ท้องอืด แน่นท้อง คลำพบก้อน “มะเร็งรังไข่” ภัยร้ายของผู้หญิง
มะเร็งรังไข่ ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้าแล้ว พอรู้ตัวอีกที รอยโรคก็พัฒนาไปไกลจนทำให้การรักษายากขึ้นกว่าเดิม
ช่วงนี้รู้สึกเหมือนตัวเองมีพุง ท้องโต เหมือนกับคนอ้วนลงพุง ผู้หญิงหลายคนอาจจะโฟกัสไปเรื่องการลดน้ำหนัก แต่หากสัญญาณผิดปกตินี้... มาพร้อมกับอาการอื่นๆ ร่วมด้วย นี่อาจไม่ใช่แค่ภาวะอ้วนลงพุงธรรมดา แต่อาจเสี่ยง “มะเร็งรังไข่” หนึ่งในโรคมะเร็งสตรีที่ควรรีบตรวจให้แน่ชัดและเริ่มต้นรักษา
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่...หนึ่งสิ่งสำคัญที่นำไปสู่ “มะเร็งรังไข่”
ในทุกๆ เดือน ก่อนที่จะมีการตกไข่ เยื่อบุโพรงมดลูกก็จะหนาขึ้นเพื่อรองรับการปฏิสนธิ ซึ่งถ้าไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น
รู้จัก "มะเร็ง" ให้มากขึ้น สาเหตุก่อโรค ชนิดใดพบได้บ่อยที่สุดใน "ชาย - หญิง"
ผู้หญิงควรสังเกต อาการบ่งชี้และสัญญาณเตือน "มะเร็ง"
เยื่อบุโพรงมดลูกนี้ก็จะหลุดลอกออกมาพร้อมกับเลือด กลายเป็นประจำเดือน ซึ่งหากเนื้อเยื่อนั้นเกิดนอกมดลูก เช่น รังไข่ เวลาที่มีประจำเดือน มดลูกก็จะขยายตัว ซึ่งถ้าอยู่ในบริเวณที่มีเส้นประสาท ก็จะทำให้เกิดอาการปวดท้องประจำเดือนได้ และถ้าปล่อยไว้จนอักเสบเรื้อรัง ก็กลายเป็นมะเร็งได้เช่นกัน โดยเซลล์มะเร็งนี้ก็จะทำให้ท้องน้อยขยายใหญ่ขึ้น และมีอาการปวดท้องรุนแรง แม้แต่เวลาที่ไม่มีประจำเดือนก็ตาม
ความพิเศษของมะเร็งรังไข่...ที่ไม่ใช่เรื่องดี
ลักษณะพิเศษของมะเร็งรังไข่ที่น่ากลัว ก็คือเซลล์มะเร็งจะแพร่ขยายอย่างรวดเร็ว และอย่างที่บอกว่าโรคนี้มักมีอาการแสดงให้เห็นน้อย ทำให้เราไม่สามารถสังเกตได้ จนหลายคนกว่าจะรู้ตัวมะเร็งก็ลามไปถึงปอดแล้วก็มี
มะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว จะเกิดจากความผิดปกติของเยื่อบุผิวของรังไข่ด้านนอก ซึ่งอันนี้จะเป็นในคนอายุเยอะ วัยทอง วัยที่ใกล้หมดประจำเดือน แต่ถ้าในเคสที่อายุน้อย จะเป็นด้านในของเนื้อรังไข่ บางครั้งเจอในอายุน้อย 8 ขวบ หรือ 20-30 ปี ในกลุ่มนี้จะผ่าตัดเฉพาะเอาก้อนมะเร็งออก เก็บมดลูก รังไข่เอาไว้ และให้ยาเคมี ก็มีโอกาสหายขาดได้เหมือนกัน
ตกขาวผิดปกติ อาการเตือน "มะเร็งปากมดลูก" ที่ไม่ควรละเลย
วัคซีน HPV ผู้ชายก็ฉีดได้ ช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อก่อโรคมะเร็ง
ท้องโตเหมือนอ้วนลงพุง…พร้อมอาการร่วมเหล่านี้ อาจเสี่ยงมะเร็งรังไข่
- รู้สึกอืด แน่นท้อง
- น้ำหนักเพิ่มหรือลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ท้องผูกสลับท้องเสีย
- ปัสสาวะบ่อย
- คลำพบก้อนที่ท้อง
ใครบ้างที่เป็นกลุ่มเสี่ยง
- ผู้ที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม หรือมะเร็งลำไส้
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีประวัติเคยเป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งลำไส้มาก่อน
- ผู้ที่มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี หรือผู้ที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี
- ผู้ที่มีภาวะตกไข่อยู่เป็นประจำ หรือสาวๆ ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์นั่นเอง ซึ่งเมื่อมีการตกไข่ บริเวณนั้นก็จะเป็นแผล เมื่อเกิดแผลซ้ำๆ ก็เป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคได้มากขึ้น
ตรวจภายในช่วยค้นหาความผิดปกติ
แม้ว่ามะเร็งรังไข่จะไม่มีอาการแสดงชัดเจนในช่วงระยะแรกๆ แต่ก็สามารถตรวจพบความผิดปกติได้จากการ “ตรวจภายในประจำปี” เนื่องจากแพทย์จะทำการคลำรังไข่ทั้ง 2 ข้างในระหว่างการตรวจทางช่องคลอดและทวารหนัก
หากพบความผิดปกติ เช่น มีถุงน้ำรังไข่หรือเนื้องอกพังผืด แพทย์ก็จะทำการส่งตรวจเพิ่มเติม คือ ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด และตรวจเลือดเพื่อวัดปริมาณสารที่สร้างจากมะเร็งรังไข่ หรือที่เรียกว่า CA125 ซึ่งค่านี้อาจสูงขึ้นจากการมีโรคมะเร็งรังไข่แอบแฝงอยู่ หรือเป็นเพียงภาวะอื่นที่ไม่ใช่มะเร็งก็ได้
ดังนั้น ผู้หญิงที่มีความเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจภายในเป็นประจำหรือตามคำแนะนำของแพทย์ เพราะการตรวจพบเร็วย่อมมีโอกาสรักษาหายได้มากกว่า
เหตุผลที่ต้องตรวจเช็ก "กระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่"
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลพญาไท, โรงพยาบาลเปาโล