ทำไมไม่ควรอาบทุกวัน! ผู้เชี่ยวชาญเผยอาจทำร้ายผิวลดทอนภูมิคุ้มกันโรค
อากาศเริ่มเย็นและคาดว่าจะหนาวในช่วงสิ้นปีนี้ หลายคนอาจตื่นมาพร้อมความคิด ไม่อาบน้ำได้ไหมนะ?
เรื่องราวน่าสนใจเกิดขึ้นเมื่อมีการรวบรวมสถิติในหลายประเทศพบว่า ประชากรในสหรัฐอเมริกากว่า 2 ใน 3 อาบน้ำทุกวัน รวมถึงชาวออสเตรเลียกว่า 80% ที่อาบน้ำทุกวันเช่นกัน แต่ชาวจีนกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศเฉลี่ยแล้วอาบน้ำเพียง 2 ครั้งต่อสัปดาห์เท่านั้น แต่ด้วยสภาพอากาศของบ้านเราไม่เอื้อไหร่ จึงทำให้การอาบน้ำทุกวันเป็นเรื่องของมาตราฐานมากกว่าสุขภาพ แล้วอาบน้ำทุกวันไม่ดีต่อสุขภาพตรงไหน?
สภาพอากาศวันนี้! อากาศเย็นเริ่มปกคลุม อุณหภูมิลดอีก 1-2 องศา
หน้าหนาว “ผิวแห้งกร้าน” หยุดเกา-เลี่ยงอาบน้ำอุ่น ก่อนโรคผิวหนังถามหา
ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อมูลว่าการอาบน้ำที่มากเกินไป อาจทำให้ …
- ผิวหนังอาจ แห้งระคายเคือง หรือคัน
- ผิวแห้งและแตกอาจทำให้แบคทีเรียและสารก่อภูมิแพ้สามารถทำลายผิวหนังที่เป็นเกราะป้องกันได้ ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังและเกิดอาการแพ้ได้
- สบู่จะสามารถฆ่าแบคทีเรียได้ แต่ก็ทำลายความสมดุลของจุลินทรีย์บนผิวหนังและกระตุ้นให้เกิดสิ่งมีชีวิตที่แข็งแรงขึ้นไม่เป็นมิตรต่อร่างกาย อีกทั้งผิวหนังของเรายังมีความจำเป็นที่จะต้องมีจุลินทรีย์ดี เพื่อเป็นภูมิต้านทานโรค การอาบน้ำบ่อยเกินไปจงอาจทำให้ร่างกายลดทอนการสร้างภูมิคุ้มกันโรคบางอย่างไปด้วยเช่นกัน
- แน่นอนว่าลดค่าใช้จ่ายลง
ขณะที่ Dr. Casey Carlos ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านโรคผิวหนัง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยซานดิเอโก้ แคลิฟอร์เนีย บอกว่า ผิวหนังเรามีกลไกทำความสะอาดตัวเองอยู่แล้ว แถมตัวสบู่เนี่ยจะไปชะล้างเอาไขมันตามธรรมชาติบนชั้นผิวของเราทิ้งไปด้วย ทำให้ผิวแห้ง คัน แดง บางคนถึงขนาดแสบลอกเลยก็มี อีกทั้งคนที่ไม่ชอบอาบน้ำ ยังมีผิวใสสวยแถมแข็งแรงกว่าคนที่อาบน้ำบ่อยๆ
- หมดกังวลเรื่องกลิ่นตัว ออกสังคมได้อย่างมั่นใจ
- ช่วยทำให้ร่างกายตื่นตัว
- รู้สึกสดชื่นหลังเหนื่อยมาทั้งวัน โดยเฉพาะหลังเลิกงาน หรือ ออกกำลังกาย
- ไม่หมักหมม สิ่งสกปรก
- คลายเครียดได้ดี
จะเห็นได้ว่า การอาบน้ำทุกวันล้วนมีข้อดีและข้อเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้ส่วนบุคคล แล้วควรจะอาบน้ำอย่างไรให้เหมาะสมล่ะ ?
ผู้เชี่ยวชาญได้ระบุว่า แม้ว่าจะไม่มีความถี่ที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับว่าผิวหนังของคุณมีความสกปรกมากน้อยแค่ไหน และถึงแม้จะไม่มีคำตอบว่าควรอาบน้ำหรือไม่ ? เพราะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละคนแล้ว แต่ก็สามารถหลีกเลี่ยงการทำลายผิวหนังระหว่างอาบน้ำได้ด้วยวิธีดังนี้
- อาบน้ำด้วยน้ำอุณหภูมิห้อง น้ำไม่ร้อน หรืออุ่นจัดจนเกินไปเป็นเวลานาน
- ใช้เวลาในการถูตัว 3-4 นาที โดยเน้นไปที่จุดที่ต้องการกำจัดกลิ่น หรือจุดที่มีความสกปรกที่สุด เช่น รักแร้ ซอกคอ แผ่นหลัง เท้า ข้อพับต่างๆ เป็นต้น
- ไม่ใช้ที่ขัดตัวที่มีความหยาบกระด้างมากเกินไป
- ไม่ใช่สบู่ หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียบ่อยจนเกินไปง
อากาศเริ่มหนาว เตือน “อาบน้ำอุ่นจัด” นานเกินไป เสี่ยงเป็นโรคผิวหนัง
ทั้งนี้บทความนี้ไม่ได้ชี้ ปั๊ง! ให้คุณไม่อาบน้ำเลยทีเดียวนะคะ เป็นการรวบรวมข้อมูลข้อดีข้อเสียตามหลักวิชาการมาบอกเท่านั้นเพราะถึงแม้จะมีลมหนาวมาเยือนแต่วันนึงเราต้องเจอกับมลภาวะ และอากาศที่เปลี่ยนแปลงของไทย ตอนเช้าอาจจะได้รับลมเย็นแต่ตอนเที่ยง คุณอาจจะเหงื่อซก เพราะฉะนั้นการไม่อาบน้ำเลยอาจจะเป็นภาระและสร้างความกระอักกระอ่วนใจกับคนรอบข้างได้ แต่กลับกันในวันหยุดวันพักผ่อนที่คุณอยู่แต่บ้านก็อาจจะเป็นโอกาสที่ดีให้คุณได้พักผิวบ้างก็ได้นะคะข้อมูลจาก : health harvard,webmd
“สีน้ำมูก” สัญญาณเล็กๆ บอกโรคอื่นนอกจากหวัดได้ ทั้งโรคไซนัส-เนื้องอก
เคล็ดลับสู้ เซลล์ซอมบี้ฆ่าไม่ตาย เพิ่ม Happy Hormone ผิวเต่งตึงชะลอวัย