เช็กสัญญาณ“ไขมันพอกตับ”จุดเริ่มต้น ตับแข็ง – มะเร็งตับ คนผอมก็เสี่ยงได้!
ไขมันพอกตับ หนึ่งในโรคของคนเมืองที่ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการกิน นับว่าเป็นสัญญาณแรกของโรคตับแข็งและมะเร็งตับ รวมถึงโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช็กสัญญาณเสี่ยงก่อโรคด้วยอาการเหล่านี้!
โรคตับ หนึ่งในโรคยอดฮิตที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยง ทั้งสายปาร์ตี้ที่เสี่ยงเป็นโรคตับแข็ง จากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปจนไปสะสมอยู่ที่ตับทำให้เกิดการอักเสบ และเป็นตับแข็งในที่สุด และไวรัสตับอักเสบบี และซี ที่อาจติดโดยไม่รู้ตัวเพราะเป็นโรคที่ติดต่อได้จากน้ำเชื้อ และน้ำคัดหลั่งอื่นๆ รวมถึงเลือก ที่จะเข้าไปทำลายเซลล์ตับอย่างเงียบๆ และกว่าจะรู้ตัวก็อาทำให้ตับแข็งหรือเป็นมะเร็งตับซะก่อน
10 อาการเตือนเสี่ยง “โรคตับ” ตัวเหลือง-ตาเหลือง-อาการคัน ใช่หรือไม่?
‘ข้อเท้าบวม’บอกโรคได้ เช็กอาการแค่บาดจ็บหรือเข้าข่ายโรคหัวใจ-ตับ-ไต
ซึ่งนอกจากโรคตับใหญ่ ๆ ที่ทุกคนรู้จักที่ได้เอ่ยมาแล้วอีกหนึ่งพฤติกรรมตามใจปาก รักของไขมันสูง จั๊งฟู๊ด กินอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายน้อย รวมถึงการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ก็สามารถทำให้เกิด
โรคไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease) ได้ ซึ่งเป็นภาวะที่ไขมันเข้าไปแทรกในเซลล์ตับ หากสะสมมากกว่า 5-10 % ของน้ำหนักตับ จะถือว่าเป็นภาวะไขมันพอกตับ และหากไม่ได้รับการรักษา ก็จะลุกลามไปจนถึงการอักเสบ และเซลล์ตับตาย เกิดพังผืดและสุดท้ายกลายเป็นตับแข็งในที่สุด ถือได้ว่าเป็นภาวะที่เป็นจุดเริ่มต้นของตับแข็งได้เลยทีเดียวและ โรคนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะคนอ้วน คนผอมแต่ลงพุงก็มีสิทธิ์เป็นได้เหมือนกัน
เสี่ยงเกิดโรคเรื้อรังแทรกซ้อน
- โรคเบาหวาน
- ตับอักเสบจากไวรัสชนิดต่างๆ
- โรคอ้วน
- ไขมันในเลือดสูง
- ความดัน โลหิตสูง
- หลอดเลือดหัวใจตีบ
สัญญาณของไขมันพอกตับ ส่วนใหญ่ในระยะแรกๆจะไม่แสดงอาการซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ากลัว แต่หากมีอาการก็อาจเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจงมากพอที่จะบ่งบอกโรคได้ เช่น
- เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- คลื่นไส้เล็กน้อย
- รู้สึกตึงบริเวณใต้ชายโครงขวา
- รู้สึกไม่สบายท้อง
- น้ำหนักลดผิดปกติ ความอยากอาหารลดลง
- มึนงง การตัดสินใจและสมาธิลดลง
- ไขมันพอกตับอาจทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น ตับโต ที่จะเกิดอาการปวดที่บริเวณท้องด้านบนขวา หรือกลางท้อง และอาจพบรอยปื้นคล้ำที่ผิวหนังบริเวณ คอ หรือใต้รักแร้ ได้
อย่างที่บอกว่า โรคที่เกี่ยวกับตับนั้น เป็นโรคที่มีการดำเนินโรคค่อนข้างช้าไม่ใช่ว่าใช้เวลาแค่ 1 หรือ 2 ปีจะเกิดปัญหา แต่ต้องใช้เวลานานกว่าโรคไขมันพอกตับจะดำเนินไปอีกขั้น โดยส่วนใหญ่การตรวจพบโรคไขมันพอกตับจึงมักพบเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการเจาะเลือดตรวจสุขภาพประจำปี ซึ่งไขมันพอกตับยังไม่มียาที่รักษาได้ในขณะนี้ ทำได้เพียงควบคุมไขมันให้คงที่ และโรคสงบลง
ระยะการดำเนินโรคของภาวะไขมันพอกตับ
- ระยะเริ่มต้น เป็นระยะที่มีการสะสมไขมันในตับ โดยที่ยังไม่มีหรือมีการอักเสบเพียงเล็กน้อย และไม่มีผังผืด
- ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มีการอักเสบของตับ และเริ่มมีการสะสมของผังผืดในเนื้อตับ
- ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มีการอักเสบของตับ และมีการสะสมของผังผืดในตับอย่างชัดเจน
- ระยะที่ 4 เป็นระยะที่ตับมีผังผืดอยู่เป็นอย่างมาก มีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่การเป็นตับแข็ง ที่อาจจะปรากฏภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ตาเหลือง ท้องโตจากภาวะมีน้ำในช่องท้อง มีเส้นเลือดโป่งพองในหลอดอาหาร และการเกิดเป็นมะเร็งตับในที่สุด
"ตับและไต"สำคัญกับร่างกายทั้งระบบ แนะสูตรดื่มน้ำดูแลห่างไกลโรคเรื้อรัง
ป้องกันโรคไขมันพอกตับ
- ลดน้ำหนักโดยการควบคุมปริมาณและคุณภาพอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
- เพิ่มผักผลไม้สด ถั่ว และธัญพืชที่มีเมล็ด
- กินผักบางชนิดยังสามารถช่วยเร่งกระบวนการกำจัดพิษออกจากตับ (Detoxification) ได้ เช่น ผักตระกูลบรอกโคลี กะหล่ำ กระเทียม และหัวหอม
- แนะนำให้รับประทานเนื้อที่ไม่ติดมัน เช่น เนื้อปลา
- เน้นทานไขมันที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น น้ำมันมะกอก (Olive Oil) อะโวคาโด (Avocado) น้ำมันปลาโอเมก้า3 (Omega 3 Fish Oil)
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- สมุนไพรและอาหารเสริมบางชนิดทำหน้าที่ช่วยขับสารพิษออกจากตับได้ เช่น Milk Thistle, Alpha Lipoic Acid (ALA), N-Acetyl-l-Cysteine (NAC)/NAC เป็นสารตั้งต้นของ Glutathione ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญมากที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่ช่วยขับพิษออกจากตับ นอกจากนี้ Vitamin B และแมกนีเซียม (Magnesium) ยังมีคุณสมบัติในการช่วยเยียวยาและกระตุ้นการซ่อมแซมเซลล์ตับที่เสียหายอีกด้วย
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
หากมีภาวะเสี่ยง หรือรู้สึกร่างกายปิดปกติ ควรเข้ารับการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือ เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้งเพื่อคัดกรองโรคต่างๆ ด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ ,pobpad
สัญญาณเตือน! “ปัสสาวะเป็นฟอง” ร่างกายอาจฟ้องโรคไต-เบาหวาน
"ไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรัง" ไม่ใช่เรื่องเล็ก อาจก่อโรคร้ายในอนาคตได้