจำพวกยูเรียจนเกิด พิษต่อสมอง ได้และเมื่อหยุดดื่ม อาจก่อให้เกิดอาการลงแดง เช่น มือสั่น หงุดหงิด อาเจียน สันสน ในรายที่อาการของโรคมีความรุนแรงอาจส่งผลให้ถึงขั้น ประสาทหลอน ได้
โดยสามารถสังเกตุอาการของ “โรคพิษสุราเรื้อรัง”
- มีความอยากดื่มสุรามากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งดื่มทุกวัน
- มีพฤติกรรมพกสุราติดตัว ถึงขั้นแอบเอาไว้ตามที่ต่างๆ
- วันไหนไม่ได้ดื่มสุราจะมีอาการไม่สบายตัว เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มือสั่น เหงื่อออกมาก กระวนกระวาย และอาการเหล่านี้จะหายไปเมื่อได้ดื่มสุราหรือยานอนหลับ หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย
- คอเข็งมากขึ้น ทนต่อฤทธิ์สุราได้มากขึ้นเรื่อย ๆ
- การทำงานของสมองจะถดถอยลง โดยเฉพาะในเรื่องความจำ
- หน้าตาหมองคล้ำ มีจ้ำเขียวช้ำตามร่างกาย
- เสียงแหบแห้ง มือสั่น
- ในบางรายอาจมีอาการกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังร่วมด้วย
- ไม่รู้ตัวว่าตนเองติดสุรา และมักจะปฏิเสธว่าตัวเองมีพฤติกรรมติดสุราอยู่เสมอ
- เคยพยายามเลิกเหล้าเท่าไรก็ไม่สำเร็จ
ก้อนที่ตับและตับอ่อน เช็กปัจจัยเสี่ยง ตรวจพบก่อนรักษาได้
โดยพิษสุราเรื้อรังมี 3 ระยะ ได้แก่
- ระยะแรกเริ่ม ระยะนี้ผู้ป่วยจะเริ่มเข้าหาแลกอฮอล์มากขึ้น จน เครียด เศร้า ก็ดื่มเหล้าได้ทุกโอกาส และมีความรู้สึกอยากดื่มแอลกอฮอล์บ่อยขึ้น กระทั่งเริ่มมีอาการดื้อแอลกอฮอล์ คือ ต้องดื่มมากขึ้นเพื่อให้รู้สึกมึนเมา
- ระยะกลาง ติดเหล้าหนักควบคุมตัวเองไม่ได้ และมักจะมีพฤติกรรมฉุนเฉียวหรืออารมณ์แปรปรวนบ่อย ๆ
- ระยะรุนแรง เป็นอาการระยะสุดท้ายของโรคพิษสุราเรื้อรัง ผู้ป่วยจะมีอาการมือสั่น ตัวสั่น หงุดหงิด กระวนกระวาย เมื่อไม่ได้ดื่มเหล้า หรือที่เรียกว่าอาการลงแดง มักเกิดหลังขาดสุรา12-72ชม. บางคนมีอาการประสาทหลอนร่วมด้วย และอาจเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการักษา
ตรวจสุขภาพ ฟื้นฟูจิตใจ ทางออกของการเลิกแอลกอฮอล์
- การตรวจสุขภาพวินิจฉัยร่างกายผู้ป่วยว่า มีผลกระทบส่วนไหนต่อร่างกายบ้าง และทำการรักษาให้ถูกต้อง เพื่อให้ร่างกายผู้ป่วยนั้น กลับมาเป็นปกติดังเดิม
โดยการรักษาถอนพิษสุราโดยทั่วไปมักใช้ยาคลายเคลียดและลดความวิตกกังวลร่วมกับรับวิตตามินเพื่อฟื้นฟูร่างกายหากมีอาการ ชัก คลั่ง หรือปวดท้องมาก แพทย์จะทำการตรวจหาสาเหตุของอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น เพื่อรักษาร่วมกับการบำบัดสุรา นอกจากนี้ยังมีวิธีรักษาอาการถอนพิษสุราโดยไม่ใช้ยา หรือการดูแลแบบประคับประคอง แนะน าให้จัดสิ่งแวดล้อมให้ เงียบ สงบ ไม่มีสิ่งกระตุ้นหรือสิ่งรบกวนผู้ป่วย ให้การประคับประคองจิตใจด้วย
- ฟื้นฟูสภาพจิตใจผู้ป่วย เนื่องจากผู้ที่ติดแอลกอฮอล์ส่วนใหญ่มักมีสภาวะทางจิตใจและซึมเศร้า การดื่มแอลกอฮอล์จึงเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เพื่อมาเติมเต็มในสิ่งที่เขาไม่มี หรือทำให้แก้ไขปัญหาของตนเองได้ คนกลุ่มนี้จึงขาดแอลกอฮอลล์ไม่ได้ หากเราไม่ได้แก้ปัญหาด้วยการฟื้นฟูจิตใจ สักพักผู้ป่วยจะกลับไปดื่มเช่นเดิม จึงควรมีจิตแพทย์มาช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจผู้ป่วย หรืออีกกลุ่มหนึ่งมาจากสังคมรอบข้างที่ดื่มเป็นประจำ ดังนั้นจึงควรดูแลเรื่องร่างกายเขาให้กลับมาแข็งแรง และคอยระวังเรื่องภาวะแทรกซ้อนต่าง
“กำลังใจ” ตัวช่วยสำคัญของการเลิกแอลกอฮอล์ คนที่ดื่มแอลกอฮอล์มานาน แล้วหยุดดื่มในทันที ร่างกายจะมีความอยาก โหยหาแอลกอฮอล์ หรือที่เรียกว่า ภาวะขาดแอลกอฮอล์ อาจทำให้เกิดอาการมือสั่น พูดไม่รู้เรื่อง สับสน และชักเกร็ง ดังนั้นจึงไม่ควรหยุดดื่มทันที หลังจากดื่มมาเป็นเวลานาน การจะเลิกดื่มแอลกอฮอล์ควรได้รับการดูแลจากทีมแพทย์ พยาบาล ที่เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี และมีการให้ยาต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดแอลกอฮอล์
ข้อมูลสุขภาพจาก : โรงพยาบาลพญาไท
ตับแข็ง โรคที่เกิดจากไวรัสและพฤติกรรมการกิน - ดื่มของคุณเอง
“แอลกอฮอล์ “สาเหตุหลักที่ทำให้ตับและตับอ่อนเกิดภาวะอักเสบ