ปลายฝนต้นหนาว ฤดูไข้หวัดใหญ่ระบาดหนัก รู้ทันป้องกันก่อนทริปปลายปีล่ม
ปีนี้ไทยเข้าหน้าหนาวอย่างเป็นทางการสิ้นเดือนตุลาคมหนาวยาวนานยันปีหน้าหลายคนเริ่มวางแผนเที่ยวเอาเสื้อกันหนาวออกมาซักกันบ้างแล้ว แต่ระวังทริปล่มเพราะเจ้าไข้หวัดใหญ่ตัวร้ายยอดฮิต
ประเทศไทย มีกี่ฤดู? หลายคนตอบได้เต็มปากว่า 2 ค่ะ!/ครับ! มีฝนตก ฝนตกหนัก ตกมาก ตกจนท้อ ที่สำคัญน้ำท่วมไปอีก กับ ร้อน ร้อนมาก ร้อนนนนนนนนนนนนนนนม๊าก! แล้วอากาศหนาวๆเย็นๆ 2 วัน ไม่นับ เพราะยังไม่ทันได้รู้สึกอะไรเลย ขณะที่ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้มีการพยากรณ์อากาศเอาไว้ว่า ปีนี้ไทยจะเริ่มเข้าหน้าหนาว สิ้นเดือนตุลาคม และจะสิ้นสุดประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2566 หนาวนานและเย็นกว่าหลายปีที่ผ่านมา อุณหภูมิต่ำที่สุด 8 องศาเซลเซียสกทม.-ปริมณฑล ต่ำสุดที่ 15 องศาเซลเซียส หนาวสุดช่วงเดือนธันวาคม ถึงสิ้นปีหน้า
หน้าฝนป่วยบ่อย เช็กอาการก่อนสับสนว่าติดเชื้อโควิด-ภูมิแพ้หรือไข้หวัด
4 กลุ่มอาหารคุณค่าดี กินต้าน "โรคไข้หวัดใหญ่" ในช่วงฤดูฝน
อากาศที่เปลี่ยนแปลงมักมากับอาการเจ็บป่วยทางร่างกายโรคยอดฮิตคงหนีไม่พ้น ไข้หวัดใหญ่ ที่มักจะระบาดในช่วงเวลาปลายฝนต้นหนาวของทุกปี ซึ่งถือเป็นโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันที่มีอาการรุนแรงไม่แตกต่างจากโควิด19 เพียงแต่ไข้หวัดใหญ่มีวัคซีนขั้นพื้นฐานที่ต้องฉีดทุกปี ประชาชนส่วนใหญ่จึงมีภูมิคุ้มกันอยู่บ้าง แต่บางรายก็อาจจะมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจนถึงขั้นเสียชีวิตมากกว่าโรคไข้หวัดทั่วไป โดยไข้หวัดใหญ่เกิดจาก การติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza Virus) ที่แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
- ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่พบกันมานานแล้ว แต่เชื้อโรคมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมได้ตลอดเวลา ทำให้คนที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ไปแล้วสามารถป่วยได้อีก อาการมักจะไม่รุนแรง เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันอยู่บ้าง
- ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เชื้อที่กลายพันธุ์จากสายพันธุ์ จึงทำให้คนส่วนใหญ่ไม่มีภูมิคุ้มกันและติดเชื้อในวงกว้าง ซึ่งได้กลายเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่พบปะปนกับสายพันธุ์ต่าง ๆ ทั่วไปเช่นกัน
- รุนแรงมากกว่าไข้หวัดธรรมดามีไข้สูงติดกันหลายวัน ขณะที่ไข้หวัดธรรมดาอาจมีไข้แต่ไม่สูงมากนัก
- เด็กจะมีไข้สูงลอยเกินกว่า 39 – 40 องศาเซลเซียสติดต่อกัน 3 – 4 วัน
- ไอแห้ง คัดจมูก มีน้ำมูกหายใจลำบาก
- อาจมีอาการหนาวสั่นสะท้านร่วม
- บางรายคลื่นไส้,อาเจียน
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลียอย่างมาก
- เบื่ออาหาร
การเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคที่น่ากลัวของไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมักเกิดกับผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงคือ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคเบาหวาน โรคไต โรคเอดส์ คือ โรคปอดอักเสบและสมองอักเสบ และมีโอกาสอันตรายเสียชีวิตได้
รู้จักไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A H1N1 ระบาดแล้วในไทย เช็กวิธีการป้องกัน
ดูแลรักษาไข้หวัดใหญ่
การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ ส่วนใหญ่จะหายเอง หากมีอาการไม่มากอาจจะดูแลเองที่บ้านและรักษาตามอาการ เช่น
- เมื่อมีไข้สูงให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวและใช้ยาลดไข้
- หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มแอสไพริน
- ถ้ามีน้ำมูกให้ใช้ยาลดน้ำมูกและยาละลายเสมหะ
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ รับประทานอาหารอ่อน ๆ
- งดออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ
การป้องกันไข้หวัดใหญ่หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 3 วัน เช่น ไข้สูงมากจนเพ้อ ซึม หายใจหอบ หายใจลำบาก เจ็บแน่นหน้าอก หน้ามืด มีอาการขาดน้ำและดื่มน้ำไม่เพียงพอ ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจมีภาวะแทรกซ้อนหรืออาจมีสาเหตุมาจากโรคอื่น ๆ
- ปฎิบัติตาม social distancing สวมใส่หน้ากากอนามัยในพื้นที่ปิด
- อย่าคลุกคลีกับผู้ที่มีอาการป่วยอยู่ก่อนแล้ว
- ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น ใช้ช้อนกลาง
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อร่างกายแน่นอนค่ะวันละ 8 แก้ว หรือคอยจิบตลอดทั้งวันได้นะคะ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุและเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือน – 19 ปี และกลุ่มที่มีโรคประจำตัวที่มีภูมิต้านทานต่ำ
ข้อมูลสุขภาพจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ
สมุนไพรฤทธิ์เผ็ดร้อน - ผักผลไม้วิตามินซีสูง เสริมภูมิบรรเทาหวัด
"โกโก้" เครื่องดื่มใจฟู! ช่วยปรับสมดุลอารมณ์-ปกป้องสมองและหัวใจ