กินนมแล้วท้องอืด-ท้องเสียใช่อาการ แพ้แลกโทส หรือไม่ ?
หลายคนมีอาการท้องอืดหรือท้องเสียหลังจากกินนมวัวเข้าไป อาจเข้าใจผิดว่า เป็นอาการแพ้นมวัวแต่เข้าข่ายอาการแพ้แลกโทส และหากแพ้ต้องทำอย่างไรต่อ ?
ภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสบกพร่องหรือแพ้แลกโทส(Lactose Intolerance) เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสในผลิตภัณฑ์นมได้ จึงอาจทำให้มีอาการท้องอืด ปวดท้อง และท้องเสียหลังรับประทานนมหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม คาดการณ์ว่าผู้ที่แพ้แลคโตสพบได้มากถึง 70-75% ของจำนวนประชากรโลก และพบบ่อยในชาวเอเชีย
ต้องบอกก่อนว่า “แลกโทส” เป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 ชนิดคือ น้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลกาแลคโตส
เทียบกันชัดๆ นม 7 ประเภท อะไรดีต่อสุขภาพ-เหมาะกับเรามากที่สุด
เทียบข้อดี ของนมวัว และ นมจากพืช เลือกให้เหมาะกับคุณ ประโยชน์เต็มแก้ว
แลกโทสพบในน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จึงพบได้ในทั้งน้ำนมแม่ น้ำนมวัว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น และผลิตภัณฑ์จากนมด้วยเช่น นมข้น โยเกิร์ต ครีม ไอศกรีม ด้วย
ซึ่งการแพ้แลกโทส”ไม่ใช่การแพ้นมวัว (Cow Milk Allergy) ซึ่งความจริงแล้วมีความแตกต่างกัน ผู้ที่แพ้แลคโตสมักไม่เกิดอาการรุนแรง แต่อาจทำให้รู้สึกไม่สบายท้องหลังรับประทานผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม หากสังเกตอาการของตัวเองและหลีกเลี่ยงการรับประทานผลิตภัณฑ์นมที่มีส่วนประกอบของแลคโตสจะช่วยป้องกันการเกิดอาการท้องอืดและปวดท้องได้
การแพ้ร่างกายเรามีเอนไซม์แลกโทส(Lactase) ที่ผลิตในลำไส้เล็ก ทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลแลคโตสซึ่งพบมากในผลิตภัณฑ์นมให้มีขนาดเล็กลงและดูดซึมไปใช้เป็นพลังงานในร่างกาย
ภาวะย่อยน้ำตาลแลกโทสบกพร่องแบ่งเป็น 3 ประเภท ซึ่งมีสาเหตุแตกต่างกัน ดังนี้
- ร่างกายผลิตเอนไซม์แลคเทสน้อยลงเอง (Primary Lactose Intolerance)
- ผลจากอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ (Secondary Lactose Intolerance) เช่น โรงกระเพราะอาหารและลำไส้อักเสบ (Gastroenteritis) โรคโครห์น (Crohn's Disease) โรคเซลิแอค (Celiac Disease) ลำไส้อักเสบ (Ulcerative Colitis) รวมทั้งการรักษาโรคด้วยยาปฏิชีวนะบางชนิด และเคมีบำบัด
- ถ่ายทอดทางพันธุกรรมและการคลอดก่อนกำหนด แต่พบได้น้อยมาก
ทั่วไปผู้ที่แพ้แลกโทสจะมีอาการ
- อืดแน่นท้องจากก๊าซ ผายลมบ่อย มีเสียงลมในท้อง
- ปวดท้องแถวสะดือ หรือท้องน้อย
- คลื่นไส้อาเจียน มักพบในเด็กโตและวัยรุ่น
- ถ่ายเหลวเป็นน้ำ และมีฟอง
มักมีอาการหลังกินนมหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัวประมาณ 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง ซึ่งความรุนแรงของอาการจะขึ้นอยู่กับปริมาณที่รับประทานและและความสามารถในการย่อยแลคโตสของแต่ละคน
“กล้วย-นม” ที่มีสารอาหาร “แมกนีเซียม” ช่วยให้นอนหลับดีขึ้นจริงหรือไม่
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อแพ้แลกโทส
- หลีกเลี่ยงการรับประทานนมและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม โดยอาจดื่มนมปราศจากแลกโทส (Lactose Free) ซึ่งเป็นนมที่ผ่านกระบวนการเติมเอนไซม์แลคเทส เพื่อให้เอนไซม์ช่วยย่อยสลายน้ำตาลแลคโตสในนม จึงทำให้ไม่เกิดอาการแพ้แลกโทส
- ดื่มนมที่ทำจากพืช เช่น นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ และนมข้าวโอ๊ต แทนการดื่มนมวัว
- รับประทานอาหารเสริมเอนไซม์แลกเทสสังเคราะห์ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
- พิจารณาเลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง เช่น ปลาทะเล ไข่แดง ตับ เต้าหู้ และผักใบเขียว เพื่อทดแทนการขาดสารอาหารจากการงดดื่มนมปกติ
จะเห็นได้ว่า นมจากพืช หรือ Plant-based milk ถือเป็นทางเลือกของผู้ที่มีอาการแพ้นมวัวหรือการแพ้แลกโทส อีกทั้งยังมีโปรตีนที่ดีและสารอาหารที่ครบถ้วนไม่ต่างกัน ฉะนั้นเลือกกินตามความเหมาะสมกับร่างกายของตนเองเพื่อป้องกันไม่ให้ผลไม้ดีกับตนเองค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท ,hellokhunmor
"นมแม่" มหัศจรรย์แห่งภูมิคุ้มกันทางธรรมชาติของ "ลูกน้อย"
Plant based Food เนื้อสัตว์จากพืช ชุ่มชื่นหัวใจสายรักสุขภาพแถมดีต่อโลก