“คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม” อันตรายจาก Blue Light ของพนักงานออฟฟิต
เพราะตาคู่นี้ยังต้องอยู่กับเราไปตลอดชีวิต การใช้เวลาอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานหลายชั่วโมง อาจทำให้เกิดโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม มารู้วิธีถนอมสายตาก่อนสายกันเถอะ
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าแสงไฟจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต รวมถึง ทีวีจอแบน เรียกว่า แสงสีฟ้า (Blue Light) หรือ ที่มีคลื่นความยาวอยู่ที่ 400-500 นาโนเมตร เมื่อจ้องหน้าจอต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจเสี่ยงทำให้เกิดโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (Computer Vision Syndrome) โดยจากรายงานการศึกษาจากของอเมริกาพบว่า 90 % ของผู้ป่วยมีพฤติกรรมจ้องหน้าจอติดต่อกัน 3 ชั่วโมง โดยไม่พัก
3 ปัจจัยหลักที่ทำให้นอนไม่หลับ ส่งผลต่อสุขภาพ
ไม่จริง! เล่นมือถือในที่มืดนาน ทำให้เป็นโรคมะเร็งตา
อาการของคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม
- ตาล้า
- ระคายเคืองตา
- ตาแห้ง ตาแดง
- ตาพร่า มองเห็นภาพซ้อน
- ปวดศีรษะปวดคอและหลัง
- สายตาสั้น-สายตายาว
"ตาแห้ง" จนระคายเคือง อีกอาการที่ผู้สูงวัยเป็นกันมาก
วิธีการดูแลดวงตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์
- พักสายตาทุกๆ 20 นาที โดยการมองไกล โดยการมองในระยะไกลจะช่วยลดการเพ่งของสายตาที่ใช้งานอย่างหนักได้ การเพ่งสายตาเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลต่อสุขภาพในด้านอื่น ๆ ได้อีก เช่น อาการปวดศรีษะ น้ำตาไหล ตาพร่ามัว และมีอาการตาแห้งตามมา
- พักสายตาโดยการหลับตานิ่ง ๆ ราว5 นาทีเมื่อรู้สึกตาอ่อนล้าการหลับตาไปเลยเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยผ่อนคลายสายตา โดยหลับตานิ่ง ๆ เป็นเวลา 5 นาที จะช่วยผ่อนคลายสายตาจากการใช้งานเป็นระยะเวลานานได้
- เปลี่ยนอิริยาบถออกไปเดินเล่นสูดอากาศ
- ปรับความสว่างหน้าจอและสถานที่ทำงานให้เหมาะสม
- กระพริบตาบ่อย ๆช่วยให้ดวงตามีน้ำหล่อเลี้ยง ลดอาการตาแห้งได้และความอ่อนล้าของดวงตาได้
- ใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดประคบเปลือกตาประมาณ 2 – 3 นาที
- หยอดน้ำตาเทียม
- ใช้แว่นตากรองแสงที่เหมาะสม
ทั้งนี้หากมีอาการเพิ่มมากขึ้น เช่น การเห็นจุดดำตรงกลางสายตา มีความดันลูกตาสูงผิดปกติควรรีบมาพบจักษุแพทย์ เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องในทันที
แสงแดดทำร้าย "ดวงตา" มากกว่าที่คิด เลือกแว่นให้ถูกวิธี หนี UV ตัวร้าย
คัน เคือง บวม ภูมิแพ้ขึ้นตา อักเสบเรื้อรังเสี่ยงต้อหิน