ถ่ายไม่สุดไม่ใช่แค่หงุดหงิดแต่เสี่ยง“โรคกระเปาะทวารหนัก”
เดินเข้าออกห้องน้ำจนท้อใจเพราะถ่ายเท่าไหร่ก็ไม่สุดแถมยังยาก หากคุณคือสตรีวัยกลางคนมีอาการเหล่านี้ อาจกำลังเผชิญกับ “โรคกระเปาะทวารหนัก” อยู่
โรคกระเปาะทวารหนัก (Rectocele) มีอัตราเสี่ยงเป็นกลุ่มของสตรีช่วงวัย 30-50 ปี โดยเฉพาะผู้ที่เคยมีบุตรมาแล้วหลายคน อาการจะเกิดขึ้นเวลาถ่ายอุจจาระ แม้จะรู้สึกปวดเหมือนคนปกติ...แต่กลับถ่ายอุจจาระได้ช้า ต้องเบ่งถ่าย และมักจะรู้สึกถ่ายไม่สุดเหมือนมีอุจจาระตุงอยู่ที่ก้น จึงต้องกลับเข้าไปถ่ายใหม่อีกครั้ง
บางรายอาจจะใช้วิธีการกดท้อง กดรอบๆ รูทวารหนัก หรือถ้ามีอาการรุนแรงอาจต้องใช้มือล้วงเพื่อเอาอุจจาระออกมา ซึ่งมักจะควักอุจจาระออกไม่หมด และเกิดแผลถลอกจนมีเลือดออกทางทวารหนักได้ง่าย
เสียงครืดคราดในท้องแต่ถ่ายไม่ออกเสี่ยง "ลำไส้แปรปรวน"
กินปุ๊บออกปั๊บ รู้แล้วรับมือได้ไม่ต้องขนลุกวิ่งหาห้องน้ำ
ท้องเสียไม่ธรรมดา รู้ทันก่อนเสี่ยง “ลำไส้ใหญ่อักเสบ”
สาเหตุของ โรคกระเปาะทวารหนัก เมื่อกล้ามเนื้อหรือผนังที่กั้นระหว่างช่องคลอดกับทวารหนักเกิดฉีกขาด หรืออ่อนแอจากการคลอดบุตรหรือการเบ่งถ่ายอุจจาระเป็นเวลานาน ทำให้เกิดกระเปาะหรือถุงยื่นเข้าไปในช่องคลอด
เวลาผู้ป่วยถ่าย...อุจจาระจะถูกแยกออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนที่หนึ่งผ่านไปยังทวารหนัก และอีกส่วนหนึ่งเข้าไปตกค้างอยู่ที่บริเวณถุงผู้ป่วยสามารถถ่ายอุจจาระได้ง่ายขึ้น ด้วยการสอดนิ้วเข้าไปในช่องคลอด แล้วค่อยๆ ดันถุงหรือกระเปาะที่ยื่นเข้ามาให้กลับเข้าไปในทวารหนัก วิธีนี้จะช่วยให้อุจจาระที่ตกค้างในถุงถูกดันกลับเข้าไปอยู่ในทวารหนักจนหมด อาการต่างๆ จึงหายไป (นึกภาพตามอาจจะหวาดเสียวนิดหน่อยนะคะ)
มาว่ากันถึงขั้นตอนการรักษาที่ไม่น่าหวาดเสียวเท่าวิธีการบรรเทา ในขั้นแรกแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยเลือกรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง หรือมีการจ่ายยาระบายประเภทเพิ่มกากใยให้ผู้ป่วยทานร่วมด้วย พร้อมกับการดื่มน้ำสะอาดให้ได้วันละ 2-3 ลิตร และออกกำลังกายจนผายลมสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวดีขึ้นและอุจจาระเป็นก้อนแต่นิ่ม
แต่หากยังไม่ได้ผลแพทย์จะวินิจฉัยให้ผ่าตัดเย็บถุงเพื่อลดอุจจาระตกค้าง โดยทำการผ่าตัดผ่านทางรูทวารหนัก โดยใช้ไหมละลายเย็บถุงหรือกระเปาะที่ยื่นเข้าไปในช่องคลอดให้ค่อยๆ ตื้นขึ้นมาทีละชั้น...จนอยู่ระดับเดียวกับเยื่อบุทวารหนัก ช่วยให้อุจจาระไม่ไปตกค้างภายในถุงอีก โดยระหว่างที่แผลผ่าตัดยังไม่หาย ผู้ป่วยสามารถถ่ายอุจจาระได้ตามปกติ เพียงแค่ต้องทำความสะอาดโดยการฉีดล้างน้ำหรือแช่ก้นในน้ำ
“ท้องผูก” สัญญาณที่ถูกมองข้าม จุดเริ่มต้นสารพัดโรค
ยิ่งเครียดยิ่งปวด รับมือ “โรคแผลในกระเพาะ” สุดทรมาน
ข้อมูลสุขภาพจาก : โรงพยาบาลพญาไท