วิทยาศาสตร์บอกใช้ "ยาย้อมผมถาวร" นานๆ เพิ่มความเสี่ยงก่อโรคมะเร็ง
การวิจัยจากโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ดพบการใช้ยาย้อมผมถาวรในระยะยาว เพิ่มความเสี่ยงก่อโรคมะเร็งผิวหนัง มะเร็งรังไข่ และมะเร็งเต้านม
เส้นผมสีดำขลับอาจเป็นตัวบ่งบอกถึงความเยาว์วัยโดยไม่จำเป็นพูดอะไรเลยสักคำ แต่เมื่อเราก้าวเข้าสู่วัยเลข 4 เส้นผมสีเทา ๆ ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็จะมาถึง เป็นสาเหตุให้ผู้หญิงประมาณครึ่งหนึ่งและผู้ชายกว่า 10% ตัดสินใจย้อมสีผม
แต่ไม่ว่าบริษัทจะบอกว่าผลิตภัณฑ์ย้อมสีผมของตัวเองปลอดภัยเพียงใด ก็ยังมีคำถามเกี่ยวกับสารเคมีเหล่านั้นว่าทำลายสุขภาพในระยะยาวของเราหรือไม่ โดยเฉพาะการย้อมผมถาวรเป็นเวลาหลายปี ตรงนี้จะเพิ่มความเสี่ยงก่อโรคมะเร็งได้หรือไม่
ท้องอืด แน่นท้อง คลำพบก้อน “มะเร็งรังไข่” ภัยร้ายของผู้หญิง
"เดิน-นั่ง" นานๆ ทำให้ปวดขาและข้อเท้า ลดอาการเมื่อยด้วย 5 ท่าบนเก้าอี้
ที่ผ่านมามีการวิจัยเกี่ยวกับยาย้อมผมหลายชิ้น ทำให้เห็นผลลัพธ์ที่แตกต่างกันและหลากหลาย แต่การสำรวจครั้งใหม่ที่มีความครอบคลุมมากขึ้น จะมาไขคำตอบทุกข้อสงสัยให้ชัดเจนมากขึ้น
ความแตกต่างของยาย้อมผม
เมื่อทบทวนผลการวิจัยต่าง ๆ พบว่าส่วนใหญ่จะศึกษา ผลิตภัณฑ์ย้อมผมถาวร (Permanent Hair Dye) ซึ่งใช้สารเคมี "แอมโมเนีย" เพื่อเปลี่ยนสีผมให้อยู่ได้นานหลายเดือนในแต่ละครั้ง
ในทางตรงกันข้าม ยาย้อมผมกึ่งถาวร (Semi permanent Hair Dye) ที่ไม่ใช้แอมโมเนีย สีจะจางลงเร็วกว่ามาก โดยปกติก็ภายใน 4-12 ครั้งของการสระผม
ส่วน ยาย้อมผมธรรมชาติ (Plant based Hair Dye) มีแนวโน้มที่จะใช้สารเคมีลดลง แต่ก็ไม่ได้ปราศจากสารเคมีอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้สีย้อมผมธรรมชาติมักจะอยู่ได้ไม่นานหรือสีไม่สดเท่าสีย้อมทั่วไป นั่นหมายความว่าผู้ใช้อาจลงเอยด้วยการย้อมผมบ่อยขึ้นเพื่อรักษาสีเอาไว้
ใช้ยาย้อมผมในระยะยาว เพิ่มความเสี่ยงก่อโรคมะเร็ง
การค้นหาคำตอบว่ายาย้อมผมแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะยาย้อมผมถาวร เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหรือไม่ ให้ผลลัพธ์ที่ไม่ตรงกัน เนื่องจากมียาย้อมผมหลายประเภทและสารเคมีมากกว่า 5,000 ชนิดทั่วกระดาน จึงยากที่จะแยกผลิตภัณฑ์และหาผลกระทบต่อสุขภาพของสารเคมีแต่ละชนิด
อย่างไรก็ตาม การศึกษาล่าสุดที่ครอบคลุมมาขึ้นจากโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด (Harvard Medical School) ที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์รายสัปดาห์ “The BMJ” ได้ศึกษาข้อมูลการสำรวจการใช้สีย้อมผมถาวรจากผู้เข้าร่วมกว่า 117,200 คน ตลอดระยะเวลา 36 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2519
การวิเคราะห์ได้พิจารณาปัจจัยหลายประการจากผู้ใช้สีย้อมผม ได้แก่ อายุ เชื้อชาติ ดัชนีมวลกาย ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งบางชนิด และพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ และยังได้ตรวจสอบการย้อมผมถาวรของแต่ละบุคคล เช่น ความถี่ในการย้อม จำนวนปีที่ใช้ในการย้อม และ อายุที่เริ่มใช้ครั้งแรก เป็นต้น
การศึกษาสรุปว่าผู้ใช้สีย้อมผมไม่ได้มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง หรือความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากมะเร็งมากกว่าผู้ที่ไม่ย้อมสี อย่างไรก็ตาม มีความผิดปกติบางประการ ผู้ใช้สีย้อมผมติดต่อกันเป็นเวลานาน เพิ่มความเสี่ยงก่อโรคมะเร็งผิวหนังชนิดเบเซลเซลล์ (basal cell carcinoma) ซึ่งเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด รวมถึงมะเร็งรังไข่และมะเร็งเต้านม ก็มีแนวโน้มสูงเช่นกันในผู้ใช้ยาย้อมผม
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังคงแนะนำให้มีการศึกษาเพิ่มมากขึ้นเพื่อไขข้อสงสัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์เหล่านี้ให้กระจ่าง เพื่อดูว่ายาย้อมผมมีความเกี่ยวข้องกับการก่อมะเร็งหรือไม่ เพราะการสำรวจครั้งนี้มาจากการเก็บรวบรวมข้อมูลสุขภาพของพยายามเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นผลลัพธ์จึงไม่ได้เป็นข้อสรุปสำหรับผู้ชายหรือผู้ที่มีผิวสี
นอกจากนี้ การสำรวจครั้งแรกไม่ได้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ย้อมสีว่าแตกต่างกันอย่างไร และผู้ตอบแบบสอบถามบางคนอาจเข้าใจผิดว่าสีย้อมกึ่งถาวรหรือสีธรรมชาติ เป็นยาย้อมสีผมถาวร
แม้จะได้ผลลัพธ์ดังนี้แล้ว เราควรถามคำถามเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่ใช้อยู่ และทำความเข้าใจว่าสารเคมีต่างๆ จะส่งผลกระทบอะไรต่อเส้นผมและหนังศีรษะของเราบ้าง เพราะการที่มีข้อมูลความรู้เยอะๆ ก็ไม่เสียหายอะไร
ขอบคุณข้อมูลจาก : First for women
คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับ 2! “มะเร็งปอด” โรคร้ายที่ไม่มีสัญญาณเตือน
“มะเร็งกระเพาะอาหาร” โรคร้ายแฝงตัวเงียบ แนะเลี่ยง 5 พฤติกรรมเสี่ยง