‘ยาแก้ปวด’ กินเกินขนาด ไม่หายปวดหัวแถมตับพัง แนะปริมาณยาที่เหมาะสม
ยาแก้ปวด นับเป็นยาสามัญประจำบ้านที่ไม่มีอันตราย ที่มีไว้แก้อาการ ปวดศีรษะ ที่มักเกิดได้บ่อยในทุกช่วงอายุโดยเฉพาะวัยทำงาน ที่เลือกกิน เพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ แต่รู้หรือไม่? กินเยอะเกินไปอาจทำให้หายปวดหัวแต่ทำให้ตับพังได้! แล้วกินยังไงถึงจะไม่อันตราย?
"ยาแก้ปวด" จะออกฤทธิ์โดยการยับยั้งสารเคมีบางชนิดในสมองของมนุษย์ ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับอาการปวด เช่น สารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) และจะชักนำให้เกิดกลไกการลดอุณหภูมิหรือลดไข้ของร่างกายลง ซึ่งหากใช้ยาพร่ำเพรื่อ เป็นเวลานาน หรือ พฤติกรรมกินยาดักเอาไว้บ่อยๆ อาจส่งผลให้ตับทำงานบกพร่อง ทำงานไม่ทันและบางครั้งอาจก่อเป็นพิษในตับและในกรณีที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจส่งผลถึงขั้นตับวายทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะการกินยาร่วมกับแอลกอฮอล์ จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่ออาการตับอักเสบมากขึ้น
เช็กสัญญาณ“ไขมันพอกตับ”จุดเริ่มต้น ตับแข็ง – มะเร็งตับ คนผอมก็เสี่ยงได้!
รู้ลึกการใช้ "ยา" หลายรูปแบบ ช่วยรักษาอาการปวดศีรษะ
กินยาแก้ปวดแค่ไหนถึงไม่ทำร้ายตับ ? ไม่ใช่ว่ายาแก้ปวดจะอันตราย เพียงแต่ว่าเราต้องรู้จักกินในปริมาณที่เหมาะสม
- ไม่ควรเกิน 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน
- ยาแก้ปวดขนาด 325-500 มิลลิกรัม ควรเว้นระยะห่าง 4-6 ชั่วโมง
- ผู้ที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่า 22 กิโลกรัม ไม่ควรรับประทานยาพาราเซตามอลแบบเม็ดทุกขนาด ควรเข้าพบแพทย์โดยตรง
- ยาแก้ปวดขนาด 1,000 มิลลิกรัม ควรเว้นระยะห่าง 6-8 ชั่วโมง และไม่ควรกินติดต่อกันนานเกิน 7 วัน
กินยาแก้ปวดปริมาณตามน้ำหนักตัว
ยาแก้ปวดขนาด 325 มิลลิกรัม
- น้ำหนัก 45-67 กิโลกรัม กิน 2 เม็ด
- น้ำหนัก 34-44 กิโลกรัม กิน 1 เม็ดครึ่ง
- น้ำหนัก 22-33 กิโลกรัม กิน 1 เม็ด
ยาแก้ปวด ขนาด 500 มิลลิกรัม
- น้ำหนัก 67 กิโลกรัมขึ้นไป กิน 2 เม็ด
- น้ำหนัก 51-67 กิโลกรัม กิน 1 เม็ดครึ่ง
- น้ำหนัก 33-50 กิโลกรัม กิน 1 เม็ด
ทำไมกินยาแก้ปวดระยะยาว ถึงเสี่ยงตับหรือไตพัง
เพราะยาแก้ปวดเมื่อกินเข้าไปแล้วจะถูกขับออกทางตับหรือทางไต ดังนั้นการกินติดต่อกันนานๆ อาจทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับหรือไตได้ หากมีอาการปวดศีรษะเรื้อรังนานๆ จึงควรมาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแนวทางการรักษาให้ตรงจุด
รู้หรือไม่? “แอลกอฮอล์” คือปัจจัยเพิ่มโอกาสเสี่ยงตับวาย!!
ไม่เพียงแค่ประวัติเกี่ยวกับโรคตับที่ทำให้ผู้ป่วยต้องระวังเรื่องการใช้ยาแก้ปวดในการรักษา แต่ยังรวมไปถึงการมีประวัติติดแอลกอฮอล์ หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ 3 แก้วต่อวัน เพราะแอลกอฮอล์คือปัจจัยที่เพิ่มโอกาสต่อการเกิด “ภาวะตับล้มเหลว” ซึ่งโดยส่วนมากผู้ป่วยกลุ่มนี้จะสามารถกินยาแก้ปวดได้ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้น
ล้วง "ตับ" รู้ลึกความสำคัญ แนะ 8 เคล็ดลับดูแลให้สุขภาพดี
การกินยาแก้ปวดเกินขนาด นับว่าเป็นเรื่องที่มักเกิดจากความไม่ตั้งใจ! และหากมีอาการเหล่านี้ที่หนักขึ้นควรรีบพบแพยท์เพื่อรักษาให้ตรงจุด!
- อาการคลื่นไส้
- อาเจียน
- ปวดท้อง
- มีเหงื่อออก
- อาการจะค่อยๆ เริ่มรุนแรงขึ้น เช่น มีอาการปวดบริเวณกระเพาะส่วนบน
- ปัสสาวะมีสีเข้ม ผิวเหลืองหรือตาเหลือง
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช,Anti-Fake News Center Thailand
10 อาการเตือนเสี่ยง “โรคตับ” ตัวเหลือง-ตาเหลือง-อาการคัน ใช่หรือไม่?
นอนไม่หลับ! ใช้ “ยาแก้แพ้” ได้หรือไม่? รู้จักชนิดและผลข้างเคียงของยา