“ท้องผูก” สัญญาณที่ถูกมองข้าม จุดเริ่มต้นสารพัดโรค
“ท้องผูก” ปัญหาของคนวัยทำงานที่ถูกมองข้ามแต่ไม่มีความสุขในชีวิต รู้หรือไม่ว่าเสี่ยงหลายโรคจากอุจจาระตกค้างในลำไส้
ส่วนใหญ่เรามักเข้าใจว่า ภาวะท้องผูก (Constipation) มักพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และเป็นได้ในทุกช่วงอายุ โดยส่วนใหญ่พบในวัยทำงาน คือ อาการขับถ่ายไม่ออกไม่สบายตัวมีอุจจาระแข็ง ความถี่ในการขับถ่ายอุจจาระลดลงกว่าปกติ ใช้เวลานานในการเบ่งถ่ายจนมีความเจ็บปวดเวลาเบ่งถ่ายหรือมีเลือดปนออกมากับอุจจาระหลังถ่ายอุจจาระเรียบร้อยแล้วยังมีความรู้สึกถ่ายไม่หมด
โดยปัญหาที่ตามมาคือกากอาหารจะตกค้างอยู่ในลำไส้เป็นเวลานาน ทำให้บูดเน่า และเกิดพิษต่อร่างกายเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ดังนี้
กินปุ๊บออกปั๊บ รู้แล้วรับมือได้ไม่ต้องขนลุกวิ่งหาห้องน้ำ
ท้องผูกปัญหากวนใจ สาเหตุของโรคทางลำไส้อันตรายที่คาดไม่ถึง!
- มะเร็งลำไส้ ท้องผูกทำให้ลำไส้ไม่สะอาด เมื่ออุจจาระ ตกค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่เป็นเวลานาน จะเกิดเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดซึ่งทำให้ลำไส้ เป็นแผลและเสี่ยงต่อการเป็นเนื้องอกและ มะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
- โรคตับ ตับมีหน้าที่ขับสารพิษที่ตกค้างใน ร่างกายสารพิษที่เกิดจากอาการท้องผูก ต้องใช้ตับขับออก เช่นกัน ทำให้ตับทำงาน หนักขึ้นและตับเสื่อมลง เมื่อท้องผูก เป็นประจำ ส่งผลให้การขับสารพิษไม่ เต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้ อาการท้องผูก ยิ่งทำให้ ผู้ป่วยโรคตับมีอาการกำเริบและ ทรุดหนัก
- โรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ความดันโลหิต สูงหรือโรคหลอดเลือดสมอง การเบ่ง อุจจาระแรงๆ จะเสี่ยงต่อการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต อาจทำให้โรคหัวใจกำเริบ หรือทำให้ อาการต่างๆ ทรุดหนัก
- โรคริดสีดวงทวารเมื่ออุจจาระตกค้างอยู่ ในลำไส้ใหญ่เป็นเวลานาน จะเกิดเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด ซึ่งทำให้ลำไส้เป็นแผลและเสี่ยง ต่อการเป็นเนื้องอกและมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ได้
- โรคแก่ก่อนวัยกากอาหารที่บูดเน่าจะเกิดสารพิษ เช่น สารแอมโมเนีย ไนโตรเจน อินโดลมีเทน กำมะถัน เมื่อสารเหล่านี้ดูดซึมกลับเข้าสู่ร่าง กายพร้อมกับ น้ำในลำไส้ จะทำให้อวัยวะ ต่างๆ ของเราเสื่อมเร็วมากขึ้น และ ผิวพรรณหยาบกร้าน แก่ก่อนวัยอันควร การขับถ่ายอุจจาระเป็นประจำทุกวัน จะช่วย ถนอมผิวพรรณและชะลอความชรา
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ
ท้องผูกที่มีปัจจัยส่งเสริมนอกจากการทำงานของลำไส้และการขับถ่าย (Secondary Constipation)
- การอุดกั้นของทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็นก้อนเนื้อหรือมะเร็งมากด หรือรวมไปถึงการตีบแคบของลำไส้จากพังผืดหรือการผ่าตัด
- ภาวะการตั้งครรภ์
- โรคทางระบบต่อมไร้ท่อต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ
- ความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย เช่น ภาวะโพแทสเซียมต่ำ ภาวะแคลเซียมสูง
- ยาบางประเภท เช่น ยาแก้ปวดกลุ่มที่มีมอร์ฟีน ยารักษาความดันโลหิตบางกลุ่ม ยารักษาอาการทางจิตเวช ยารักษามะเร็งบางชนิด ยาแก้ท้องเสีย รวมไปถึงยาลดการเกร็งของทางเดินอาหาร ยาลดกรดหรือยาเคลือบกระเพาะ รวมไปถึงยาบำรุงที่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ
- โรคทางระบบประสาท เช่น ภาวะการบาดเจ็บของกระดูกและไขสันหลัง พาร์กินสัน เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก ผู้ป่วยนอนติดเตียง
ท้องผูกที่มีความผิดปกติของการทำงานของลำไส้และการขับถ่าย (Primary Constipation) ซึ่งจะแบ่งตามลักษณะของการทำงานที่ผิดปกติ ได้แก่
- ท้องผูกชนิดที่มีการเคลื่อนไหวตัวของลำไส้ปกติ หรืออาจจะเรียกกลุ่มนี้ว่า ลำไส้แปรปรวนได้ ซึ่งจะพบได้ประมาณเกือบครึ่งหนึ่งของท้องผูกในกลุ่มนี้ และอาจจะพบว่า มีการรับรู้ความรู้สึกไวของลำไส้ตรงได้ในกลุ่มนี้
- ท้องผูกชนิดที่มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการขับถ่าย พบประมาณ 1/3 ของท้องผูกในกลุ่มนี้ ซึ่งเกิดจากการที่กล้ามช่องท้องที่ใช้ช่วยในการเบ่งมีแรงไม่เพียงพอ การที่กล้ามเนื้อหูรูดทำงานไม่สัมพันธ์กับการเบ่งถ่ายอุจจาระ โดยมีการเกร็งตัวหรือไม่คลายตัวดีพอขณะทำการเบ่งถ่าย
- ท้องผูกชนิดที่ลำไส้มีภาวะเคลื่อนไหวตัวช้ากว่าปกติ พบได้น้อยที่สุดในกลุ่มนี้
เฝ้าระวัง 6 “โรคช่องท้อง” เร่งพบแพทย์ก่อนคุกคามหนัก
การวินิจฉัยท้องผูก
การซักประวัติและการตรวจร่างกายทั่วไป รวมถึงการตรวจเพิ่มเติมตามการวินิจฉัยของแพทย์เฉพาะทางเพื่อค้นหาสาเหตุของอาการท้องผูก มีหลายวิธีประกอบกัน
- ส่องกล้องตรวจภายในลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)
- ตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อในการขับถ่ายและการรับรู้ความรู้สึกของลำไส้ตรง (Anorectal Manometry Test)
- การตรวจการเคลื่อนไหวของลำไส้ โดยการกลืนแคปซูลเฉพาะแบบที่ใช้วัดการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร โดยมีแบบอาศัยการฉาย X-Ray ติดตามการเคลื่อนไหวตามกำหนดวันนัดหรือแบบอิเล็กทรอนิกส์ไร้สายที่จะมีเครื่องรับสัญญาณให้ผู้ป่วยไว้
วิธีรักษาท้องผูก
- ปรับพฤติกรรม ได้แก่ ขับถ่ายอุจจาระเมื่อรู้สึกครั้งแรก อย่ารอจนสัญญาณการขับถ่ายอ่อนลง นั่งขับถ่ายในท่านั่งที่เหมาะสม รับประทานผักผลไม้ที่มีกากใย ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ ดื่มน้ำในปริมาณที่มากเพียงพอ
- การรักษาโดยการใช้ยาระบาย ซึ่งมีหลากหลายชนิด ได้แก่ ยาระบายในกลุ่มกระตุ้นให้กล้ามเนื้อลำไส้บีบตัว (Stimulant Laxatives) ยาระบายกลุ่มที่ออกฤทธิ์ดูดซึมน้ำเพื่อให้อุจจาระมีปริมาณน้ำมากขึ้น (Osmotic Laxatives) ไหลกลับเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ ยาเหน็บหรือยาสวนทวาร รวมไปถึงยากลุ่มใหม่ ๆ ในปัจจุบัน เช่น ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวตัวของลำไส้ (Prokinetic Agent) หรือ ยากลุ่มที่กระตุ้นให้มีการหลั่งสารน้ำและเกลือแร่บางตัวเข้าไปในลำไส้ (Secretagouge) ทั้งนี้ควรขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์เฉพาะทางเป็นสำคัญ ไม่แนะนำให้ซื้อยามารับประทานเอง
- การฝึกการขับถ่าย (Biofeedback Training) สอนให้ผู้ป่วยขับถ่ายอย่างถูกวิธีด้วยเครื่องมือที่แสดงการทำงานของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่าย ซึ่งสามารถแสดงผลกล้ามเนื้อเชิงกรานและกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณทวารหนักทั้งหมดของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงวิธีการขับถ่ายที่ถูกต้อง ทั้งท่าทาง การหายใจ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อหูรูด และการรับรู้ความรู้สึก โดยจะทำการฝึกทั้งหมด 6 ครั้ง ครั้งละประมาณ 30 – 40 นาที วิธีนี้เป็นวิธีที่ได้ผลในระยะยาว เมื่อทำอย่างต่อเนื่องจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องรับประทานยา
- การผ่าตัดลำไส้ใหญ่ออก มักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยท้องผูกจากภาวะที่ลำไส้เคลื่อนไหวช้าที่รักษาโดยการรับประทานยาแล้วไม่ได้ผลและมีความผิดปกติชัดเจนของกล้ามเนื้อและระบบประสาทของลำไส้ที่ได้รับการตรวจยืนยันชัดเจนแล้ว โดยวิธีนี้ต้องผ่านการพิจารณาจากแพทย์เฉพาะทางผู้ชำนาญการเท่านั้น
ดังนั้นถ้าไม่อยากเสี่ยงโรคท้องผูกที่หากปล่อยไว้เรื้อรังจะกลายเป็นปัญหาสุขภาพระยะยาว ควรรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม ครบ 5 หมู่ เลือกทานผักผลไม้ในทุกมื้ออาหารเลี่ยงอาหารไขมันสูง ชาหรือกาแฟและดื่มน้ำให้ เพียงพอ 6-8 แก้วต่อวันที่สำคัญหมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อกระตุ้นการขับถ่ายแล้วนะคะ แต่เมื่อสังเกตุอาการเห็นว่าไม่ดีขึ้นควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์โดยเร็ว
ข้อมูลสุขภาพจาก: โรงพยาบาลกรุงเทพ,กรมอนามัย
" BIOFEEDBACK " ทางเลือกแก้ปัญหาคนท้องผูกเรื้อรัง
เสียงครืดคราดในท้องแต่ถ่ายไม่ออกเสี่ยง "ลำไส้แปรปรวน"