“กล้วย-นม” ที่มีสารอาหาร “แมกนีเซียม” ช่วยให้นอนหลับดีขึ้นจริงหรือไม่
ไขข้อสงสัย “แมกนีเซียม” สารอาหารสำคัญที่เราได้รับจากกล้วย หรือนม ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้นจริงหรือไม่
ตามรายงานของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐ (Centers for Disease Control and Prevention : CDC) พบว่า ชาวอเมริกันเกือบครึ่งยังรู้สึกง่วงนอนในระหว่างวัน แม้ว่า 35.2% ของกลุ่มดังกล่าวจะนอนหลับกว่า 7 ชั่วโมงต่อคืน ซึ่งเป็นปริมาณที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่โดยเฉลี่ย
อย่างไรก็ตามการนอนหลับไม่เพียงพอ ไม่ได้เป็นเพียงความรำคาญ แต่ยังเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพอีก เช่น ผิวพรรณไม่สดใส โรคเรื้อรัง โรคจิตเวช หรือโรคอ้วน
เคล็ดลับหลับดี ช่วยให้ผิวสวยจากภายในสู่ภายนอก
“หมอมนูญ” ไขข้อสงสัย ทำไมทุกคนต้องฉีดวัคซีนโควิด
อย่าหลงเชื่อ แพทย์ชี้ "กล้วยสุก" รักษาโรคไมเกรนไม่ได้
หลายคนหันไปใช้ยาช่วยเรื่องการนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็นยาที่สั่งโดยแพทย์ หรือเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่จำหน่วยอยู่หน้าเคานต์เตอร์ร้านขายยาเอง
แต่นอกจาก “เมลาโทนิน” และ “เฟนไฮดรามีน” แล้ว “แมกนีเซียม” เอง ก็ขึ้นชื่อว่าเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยให้ผู้คนนอนหลับสบายตลอดคืนด้วยเหมือนกัน
“แมกนีเซียม” มีผลต่อการนอนหลับอย่างไร
แมกนีเซียม เป็นแร่ธาตุที่ช่วยการทำงานของเอ็นไซม์ในร่างกายมากกว่า 300 ชนิด และมีบทบาทสำคัญต่อโครงสร้างกระดูก ระบบประสาท การควบคุมกล้ามเนื้อ ระดับน้ำตาลในเลือด และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งต่างต้องการแมกนีเซียมในการทำงาน
สำหรับอาหารที่อุดมไปด้วยแมกนีเซียมนั้น ประกอบไปด้วย ผักใบเขียว พืชตระกูล (ถั่วและถั่วเลนทิล) กล้วย ธัญพืชไม่ขัดสี อะโวคาโด นม และดาร์กช็อกโกแลต รวมถึงยังอยู่ในเมล็ดพืชอย่างทานตะวัน และฟักทองด้วย
“กล้วย”สารพัดประโยชน์ กินถูกวิธีได้ทั้งบำรุงผิว-ดูแลสุขภาพ
"นมแม่" มหัศจรรย์แห่งภูมิคุ้มกันทางธรรมชาติของ "ลูกน้อย"
ประสิทธิภาพของ “แมกนีเซียม”
จากการทดลองทางคลินิกในกลุ่มผู้สูงอายุจำนวน 46 คน ซึ่งครึ่งหนึ่งได้รับยาหลอก และอีกครึ่งหนึ่งได้รับแมกนีเซียมขนาด 500 มิลลิกรัม เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า การกินอาหารเสริมแมกนีเซียมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการนอนหลับและการตื่นเช้า
ดังนั้นการกินอาหารเสริมแมกนีเซียมอาจเป็นทางเลือกที่ดีสุดสำหรับคนนอนหลับยาก หรืออยากนอนหลับดีขึ้น
อย่างไรก็ตามก็ยังมีการถกเถียงกันถึงประสิทธิภาพของแมกนีเซียม เพราะแม้ว่าการศึกษาขนาดเล็กนี้จะสนับสนุนประสิทธิภาพของแมกนีเซียม แต่จากการทบทวนการทดลองทางคลินิกแบบสุ่มตัวอย่าง อีก 3 ครั้ง พบข้อสรุปที่แตกต่างกันออกไป
โดย BMC Complementary Medicine and Therapie ได้เปรียบเทียบประสิทธิผลการใช้แมกนีเซียมกับยาหลอกในกลุ่มผู้สูงอายุ 151 คน ใน 3 ประเทศ พบว่า การกินอาหารเสริมแมกนีเซียมไม่ได้ช่วยให้ผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพในการนอนหลับดีเท่าที่ควร
สอดคล้องกับ สิ่งที่ Dr.Raj Dasgupta รองศาสตราจารย์ด้านการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย (University of Southern California) ผู้เชี่ยวชาญด้านปอด การดูแลผู้ป่วยวิกฤต และยาช่วยให้นอนหลับ ค้นพบ คือ แม้ว่าการกินแมกนีเซียมเสริมจะปลอดภัยสำหรับการทานเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการนอนหลับ แต่ก็ไม่ควรกินเกิน 300-420 มิลลิกรัมต่อวัน เพราะหากกินในปริมาณที่มากเกินอาจได้รับผลข้างเคียง อย่างอาการท้องร่วง หรือหัวใจเต้นผิดปกติ
ดังนั้นหากเรากินแมกนีเซียมเป็นครั้งคราว ก็อาจจะสบายดี แต่ถ้าเป็นโรคนอนหลับยากเรื้อรัง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด อย่างไรก็ตามแมกนีเซียมสามารถหาได้จากอาหารของเรา ถ้าไม่ได้ขาดสารอาหารจริง ๆ ไม่แนะนำให้หันไปกินอาหารเสริมแมกนีเซียม เพราะแมกนีเซียมรูปแบบที่ดีที่สุดอยู่ในอาหารตามธรรมชาติของเรา ไม่ว่าจะเป็นอัลมอนด์ ผักโขม นมถั่วเหลือง ไข่ และอะโวคาโด
นอกจากนี้ Diane DePew รองศาสตราจารย์คลินิกในแผนกพยาบาลระดับบัณฑิตศึกษาที่วิทยาลัยพยาบาลและวิชาชีพสุขภาพของมหาวิทยาลัยเดร็กเซล (Drexel University) ยังกล่าวด้วยว่า แมกนีเซียม ไม่ใช่ยาที่จะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการนอนหลับ แต่คือยาที่ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อมากกว่า เพราะแมกนีเซียมจำเป็นต่อการยืดหดของกล้ามเนื้อ ซึ่งส่วนใหญ่เขาจะแนะนำคนที่มีปัญหาการนอนหลับในลำดับแรกว่าให้ปรับเปลี่ยนสุขอนามัยในการนอนหลับเป็นประจำ แทนการให้กินอาหารเสริมแมกนีเซียม
สุขอนามัยการนอนหลับที่เหมาะสมคืออะไร
จากข้อมูลของ Diane DePew ชี้ให้เห็นว่าการตื่นและเข้านอนในเวลาเดียวกันทุกวัน รวมถึงการปิดโทรศัพท์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเข้านอน ล้วนเป็นการรักษาสุขอนามัยการนอนหลับที่ดี แต่ทางที่ดีเราควรพยายามจำกัดการงีบระหว่างวันไม่ให้เกิน 30 นาที และลดคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ให้น้อยลง
ทั้งหมดนี้ ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าแมกนีเซียมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการนอนหลับได้หรือไม่ ซึ่งจำเป็นจะต้องวิจัยเพิ่มอย่างไรก็ตาม มีสิ่งหนึ่งที่ชัดเจน คือ แมกนีเซียมมีอยู่ในอาหารที่เรากิน การทานอาหารที่มีคุณค่าโภชนาการ คือ มีผัก และถั่วในปริมาณที่เหมาะสมจะทำได้เราได้รับแมกนีเซียมในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย แต่หากยังพบปัญหาในการนอนหลับ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนกินอาหารเสริม
ขอบคุณข้อมูลจาก : livescience
ไขข้อสงสัย กินเมล็ดผลไม้ทำให้เสี่ยง "ไส้ติ่งอักเสบ" จริงหรือไม่?